มะนาวนอกฤดู

k\agri\tree\nav\nav_6_sec01p04_bh.gifผู้จัดทำไม้ผล ไม้ยืนต้นพืชผักสวนครัว

 

ศุภโชค 
สตรอเบอรี่ 
มะนาวนอกฤดู 
กล้วยนานาชนิด 
มะพร้าวตัดยอด 

 

 


โดย ...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รวี เสรฐภักดี

ในช่วงระยะเวลานับสิบปีที่ผ่านมา การตลาดของมะนาวในประเทศไทยยังมีรูปลักษณ์ ที่มิได้มีการ เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิมแต่อย่างใด โดยจะพบว่ามะนาวมีผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เป็นจำนวนมาก ในช่วง ระหว่างเดือน พฤษภาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายน เมื่อปริมาณของผลมะนาว ที่ผลิตได้มีจำนวนมากจึงทำให้ราคา ที่เกษตรกรจำหน่ายได้ตกต่ำลงอย่างมากจนเกือบไม่มีราคา ในทางตรงข้ามราคาของ ผลมะนาว เริ่มขยับสูงขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไปและมีราคาสูงที่สุด ในช่วง ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายนอันเรียกกันทั่วไปว่า "มะนาวหน้าแล้ง" ซึ่งย่อมเป็นสิ่งที่ แน่นอนว่า เมื่อผลิตผลของมะนาวที่เข้าสู่ตลาดมีปริมาณน้อยถึงน้อยมาก ส่งผลให้ราคามะนาวที่ เกษตรกรจำหน่ายได้มีราคาสูงมากขึ้นหลายสิบเท่าตัว วงจรดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ติดต่อกัน มาทุกปีจากอดีตถึงปัจจุบันโดยยังไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้

เกษตรกรและนักวิชาการจำนวนมากได้พยายามศึกษาค้นคว้าและทดลองโดยกรรมวิธีต่างๆ ในอันที่จะให้ได้มาซึ่งวิธีการของ การผลิตมะนาวนอกฤดู อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบว่ามีข้อมูลใดที่สัมฤทธิผลอย่างเต็มที่ เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากการรวบรวมข้อมูล จากผลการทดลองต่างๆ หลายเรื่องร่วมกับหลักการสำคัญทางสรีรวิทยา และประสบการณ์ที่ได้ศึกษามา โดยนำมาประกอบกันขึ้น เป็นข้อมูล สังเคราะห์ที่ต่อเนื่องระหว่างผลของการศึกษาต่างๆ ในอันที่จะหาวิธีการผลิตมะนาวนอกฤดูอย่างเป็นระบบต่อไป เพื่อให้ได ้ประสิทธิผลสูงสุดตามวัตถุประสงค์ อนึ่ง ใคร่ขอย้ำเตือนในที่นี้ว่า การผลิตมะนาวนอกฤดูให้ประสบผลสำเร็จนั้น ไม่มีสูตร สำเร็จรูป ทั้งนี้ต้องเข้าใจถึงธรรมชาติ ของต้นมะนาวเป็นอย่างดีเสียก่อนรวมทั้งมีการจัดการด้านเขตกรรมต่างๆ อย่างถูกต้อง โดยนำสิ่ง เหล่านี้มาประกอบเข้าด้วยกันจึงจะสัมฤทธิผลได้ โดยขอลำดับสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
 
 

