ดังโคลงบาท ๓ ผู้มีนาม “รัตน”ว่า “บทหนึ่งประโคมคำ คำหนี่ง นับนา”กับจดหมายเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯให้มีการเทศน์มหาชาติและมีพระบรมวงศนุวงศ์เป็นเจ้าของกัณฑ์ก้มีความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“ครั้นจบลงกัณฑ์ใด ก็ ศัทธาสมโชบูชา เสียงก้องโกลาหลมโหรีปี่พาทย์กลองแขกแตรสังข์ทั้งพระคาถา พันและเรียงกัณฑ์”
ดังกล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าถ้าเป็นพระราชพิธีหลวงจะมีเครื่องประโคมจนถึงแตรสังข์อันเป็นเครื่องประโคมอย่างสูงด้วย ประเพณีประโคมอย่างนี้เข้าใจว่า คงจะได้สืบต่อแบบแผนมาจากกรุงศรีอยุธยา หาใช่เป็นของที่ทรงคิดขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๑แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไม่
เพลงที่บรรเลงประกอบเทศน์มหาชาตินั้นโบราณาจารย์ได้กำหนดเพลงสำหรับบรรเลงไว้ได้โดยเฉพาะ ซึ่ล้วนเป็นเพลงหน้าพาทย์ ที่เหมาะสมทั้งสิ้น
(หน้าพาทย์ เป็นศัทพ์เฉพาะของดุริยางค์ไทย หมายถึงเพลงที่บรรเลงประกอบกิริยาเคลื่อนไหวของบุคคลและธรรมชาติ เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน โลกธาตุเปลี่ยนแปลงขึ้น และสูญไป เป็นต้น)
................................ยังมีต่อ โปรดติดตาม
-----------------------
การที่โบราณาจารย์วางแบบแผนไว้เช่นนี้เป็นการเหมาะสมยิ่ง เพราะสามารถทำให้ในกัณฑ์นั้นๆได้ถูกต้อง จากลีลาของปีพาทย์จะได้ร่วมนมัสการอนุโมทนาบุญอีกประการหนึ่งผู้เป็นเจ้าของกัณฑ์บางกัณฑ์ เมื่อได้ยินก็สามารถรู้ว่าจบกัณฑ์ใดแล้วหากใกล้เคียงกัณฑ์ของตนจะได้รีบจัดแจงจัตุปัจจัยที่จะถวายเป็นเครื่องกัณฑ์ พร้อมเตรียมตัวไปฟังพระธรรมเทศนาในกัณฑ์ของตนได้ทันการ
(ย่อตัดตอนจากคำบรรยายของอาจารย์ มนตรี ตราโมท ในหนังสือวารสารศิลปากรปีที่ 6 เล่มที่ 10 พ.ศ. 2496)
|