|
|
|
การให้อาหารปลา 1.ให้อาหารเพียงพอกับความต้องการในปริมาณที่พอเหมาะ ปลาจะมีความสมบูรณ์แข็งแรงและสุขภาพดี โดยสังเกตได้จากการที่ปลามีความว่องไวและจะแสดงอาการตลอดเวลา แต่นั้นต้องไม่ได้หมายความว่าปล่อยให้ปลาหิวหรืออดอาหาร ดังที่ตามร้านขายปลาสวยงามทำกันโดยจะให้อาหารแก่ปลาเพียงเล็กน้อย นั่นก็เพื่อเหตุผลในด้านเศรษฐกิจของผู้ขาย ทั้งนี้เพราะปลาที่หิวจะมีความปราดเปรียวกว่าปลาที่กินอาหารเสียจนอิ่มเต็มที่ นอกจากนั้นยังลดปัญหาเศษอาหารที่เหลือจากปลากินอันจะทำให้น้ำขุ่นด้วย ฉะนั้นบรรดาพ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้จึงนิยมการให้อาหารแก่ปลาแต่เพียงน้อย ๆ พอมีให้ปลากันตายเท่านั้น ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการทรมานสัตว์แบบหนึ่ง 2. การให้อาหารปลา ควรให้เป็นเวลาประจำทุกวัน อย่าให้อาหารตามความสะดวกของผู้เลี้ยง การให้อาหารผิดเวลาไปมากปลาจะหิว เช่นปลาใหญ่ ปลาเต็มวัยอาจให้อาหาร 2 มื้อ เช้า-เย็น ช่วงที่มีแสงแดดแล้วอ่อนๆ ตอนเย็นก็เช่นเดียวกัน แสงแดดอ่อน4-5โมงเย็นต้องก่อนพระอาทิตย์ตกอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ถ้ามีอาหารสดให้ควบคู่อาหารสำเร็จรูป ตอนเช้าควรให้อาหารสด เช่น ลูกน้ำ ไรน้ำ ตอนบ่ายค่อยให้อาหารสำเร็จรูป 3. ในฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำ ขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานลดลง ปลาเคลื่อนไหวน้อยใช้พลังงานน้อย ระบบการย่อยอาหารของปลาก็จะต่ำลงด้วย ดังนั้นไม่ควรให้อาหารมากเพราะปลาต้องการอาหารน้อยจะทำให้มีอาหารเหลือหมักหมมอยู่ในบ่อ ทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย 4. หลังฝนตกใหม่ๆ ไม่ควรให้อาหารปลา เพราะอุณหภูมิในน้ำจะลดลง ออกซิเจนมีน้อย เมื่อปลากินอาหารเข้าไปต้องการออกซิเจนมากขึ้นในการย่อยอาหาร อาจทำให้ปลาน็อคได้เพราะออกซิเจนไม่เพียงพอ แต่ถ้าฝนตกหลังจากการให้อาหารให้จัดการเปลี่ยนน้ำใหม่และใช้เครื่องเพิ่มออกซิเจนช่วย 5. เมื่อปล่อยปลาลงในที่เลี้ยงใหม่ ปลาอาจไม่กินอาหาร 2-3 วัน เพราะยังไม่คุ้นเคยกับสภาพน้ำ ในระยะนี้อาจเว้นการให้อาหาร แต่ไม่เสมอไป 6. การให้อาหารปลาต้องเหมาะสมถูกต้องกับวัยและระยะการเจริญเติบโต เช่น 7. การให้อาหารปลาไม่ว่าจะเป็นอาหารสด มีชีวิต หรืออาหารแห้ง ควรกระจายให้ทั่วพื้นที่ ปลาจะได้รับอาหารอย่างทั่วถึง 8. อาหารสำเร็จรูปที่ให้ถ้าเป็นประเภทจมน้ำ ต้องมีวิธีการตรวจสอบและจัดการกับอาหารเหลือก้นบ่อ ถ้าประเภทอาหารลอยน้ำไม่ค่อยเป็นปัญหาเพราะมองเห็นหลงเหลือช้อนออกได้ 9. อาหารธรรมชาติ หรืออาหารมีชีวิต แหล่งที่มามักจะเป็นที่ที่สกปรก ดังนั้นมีโอกาสนำมาซึ่งปรสิตและโรคต่างๆ(ยกเว้นจากบ่อเพาะ) ดังนั้นก่อนให้ปลากินควรมีการทำความสะอาด หรือหาวิธีลดความเสี่ยงให้มากที่สุด วิธีการหนึ่งคือล้างอาหารมีชีวิตด้วยสารละลายด่างทับทิม 0.1% กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเมื่อนำสารละลายในน้ำจะได้น้ำเป็นสีชมพูอ่อน สารละลายด่างทับทิมนี้เมื่อละลายจะให้ออกซิเจนในน้ำ |
จัดทำโดยครูบุญชู
สังวาลวงศ์
โรงเรียนโสภณศิริราษฎร์ อ. วัดเพลง จ.ราชบุรี
Copyright (c) 2004 Mrs.B
Sa All rights reserved.
จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
thaigoodview.com Version
12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
Copyright(c) 2004 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.