ในรอบ 1 ปี ต้นมะนาวที่ออกตามฤดูกาลนั้นสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (วงจรที่ 2) ต้นมะนาว มีการออกดอก ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน อายุของผลมะนาวที่นำมาใช้ประโยชน์จากน้ำคั้นได้นับตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่าง ประมาณ 4.5 ถึง 5.5 เดือน โดยในระยะเริ่มแรกเมื่อเปลือกเริ่มบางลง ซึ่งตรงกับระยะที่ผล มีขนาดโตพอที่เก็บเกี่ยวได้ แล้วเมื่อประมาณ 4.5 เดือน และเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง เมื่ออายุ 5 เดือน และเหลืองสดในระยะสุดท้ายก่อนร่วงหล่นไป ดังนั้น ผลมะนาวจึงมีช่วงอายุการเก็บเกี่ยวที่ยืดหยุ่นบนต้นได้ประมาณ 1 เดือน โดยทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคมีความต้องการผลมะนาว ที่เป็น สีเขียวมากกว่าสีเหลือง อย่างไรก็ตาม หากเป็นช่วงฤดูหนาวในระหว่างเดือนธันวาคมหรือมกราคมนั้น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงทำให้ ผลมะนาว มีการเปลี่ยนแปลงสีที่รวดเร็วมาก จึงทำให้ผลสุกและร่วงได้เร็วยิ่งขึ้น ต้นมะนาว มีดอกชุดสุดท้ายประมาณ ปลายเดือน ธันวาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งผลชุดนี้จะเก็บเกี่ยวได้ประมาณ เดือนพฤษภาคมเป็นต้น ไปอันเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูกาลปกติ ต้นมะนาว จะมีดอก ที่เป็นชุดใหญ่อีกครั้ง (วงจรที่ 1) ประมาณปลายเดือน มีนาคมและเมษายน เมื่อผ่านช่วงของฤดูแล้งและได้รับฝนติดตามมา การเก็บเกี่ยว ของผลมะนาวในรุ่นนี้จะตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม และมีการออกดอกมากอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน ซึ่งการเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะสิ้นสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม อันเป็นช่วงปลายของฤดูกาล ของมะนาวและราคาของ ผลมะนาวจึงเริ่มเขยิบตัวสูงขึ้น ตั้งแต่ในช่วงนี้เป็นต้นไป ดังนั้น หากชาวสวนผู้ใดต้องการการผลิตให้มะนาว ออกนอกฤดูได้ก็ จำเป็นต้องหากรรมวิธีในการหลีกเลี่ยง หรือสร้างจุดเหลื่อมหรือใช้วิธีการ ยับยั้งช่วงวงจรของการออกดอกครั้งใหญ่ทั้งสองนี้ให้ได้

การออกดอกของพืชในกลุ่มส้ม (citrus) ซึ่งรวมทั้งมะนาวนั้นโดยปกติมักเกิดขึ้นพร้อมกับ ยอดอ่อนที่ผลิขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆกรณียังพบว่าต้นมะนาวมีการออกดอกแตกต่าง ออกไปจากสภาวะนี้ โดยที่ดอกมะนาวนั้นสามารถแบ่งระดับชั้นของคุณภาพ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดผลและขนาดของผล) ได้เป็น 3 ระดับดังนี้ คือ

(1) ดอกที่เกิดพร้อมกับปลายยอดอ่อนที่ผลิใหม่ จัดเป็นดอกที่มีคุณภาพสูงที่สุดเนื่องจาก มีใบอ่อนผลิขึ้นมาใหม่ (ซึ่งใบเหล่านี้มีความสามารถในการสร้างอาหาร หรือการสังเคราะห์แสงสูง) มาช่วยในการเจริญเติบโตของตัวดอกอันรวมถึง การติดผลด้วย

(2) ดอกที่เจริญจากตาข้างของใบที่แก่หรือใบที่มีอายุมากกว่า 1 ฤดูกาล ดอกเหล่านี้ถือเป็นดอกที่มีคุณภาพรองลงมา สาเหตุอาจเนื่องมาจากขณะที่มีการผลิใบอ่อนนั้น สภาพต้นยังไม่สมบูรณ์หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น มีฝนตกมาก หรือใบถูกโรคแคงเกอร์หรือหนอนชอนใบเข้าทำลาย เมื่อต้นกระทบแล้งอีกครั้ง หรือ มีการชักนำการออกดอกอีกครั้ง ก็จะมีการสร้างตาดอก จากตาข้างของกิ่งเหล่านั้น ในบางกรณีพบว่า กิ่งที่เจริญขึ้นมาเหล่านี้มีสภาพของกิ่ง ใบและดอกที่สมบูรณ์ หากแต่ดอกเหล่านั้นไม่มีการติดผลหรือมีการ ติดผลแล้วผลอ่อนหลุดร่วงไป ดอกที่เกิดจากกิ่ง ลักษณะดังกล่าวนี้ยังกล่าวได้ว่า มีคุณภาพสูงเช่นกัน แต่ในอีกหลายกรณีก็พบว่ากิ่งที่เจริญขึ้นมามีลักษณะอวบใหญ่ แข็งแรงมากอันสืบเนื่องจากเป็นสภาพ ของกิ่งกระโดง (sucker) กิ่งเหล่านี้จะไม่มีการออกดอกในช่วงระยะแรก แต่เมื่อกิ่งมีขนาดยาวมากขึ้นน้ำหนักกิ่ง ทำให้กิ่งห้อยย้อยลง สภาพของการเป็นกิ่งกระโดงก็หมดลง กิ่งจึงมีการออกดอกจากตา ข้างเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามโครงสร้างของพุ่มต้น ก็สูญเสีย รูปทรงที่ดีไปด้วยและพุ่มต้นมีแนวโน้มเจริญไปในทางสูงขึ้น

