|
ปลาหางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Poecilia reticulata มีชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว
Poecidae เป็นปลาออกลูกเป็นตัวและมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา
ใต้แถบ เวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน
ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ
ปลาตัวผู้มีขนาด 3 - 5 ซม. ตัวเมียมีขนาด 5 - 7 ซม. ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
(Fancy Guppy) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์ และปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมือง
(Wild Guppy) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ
|
นิสัย
ปลาหางนกยูงเป็นปลาสวยงามน่ารัก
ไม่เป็นอันตรายกับปลาอื่นๆที่อยู่ร่วมกัน แต่ในยามตั้งท้องตัวเมียก็อาจจะมีอาการอยู่บ้าง
ซึ่งบางครั้งอาจพบว่า ตัวเมียทำร้ายตัวผู้จนหางครีมขาดแหว่งไม่สวยงาม
|
|
การเลี้ยงปลาหางนกยูงในตู้ปลา
การเตรียมอุปกรณ์
ก่อนจะซื้อปลามาเลี้ยง
ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมจัดการให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อน ดังนี้ 1.
ตู้ปลาพร้อมน้ำ... ถ้าใช้น้ำประปาต้องผ่านการพักน้ำสัก 1 สัปดาห์ ตู้ปลาที่มีขนาดประมาณ
20 นิ้ว ให้ใส่เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ แล้วทิ้งไว้ 1-2 วันจึงนำปลาลงเลี้ยง 2.
เครื่องทำอ๊อกซิเจน 3. สายยางอ๊อกซิเจนและสายยางดูดขี้ปลา 4.
กระชอนช้อนปลา 5. พันธุ์ไม้น้ำ 6. หิน กรวด อุปกรณ์จากข้อ3-6
ต้องแช่ด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนนำมาไว้ 1-2 วัน แต่พันธุ์ไม้น้ำ
ให้แช่เพียง 10 นาทีก็พอ
การนำปลาหางนกยูงลงเลี้ยง จัดซื้อปลาหางนกยูงตามชนิดหรือสายพันธุ์ที่ต้องการซึ่งส่วนใหญ่จะใส่ถุงมา
ต้องนำถุงปลาแช่ไว้กับในตู้ปลา ครึ่ง-1 ชั่วโมง เพื่อปรับอุณหภูมิน้ำในถุงให้เท่ากับน้ำในตู้ปลาเสียก่อนหรือเพื่อให้ปลาชินกับอุณหภูมิของน้ำใหม่
การปล่อยปลาให้เอียงปากถุงให้ปลาว่ายออกไปเอง แล้วรอสังเกตุดูว่าปลาเกิดอาการดื่มน้ำหรือเปล่าถ้าเกิดอาการให้ใส่น้ำยาปรับสภาพน้ำลงไปเล็กน้อย
|
|
การให้อาหาร การให้อาหารกับปลาลงตู้ใหม่ๆไม่ควรให้อาหารใดๆในวันแรก
หลังจากนั้นต้องให้ทีละน้อยถ้าเหลือต้องตักหรือดูดออก เพราะอาหารตกค้างจะทำให้น้ำเสียแล้วค่อยเพิ่มในครั้งต่อๆไปให้เหมาะสมตามความต้องการ
- ให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ในปริมาณเช้าที่มากกว่าช่วงเย็น
เพราะว่าการย่อยอาหารในเวลาเช้าจะดี มีแสงแดด อ๊อกซิเจนสูง แต่ในเวลาเย็นแสงแดดอ่อนลง
อ๊อกซิเจนจะต่ำลงไปตามพระอาทิตย์ อาจทำให้ปลาท้องอืดและอาจตายได้ เนื่องจากระบบการย่อยไม่สมบูรณ์อาหารตกค้างในท้อง
การดูแลน้ำเลี้ยงปลา น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูง
มักไม่ใคร่เป็นปัญหา เพราะเป็นปลาเล็กมูลปลาน้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นให้สังเกตุจากอาหารของปลา
ถ้าเป็นปกติมีความสุขดีก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพียงอาจจะดูดขี้ปลาก้นตู้สักสัปดาห์ละครั้ง
แล้วเติมน้ำ(ที่ผ่านการพักแล้ว) ให้ได้ระดับเหมือนเดิมและเมื่อเวลาผ่านไปนานอาจเกิดตะไคร้น้ำ
ทำให้ไม่สวยงาม -
ตู้ปลาหางนกยูง ก็อาจจะล้างตู้เปลี่ยนน้ำใหม่ครั้งใหญ่สักครั้ง "การเปลียนน้ำใหม่บ่อยๆก็ใช่ว่าจะดีกับปลาเสมอไปเพราะปลาต้องปรับตัว
อาจเครียดและสุขภาพกายอ่อนแอ
ปลาหางนกยูงป่วย ถึงแม้ปลาหางนกยูงจะเป็นปลาที่แข็งแรง
เลี้ยงดูง่าย แต่บางครั้งก็มีอาการเจ็บป่วยอยู่บ้างเหมือนกัน ปลาไม่สบายสังเกตุจากหางสู่
เหงือกบาน การว่ายน้ำผิดปกติ ว่ายน้ำไม่ขมักเขม็นคล่องแคล่วว่องไวอย่างปกติ
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นทำได้ดังนี้ -
เตรียมน้ำละลายด้วยเกลือแกงแบบเจือจาง (เช่น น้ำหนึ่งขันใส่เกลือแกงประมาณหยิบมือ) -
แยกปลา ลงเลี้ยงในน้ำที่จัดเตรียม - ใส่ยารักษาอาการ และชนิดของโรคและตามวิธีการของยาชนิดนั้นๆ -
ในช่วงการรักษาโรค ต้องงดการให้อาหาร 1 สัปดาห์
ปัญหาที่พบในการเลี้ยงปลาหางนกยูง 1.
