โครงสร้างเนื้อหา

ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปของอัลเฟรด เวเนเจอร์

แผ่นเปลือกโลกและการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

การเกิดแผ่นดินไหว

การเกิดภูเขาไฟ

การเกิดภูเขา

การกร่อน

  • การกร่อนจากกระแสน้ำ
  • การกร่อนจากปฏิกิริยาเคมี
  • การกร่อนจากอุณหภูมิ
  • การกร่อนจากแรงโน้มถ่วง
  • การกร่อนจากกระแสลม

ความคิดรวบยอดของเนื้อหา


ข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าชี้บ่งว่ามีแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ 6 แผ่นและแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก ๆ อีกหลายแผ่น ซึ่งไม่อยู่นิ่ง แต่เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาด้วยอัตราเร็วที่ช้ามาก

การไหลวนของหินหนืดในชั้นแมนเทิล เพราะได้รับความร้อนจากแก่นโลก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เปลือกโลกเคลื่อนที่ได้

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอาจมีผลทำให้บางทวีปเคลื่อนห่างจากกันมากขึ้น และในบางกรณีแผ่นเปลือกโลกอาจเข้าไปชนกันเกิดเป็นภูเขาสูง หรือบางกรณีแผ่นเปลือกโลกอาจมุดตัวเข้าไปสู่ใต้แผ่นเปลือกโบกอีกแผ่นหนึ่ง

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก

หินเหนืดที่ถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น เรียกว่าภูเขาไฟ ซึ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก

ภูเขาเกิดขึ้นได้หลายกระบวนการซึ่งใช้เวลานานมาก เช่น อาจเกิดจาการชนกันของแผ่นเปลือกโลก หรือ การยกตัวขึ้นของพื้นทวีป

การกร่อนอาจมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ กระแสลม ปฏิกิริยาเคมีตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดผลต่าง ๆ ทั้งการทับถมของตะกอน การเกิดหินงอก หินย้อย

กลับข้างบน