(3) ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบ จัดเป็นดอกที่มีคุณภาพเลวที่สุด เนื่องจากไม่มีใบในการช่วยสร้างอาหาร มักพบเป็นดอกตัวผู้ (ไม่มีเกสรตัวเมียหรือลีบไป) ค่อนข้างมากหรือเกือบทั้งหมด โอกาสที่จะติดผลได้จึงต่ำมากและผลที่ได้มักมีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์ การออกดอกในลักษณะนี้พบในต้นที่ไม่สมบูรณ์หรือมีการใช้วิธีการทำลายใบให้ใบร่วง ดอกที่เกิดขึ้นมาในบางครั้งพบว่ายอดเกสรตัวเมีย (stigma) เจริญโผล่พ้นส่วนของกลีบดอกตั้งแต่ในระยะก่อนดอกบาน โอกาสของการติดผลจึงต่ำมาก

ต้นมะนาวมีการออกดอกได้ดีเมื่อผ่านช่วงของความแล้งมาระยะหนึ่งโดยใช้ระยะเวลาระหว่าง 20-30 วัน ทั้งนี้ ย่อมแล้วแต่ ความสมบูรณ์ของต้น ขนาดของทรงพุ่มต้นและสภาพของดิน หากเป็นดินทรายย่อมได้เปรียบมากกว่า ดินเหนียวและสามารถ ชักนำ ให้เกิดสภาพแล้ง ให้กับระบบรากได้เร็วกว่า บางครั้งใช้เวลาเพียง 10 วันก็เพียงพอ การปฏิบัติดูแลรักษาเพื่อ ช่วยให้ผิวดิน มีโอกาส ได้สัมผัสกับลม และแดด เช่น การตัดแต่งกิ่งให้พุ่ม ต้นโปร่ง การกำจัดวัชพืชใต้พุ่มต้น ระยะที่ใช้ปลูก ฯลฯ หากมีการนำวิธีการต่างๆ เหล่านี้มาใช้ร่วมกันก็จะเป็นการช่วยให้ มีประสิทธิผลของการชักนำ สภาพแล้งได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้หากต้นมะนาว มีสภาวะต้นที่ สมบูรณ์ ก็สามารถที่จะ มีการออกดอกได้ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่มีช่วงแล้งก็ตาม โดยอาจพบต้นสามารถออกดอกได้ทั้งที่เป็นคุณภาพ ของดอกประเภทหนึ่งหรือสองก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรจดจำไว้ให้มากสิ่งหนึ่งคือ มะนาวจะไม่มีการออกดอกในกิ่งที่มีการติดผลอยู่ ดังนั้น หากต้องการให้กิ่งมีการออกดอกในช่วงที่ต้องการตามที่กำหนดไว้ ก็จำเป็นที่จะต้องกำจัดดอกหรือผลอ่อน ในกิ่งเหล่านั้น ออกไปให้หมดสิ้นเสียก่อน

ในด้านที่เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของต้นมะนาวเพื่อใช้สำหรับชักนำให้สามารถออกดอก และติดผลของการผลิตนอกฤดูนั้น จำเป็นที่จะต้องใช้หลายๆ ลักษณะเข้ามาร่วมกัน ทั้งนี้โปรดอย่าได้ลืมนึกถึงความสมบูรณ์ของต้นอันเป็นปัจจัยพื้นฐานหลักด้วย โดยสิ่ง สำคัญๆ มีดังนี้

