เพลี้ยไฟ

 

[Home][ประวัติผู้จัดทำ][ประวัติกล้วยไม้ไทย][ลักษณะทั่วไป][การจำแนกกล้วยไม้][กล้วยไม้สกุลต่าง ๆ][วิธีการปลูกกล้วยไม้][การให้น้ำและปุ๋ย][การขยายพันธ์][โรคและแมลง]

 

 

โรคเน่าดำหรือยอดเน่า 
โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม 
โรคใบปื้นเหลือง 
โรคแอนแทรกโนส 
โรคเน่าแห้ง 
โรคเน่าเละ 
โรคใบจุด 
เพลี้ยไฟ 
ไรแดงหรือแมงมุมแดง 

       เพลี้ยไฟ

                        เป็นที่รูจักกันดีในวงการผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ในชื่อว่า “ตัวกันสี” เป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็กมาก มีความยาวประมาณ ½ - 2 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวอ่อนมีสีเหลืองอ่อนหรือสีน้ำตาลอ่อน หรือสีดำ ตัวแก่มีปีกซึ่งมีลักษณะแคบยาว มักจะพบเห็นตัวอ่อนเกาะบนกล้วยไม้ เพลี้ยไฟมีการเคลื่อนไหวรวดเร็วมาก ถ้าไม่สังเกตจะมองไม่เห็นตัว

  •  ลักษณะอาการ เพลี้ยไฟเป็นแมลงที่ดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนที่อ่อนๆ เช่น ตามยอด ตาและดอก มักพบเพลี้ยไฟเข้าทำลายกล้วยไม้ในฤดูร้อนและฤดูฝน ทำความเสียหายมากแก่กล้วยไม้ในระยะที่ดอกตูมและดอกกำลังบาน โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ดอกตูมชะงักการเจริญเติบโต เป็นสีน้ำตาลและแห้งคาก้านช่อดอก ส่วนอาการที่ดอกบานเริ่มแรกจะเห็นเป็นรอยแผลสีซีดขาวที่ปากหรือกระเป๋า และตำแหน่งของกลีบดอกที่ซ้อนกัน ต่อมาแผลจะกลายเป็นสีน้ำตาลเรียกว่า “ดอกไหม้หรือปากไหม้” ดอกเหี่ยวแห้งง่าย
  • การป้องกันและกำจัด อาจใช้พอสซ์ในอัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไวเดทแอล อัตรา 30 ซีซี. ต่อน้ำ  20 ลิตร หรือ ซีเอฟ 35 แอสที 10–15 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเลือกเวลาการฉีดในช่วงเย็นๆ

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548

จัดทำโดยครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
Copyright(c) 2005 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.