![]() |
|
กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ในระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ
เครือข่ายที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง นับเป็นจุดกำเนิดของอาร์พาเน็ตก่อนที่จะพัฒนาจน กระทั่งกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเครือข่ายเชิงทดลองเพื่อ ศึกษาว่ารูปแบบเครือข่ายที่ใช้จะมี ความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด สามารถส่งผ่านข้อมูลได ้รวดเร็วเพียงใด โดยจุดประสงค์หลักแล้วอาร์พา ต้องการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการ ทหารที่มีคุณลักษณะเฉพาะ คือ แม้ว่าอมพิวเตอร์บางจุดในเครือข่ายจะหยุดทำงานหรือสายสื่อสา รบางเส้นทางถูกตัดขาด คอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือในเครือข่ายยังควรติดต่อสื่อสารถึงกันได้อยู่ นอกจากนี้ยังต้องสามารถต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่มี Hardware แตกต่างกันเข้าสู่ เครือข่ายได้ อาร์พาเน็ตเปิดตัวสู่สาธารณชนเป็นทางการครั้งแรกในงาน ICCC ( International Conference on Computers and Communications ) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ยุคของโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี หนึ่งปีให้หลังจากงาน ICCC อาร์พาเ ปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ดาร์พา" ( Defense AdvanceProject Agency ) และได้เริ่มงานวิจัยโครงการ ใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเชื่อมระหว่าง คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะรับส่งข้อมูลถึงกันได ้ย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดวิธีการ สื่อสารถึงกัน ตัวอย่างของข้อตกลงในการสื่อสารมีดัง เช่น ลักษณะของข้อมูล ขนาดข้อมูลจะส่งถึงกันครั้งละ กี่ไบต์ชุดข้อมูลที่ส่งไปจะต้องมีข้อมูลอื่นส่ง ผนวกไปอย่างไรบ้าง หรือเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการรับส่งจะต้องตรวจสอบหรือดำเนิน การอย่างไรต่อไป ข้อตกลงระหว่างกันนี้เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า โปรโตคอล ( Protocol ) Protocol เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อใช้ เป็นเกณฑ์ในการออก แบบโปรแกรมไม่ว่าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมี Hardware แตกต่างกันหรือไม่ก็ตาม หากว่าทำ งานตาม Protocolที่กำหนดแล้วสามารถสื่อสารถึงกันได้เสมอ Protocol ที่ใช้ในระยะต้นของอาร์พา เน็ตเป็น Protocol ที่เรียกว่า Network Control Protocol ซึ่ง Protocol นี้มีข้อจำกัดด้านรูปแบบของ การใช้สายสื่อสาร และจำนวนโฮสต์ที่จะเชื่อม ต่อเข้าด้วยกัน อาร์พาได้วางแผนการขยายเครือข่าย และเปิดการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอื่นการเชื่อมต่อระหว่าง เครือข่ายกับเครือข่ายต้องการ Protocol ซึ่งทำงานได้กับสายสื่อสาร และ Hardware หลากรูปแบบและสามารถรองรับโอสต์จำนวน มากได้ Protocol ซึ่งมีลักษณะตรงกับความต้องการในช่วง เวลาดังกล่าวได้แก่ Protocol TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ศูนย์ วิจัยซีรอกซ์แห่งพาโลอัลโต ( Xerox Palo Alto Research Center ) ได้พัฒนาระบบสื่อสารแบบส่ง ข้อมูลออกไปเป็นกลุ่ม และต่อมาได้พัฒนาไปเป็นระบบ แลนอีเธอร์เน็ต ( Ethernet Local Area Network ) ทั้ง TCP/IP และ ระบบ LAN นับเป็นแรงผลักดันให้ มีการขยายตัวของอาร์พาเน็ตอย่างรวดเร็ว TCP/IP และ UNIX ในปี พ.ศ. 2523 ดาร์พาตัดสินใจเลือกใช้ TCP/IP เป็น Protocol ของ อาร์พาเน็ตและเพื่อกระตุ้นให้นักวิจัยในมหาวิทยาลัยหันมาใช้ TCP/IP ด้วย ดาร์พาจึงว่าจ้างบริษัท BBN ทำหน้าที่พัฒนา Protocol TCP/IP สำหรับ UNIX ซึ่งแพร่หลายในมหาวิทยาลัยของสหรัฐ ฯ UNIX รุ่นแรกที่มี TCP/IP ใช้ชื่อว่า 4.2BSD(Berkley Software Distribution ) ยุคแห่งการกำเนิด เครือข่าย ผู้ใช้อาร์พาเน็ตในขณะนั้นจำกัดอยู่แต่เพียงผู้ใช้ในหน่วยงานของกองทัพและหน่วยงาน เอกชนที่มีงานวิจัยด้านการทหารกับดาร์พาเท่านั้น ในขณะที่มหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นอีกเป็น จำนวนมากต้องการเชื่อมต่อกับอาร์พาเน็ต แต่ดาร์พามีขอบเขตการดำเนินงานเน้นทางด้านการทหาร จึงไม่สามารถให้เงินทุนสนับสนุนแก่หน่วยงานโดยทั่วไปได้ ทคโนโลยีของเครือข่ายที่มีต้นแบบมาจากอาร์พาเน็ตส่งผลให้มีการก่อตั้งเครือข่ายขึ้นอีกหลายเครือข่าย เครือข่ายของเอ็นเอสเอฟ เอ็นเอสเอฟเป็นหน่วยงานที่เล็งเห็นความสำคัญด้านเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่องานวิจัยจึงได้เตรียม แผนการขยายโอกาสการใช้เครือข่ายให้กว้างขวางออกไปยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2523 เอ็นเอสเอฟ ได้จัดสรรงบประมาณสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ระยะแรกขึ้น 6 แห่ง และปีถัดมาได้ปรับ ปรุงเครือข่ายที่ที่ต่อเชื่อมศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ใหม่ โดยใช้ Protocol TCP/IP และให้ชื่อเครือข่ายว่า "เอ็นเอสเอฟเน็ต" ( NSFNET ) ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ทั้ง 6 แห่งประกอบด้วย
|
ตั้งแต่ 04 พฤศจิกายน 2545
Copyright(c) 2001 www.thaigoodview.com. All rights reserved. |
ตั้งแต่ 04 พฤศจิกายน 2545
Copyright(c) 2001 www.thaigoodview.com. All rights reserved. |