(1) การปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วถึงด้านการออกดอกของต้นที่มีในฤดูกาลใหญ่อยู่ 2 ระยะ รวมทั้งกิ่งที่มีผลผลิตติดอยู่ก็ไม่สามารถ ออกดอกได้อีกด้วย ดังนั้น การที่จะให้ต้นมะนาวออกดอกได้ดีตามต้องการจึงจำเป็นต้อง กำจัดดอกและผลอ่อนที่ไม่ต้องการในฤดูกาลนั้นออก ทิ้งไปเสียก่อน การตัดแต่งกิ่งนอกจากจะเป็นการกำจัดดอกและผลอ่อนออกไป ได้บางส่วนแล้ว ยังเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้มีการผลิยอดอ่อนใหม่ ที่ค่อนข้างสม่ำเสมออีกด้วย ภายหลังจากตัดแต่งแล้ว ดอกและผลอ่อน ที่เหลือก็สามารถใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต หรือฮอร์โมนมาช่วยได้ หรืออาจกระทำการพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโต เพื่อกำจัดดอกและผลอ่อนให้หลุดร่วง ไปก่อนแล้วจึงดำเนินการตัดแต่งกิ่งในภายหลัง พร้อมทั้งกำจัดผลที่ยังเหลือตกค้างอยู่ออกไป การตัดแต่งกิ่งเพื่อกำจัดดอก และผลอ่อนพร้อมทั้งการกระตุ้นให้เกิดยอดใหม่นั้น ไม่ควรตัดลึกมาก ควรจำกัดอยู่ที่ปลายกิ่งระดับ 5-10 ซม. หากตัดลึกมากแล้วจะเกิดกิ่งกระโดงแทน ทำให้เสียโอกาสการออกดอกไป

สารควบคุมการเจริญเติบโตเหล่านี้เท่าที่มีรายงานผลการทดลองใช้เพื่อการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาวนั้นมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ NAA เข้มข้น 2,000 ppm 1/ สามารถปลิดดอกและผลอ่อนในระยะกลีบดอกโรย (petal fall) และระยะที่ผลมีอายุ 2-3 สัปดาห์ได้ดีกว่าระยะที่เป็นตาดอกและระยะดอกบาน อย่างไรก็ตาม การใช้ NAA ในความเข้มข้นระดับนี้ ไม่สามารถกำจัดดอก และผลอ่อนให้หมดไปได้ตามต้องการ การใช้ความเข้มข้นที่สูงมากกว่านี้อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษกับต้นมะนาวได้ สารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดหนึ่งที่ใช้ในการปลิดดอกและผลอ่อนของมะนาว


1/ NAA 2000 ppm เตรียมจาก NAA 4.5 % โดยใช้จำนวน 888 มล. ผสมน้ำ 20 ลิตร


ดอกที่เกิดจากตาข้างของกิ่งแก่ที่มีใบไม่สมบูรณ์


ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบ


ดอกที่เกิดจากกิ่งที่ไม่มีใบดอกมีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นดอกตัวผู้


ดอกที่เจริญขึ้นมาจากกิ่งที่ไม่สมบูรณ์หรือกระทบช่วงแล้ง ดอกมีเกสรตัวเมียเจริญโผล่พ้นส่วนของตาดอกออกมา


ต้นมะนาวที่มีผลติดอยู่จะไม่มีการออกดอก


กิ่งที่มีช่อดอกและผลอ่อนภายหลังการฉีดพ่นด้วยสาร NAA


ดอกที่เกิดจากตาข้างของกิ่งแก่ที่มีใบสมบูรณ์


ดอกที่เกิดพร้อมกับการผลิยอดอ่อน


ช่อดอกและผลอ่อนที่หลุดร่วงไปในกิ่งที่พ่นด้วยเอทธีฟอน


ระยะดอกบานสามารถปลิดออกได้ดี ด้วยเอทธีฟอน


ผลที่มีขนาดใหญ่อายุมากกว่า 1 เดือนยากต่อการปลิดด้วยสาร

ระยะกลีบดอกโรย (ผลอ่อน) สามารถปลิดออกได้ดีด้วยเอทธีฟอนเช่นกัน

 

จัดทำโดยครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
โรงเรียสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร กทม.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม  2006

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2006 www.thaigoodview.com. All rights reserved.