ขั้นตอนการจัดสวน

 

Homeประวัติผู้จัดทำสอบก่อนเรียนความหมายความสำคัญการจัดสวนขั้นตอนการจัดสวนสอบหลังเรียน

การเลือกซื้อพรรณไม้ 
การปรับที่ 
การปรับหลุมปลูกต้นไม้ 
การกำจัดวัชพืช 
การวางก้อนหิน 
การปลูกไม้ 
การปูหญ้า 
การปูทางเท้า 
การดูแลหญ้า 
การเก็บและส่งมอบงาน 

 

 ขั้นตอนการจัดสวน

        หลังจากได้ออกแบบสวน ประเมินราคา และตกลงกับเจ้าของสถานที่เรียบร้อยแล้ว นักจัดสวนต้องวางแผนและเตรียมงานเป็นขั้นต่อไป เพื่อกะระยะให้สวนเสร็จตามวัน และ เวลาที่ต้องการจากการจัดสวนโดยทั่วไปจะพบว่า มีลำดับการทำงานเป็นขั้น ๆ เพื่อความสะดวกในการทำงานและมีผลให้งานแต่ละส่วนได้ผลดี ทั้งง่ายต่อการเบิกเงินแต่ละงวดของเจ้าของบ้าน เมื่อการจัดสวนได้ถึงขั้นตอนที่กำหนดไว้

เลือกพันธุ์ไม้.jpg

        1)  การเลือกซื้อพรรณไม้  (Getting plant) เป็นการสำรวจและหาแหล่งพรรณไม้ที่มีในแบบตามแหล่งต่าง ๆ ของร้านขายพรรณไม้ภายในเมืองนั้น โดยพยายามหาทั้งชนิดของต้นไม้, ขนาด, รูปทรง และราคาให้เป็นไปตามแบบที่เสนอต่อเจ้าของบ้านทั้งนี้เพื่อเกิดความศรัทธาจากเจ้าของบ้านถึงความสามารถของผู้จัดที่หาพันธุ์ไม้ได้ทรงและจิดตามที่กำหนดไว้ ควรพยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนต้นไม้จากแบบเดิมนอกจากจำเป็นจริง ๆ เช่น ในกรณีที่ไม่สามารถจะหาไม้ชนิดนั้นได้หรือมีแต่ไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ ก็ควรเป็นอย่างอื่นแทน แต่นักจัดสวนควรจะอธิบายเหตุผลให้เจ้าของบ้านเข้าใจถึงปัญหา และทราบถึงสิ่งนำมาทดแทนว่าเป็นชนิดใดและราคาใกล้เคียงกันหรือดีกว่าอย่างไรบ้าง เมื่อได้เลือกพรรณไม้ตามที่ต้องการแล้วควรจะฝากไว้ที่ร้านค้านั้นก่อนจนกว่าจะปรับที่เตรียมหลุม พร้อมที่จะปลูกได้จึงต้องขนย้ายในวันเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดเวลา น้ำมัน โดยการขนจากหลาย ๆ ร้านรวมกันวันนี้ อีกทั้งจะได้ไม่เป็นภาระในการรดน้ำต้นไม้ ถ้านำเอาต้นไม้ไปไว้บ้านที่จัดสวนนานเกินไป

ปรับดิน.jpg

                2)  การปรับที่  (Grading) การปรับที่ก่อนจะมีการปลูกต้นไม้นั้นเป็นงานที่ยากใช้เวลาและแรงงานมาก ปัญหามีมากถ้าหากว่าการก่อสร้างบ้านไม่เสร็จเรียบร้อยเพราะอาจมีการขุดท่อวางสายไฟ ประปา อีก็ได้ และหลังจากที่ปรับที่เสร็จเมื่อฝนตกฝนก็จะชะหน้าดินเป็นร่องทำให้เสียเวลาในการปรับที่ใหม่ เนินที่แต่งไว้อาจจะถูกเหยียบย่ำโดยคนงานที่มาทำงานอื่นในบ้าน เช่น ทาสี, ตั้งศาลพระภูมิ ฯลฯ ดังนั้นการปรับที่จึงต้องรอเวลาที่เหมาะสม โดยให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว จะใช้ผู้ที่มีฝีมือที่จะปรับที่ให้เป็นรูปร่างตามที่นักออกแบบได้

        การปรับที่อาจเริ่มจากการปรับหน้าดินให้เรียบตามระดับที่ต้องการ ซึ่งต้องใช้จอบย่อยดินให้ละเอียด และนำดินมาถมตามจุดที่ต่ำไปหรือถากดินออกบริเวณที่หน้าดินสูงเกินไป ช่วงใดที่ต้องการให้เป็นเนินก็เอาปูนขาวโรย แสดงขอบเขตของเนินนั้น ๆ (ดูจากแปลน) และทยอยเอาดินมาถมในบริเวณปูนขาวให้สูงตามที่ต้องการ โดยไล่จากจุดต่ำสุดมายังจุดสูงสุดของเนิน เมื่อถมที่ได้ตามที่ต้องการแล้วควรรดน้ำและย่ำให้ดินแน่นไม่เป็นโพรง ทั้งนี้เพื่อกันการทรุดตัวของเนินในภายหลัง หลังจากการใส่ดินตามจุดที่ต้องการแล้วควรรดน้ำให้ชุ่มมาก ๆ แล้วทิ้งไว้ 1 คืน ให้ดินหมวดจึงใช้ลูกกลิ้งบดดินให้เรียบ ถ้าช่วงไหนที่ดินยุบมากควรเพิ่มดินอีก

        การปรับดินควรปรับถึงการระบายน้ำด้วยโดยทั่วไปไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพราะไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะสวนช่วยที่อยู่ใกล้ชายคาที่น้ำไหลลงมาเมื่อฝนตก ควรระวังเลือกใช้พรรณไม้และปรับทางระบายน้ำบริเวณนั้นให้ดี

        ส่วนของสนามที่ระดับดินเท่ากันแต่งให้เรียบเสมอขอบธรรมดา และถ้าในดินมีสนามสูงกว่าถนนที่ควรแต่งขอบให้โค้งและปูหญ้าถึงขอบถนน เพื่อกันดินพัง

 

จัดทำโดย ครูอนุพูล เทศารินทร์
โรงเรียนเซกา อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย

Copyright (c) 2004 Mr.Anupul Thaysarin www.seka.ac.th All rights reserved.
  จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2547

thaigoodview.com Version 12.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail:
webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2001 Mr.Poonsak Sakkatatiyakul. All rights reserved.