สายพันธุ์ที่ได้คุณภาพต่ำลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจาก พ่อแม่เป็นปลาที่มาจากคอกเดียวกัน
ปลาเพศเมียได้รับการผสมมาแล้ว ทำให้มีน้ำเชื้อของปลาเพศผู้คอกเดียวผสมกันอยู่
พยายามแยกเพศผู้เพศเมียให้ได้เร็วที่สุด สายพันธุ์ที่ดีควรจะเก็บคัดไว้เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
และควรหาสายพันธุ์จากที่อื่นมาผสมเพื่อไม่ให้เกิดการผสมสายเลือดที่ชิดเกินไป 2.
โรคที่มาจากแหล่งอื่น ๆ เมื่อได้ปลามาจากที่อื่น ๆ อย่างเพิ่งปล่อยรวมกับปลาที่เลี้ยงไว้ควรจะพักให้จนกระทั่งแน่ใจว่า
ไม่มีโรคติดต่อแล้ว 3. โรคทางเดินอาหาร พยายามหลีกเลี่ยงการใช้อาหารธรรมชาติโดยเฉพาะ
ไรแดงที่รวบรวมมาจากแหล่งน้ำอื่น ๆ นอกจากจะต้องแช่ด่างทับทิมเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคแล้ว
ควรจะเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้อาหารสำเร็จรูปมากขึ้น จะทำให้สามารถเติมสารอาหารที่จำเป็นผสมในอาหารได้
โรคที่พบในปลาหางนกยูง 1.
โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เกิดจากพวกแบคทีเรียสกุล
Aeromonas hydrophila Pseudomonas fluorescens
รุนแรงมากสามารถทำให้ปลาตายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง Flexibacter
columnaris เหงือกและครีบเปื่อย Streptocaccal
disease พบอยู่ทั่วไปกับเมือกของปลาหางนกยูง จะแสดงอาหารเมื่อปลามีบาดแผล
เป็นโรค และสภาพแวดล้อมไม่ดี โรคที่เกิดจากแบคทีเรียอาการที่พบคือ
ครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง รักษาโดยใช้ยาปฎิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน
1 - 2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานาน 2 - 3 วัน , ออกซิเตตร้าไซคลิน
หรือ เตตร้าซัยคลิน ผสมลงในน้ำในภาชนะที่เลี้ยงในอัตรา 10 - 20 มิลลิกรัม
ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ จะใช้เกลือแกง 0.5 - 1% ก็ได้
2. โรคจากปรสิต 2.1
โรคจุดขาว (White spot) เกิดจากสัตว์เซลล์เดียว ชื่อ Ichthyophthirus
multifilis หรือ ชื่อย่อว่า Ich (อิ๊ค) เข้าเกาะตัวปลาและฝังตัวที่ผนังชั้นนอกของปลา
สร้างความระคายเคือง ปลาจะสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มอิ๊ค ทำให้เป็นเป็นจุดสีขาว
ยังไม่มีวิธีกำจัดอิ๊คที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง แต่วิธีการที่ได้ผล คือ
การทำลายตัวอ่อนในน้ำ สารเคมีที่ใช้ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน 25 - 30
มล. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ผสมกับมาลาไค้ทกรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
แช่ทิ้งไว้ตลอด และควรจะแช่ซ้ำอีก 3 - 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7 วัน
จะได้ผลดีมาก โดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28 - 30 องศาเซลเซียส
2.2 โรคที่เกิดจากปลิงใส
เกิดจากปรสิตตัวแบน 2 ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dactylogyrus มักพบตามบริเวณเหงือก
และผิวหนัง การรักษาใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 40 มล. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
หรือ ดิพเทอร์เร็กซ์เข้มข้น 0.25 - 0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอดไป
2.3 โรคที่เกิดจากหนอนสมอ
(Lerneae sp.) หนอนสมอมีลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ส่วนหัวคล้ายสมอทำหน้าที่ยึดเกาะกับตัวปลา
การรักษาใช้ดิพเทอร์เร็กซ์เข้มข้น 0.25 - 0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร
แช่ทิ้งไว้ตลอด แล้วแช่ซ้ำ 3 - 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7 วันนอกจากนั้นโรคเกิดจากปรสิต
ก็มี Oodinium หรือ Gold dust disease โรค Hexamita มี อาการถ่ายออกมามีสีขาวเกิดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
โรคที่เกิดจากเชื้อ Tetrahymena pyriformis อาการตาโปน
3. โรคเกิดจากเชื้อรา โรคที่เกิดจากเชื้อราได้แก่
โรคเกิดจาก Saprolegnia species เชื้อตัวนี้โดยปกติมีอยู่มากมายในน้ำจืด
อาการเป็นปุยขาวที่ผิวหนัง ครีบ และ ปาก อีกโรคเกิดจากเชื้อ Icthyophonus
hoferi ที่พบบ่อยเกิดจากให้กินอาหารที่มีชีวิต เชื้อตัวนี้เข้าไปทำลายอวัยวะภายในได้แก่
ลำไส้ รังไข่และตับ ควรจะกำจัดปลาที่เป็นโรคนี้ทันที และควรทำความสะอาดบ่อ
BACK
|