![]() |
ประเทศปากีสถาน ขนาดเนื้อที่ ประเทศปากีสถานมีอาณาเขตประมาณ ๗๙๖,0๙๙ ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร ๘๔ ล้านคนเมืองหลวง อิสลามาบัด ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศปากีสถานลักษณะเป็นภูเขาและหุบเขา ซึ่งเกิดจากเทือกเขาที่มีชื่อเสียงมาบรรจบกันได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขากะมาโกราม และเทือกเขาฮินดูกูช เป็นต้น ยอดเขาสูงๆ มีอยู่ทั่วไป ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศของประเทศปากีสถานแตกต่างกันออกไปตามสภาพที่ตั้ง มีตั้งแต่อากาศร้อนจัดจนถึงอากาศหนาวจัดในตอนเหนือของประเทศ ในตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและเย็นลงในฤดูหนาวส่วนทางตอนเหนือจะมีอากาศต่ำกว่าจุดเยือกแข็งในฤดูหนาว จึงมีหึมะปลกคลุมอยู่ทั่วไปปริมาณน้ำฝนที่ตกไม่มากนักยกเว้นทางตอนใต้ของประเทศติดกับ ทะเลอาหรับจะมีฝนตกหนักเนื่องจากได้รับอิทธิพลลมมรสุมตกชุกในปลายฤดูร้อน ทรัพยากรธรรมชาติ ประชากรมากกว่าร้อยละ 75 เป็นชาวชนบทและดำรงชีพด้วยการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของประเทศ ผลิตผลส่วนใหญ่คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า อ้อย และฝ้าย ส่วนการอุตสาหกรรมได้แก่ ผลิตภัณฑ์ อ้อย น้ำตาล ยาสูบ เป็นต้น ศิลปะและวัฒนธรรม ของชาวปากีสถานแสดงให้เห็นถึงอย่างแท้จริง ผู้ที่มาเยือนจะพบหลักฐานถึงศิลปวัฒนธรรมของชาวปากีสถาน ศิลปกรรมของชาวปากีสถานมีรูปแบบทั้งที่เป็นศิลปกรรมทางศาสนา เช่น พรมขนสัตว์ เครื่องทองเหลือง และรูปแกะสลัก เป็นต้นทางด้านดนตรีและการฟ้อนรำมีประวัติอันยาวนาน การฟ้อนรำเป็นการฟ้อนของชาวปากีสถานโดยเฉพาะ สถานที่สำคัญในประเทศปากีสถานมีอยู่มากมาย เช่น เมืองโม เอ็นโจดาโร เป็นสถานที่ทางโบราณคดีที่สำคัญ ส่วนโบราณสถานของศาสนามีปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป เช่น ที่เมืองลาฮอร ์ เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ มีสถานที่สำคัญ ๆ หลายแห่ง เช่น ค่ายทหารเมืองลาฮอร์ และมัสยิดบาสชาฮิซึ่งสร้างโดยจักรพรรดิออรังเซ็บ มัสยิดบาสชาฮินี้กว้างเป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกจากนี้ ปากีสถานยังมีสถานที่อื่นๆที่นาสนใจอีกมาก ควรจะไปเที่ยวดินแดนทางภาคเหนือซึ่งเป็นขุนเขา มีหิมะปกคลุมตลอดฤดูหนาว ส่วนทางด้านความสัมพันธ์ ประเทศไทยกับประเทศปากีสถานมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นมาเป็นเวลาช้านาน ชาวมุสลิมบางสวนมักนิยมส่งบุตรหลานของตนมาศึกษาที่ประเทศปากีสถานเป็นจำนวนมาก และการค้าระหว่างประเทศ การเมืองการปกครอง ปากีสถานปกครองระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข |
คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่
ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่
22 สิงหาคม พ.ศ. 2545 Copyright(c) 2002 bansong school. All rights reserved. |