![]() |
|
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ การมีเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังฤดูทำนาเสร็จคือราวเดือนอ้าย ( ตั้งแต่วันสารทไทยเป็นต้นไปบางแห่งก็ทำช่วงสงกรานต์ )ส่วนจำนวนวันที่จัดนั้น จัดเสร็จภายใน 1 วันกับ 1 คืนตามคตินิยม ( ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครฟังจบทั้ง 13 กัณฑ์ในวันเดียวย่อมได้บุญแรง ถ้าไม่บรรลุโลกุตรธรรม ก็จะได้พบพระศรีอริยเมตไตรย ) จัดเฉพาะกลางวันรวม 3 วันบ้าง ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกเป็นสำคัญ เมื่อมีการเทศน์มหาชาติ นิยมประดับประดาสถานที่เทศน์ให้เปป็นเสมือนป่า เพื่อให้คล้ายป่าเมืองกบิลพัสดุ์ โดยจัดให้มีต้นกล้วย ต้นไม้ประดับตามประตูวัด และที่ธรรมมาสน์เทศน์ เครื่องกัณฑ์เทศน์ เมื่อใครรับกัณฑ์ใด ก็ได้นามว่าเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้น และมีหน้าที่จัดเครื่องกัณฑ์มาถวาย เป็นต้นว่า เครื่องอัฏฐบริขาร ของขบฉันข้างหน้าธรรมมาสน์ต้องมีหมากประจำกัณฑ์ (มักนิยมเลียนแบบของป่า ) และขันนำมนต์ส่วนวัตถุปัจจัยได้แก่ เงินเหรียญติดเทียนซึ้งปักบนเชิงรองพานตั้งไว้หากมีผู้บริจาคเงินเป็นธนบัตรก็ใช้ไม้เล็ก คีบธนบัตรปักลงที่เทียนอีกทีหนึ่งนอกจากนี้เครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ยังมีเทียนประจำกัณฑ์เล่มใหญ่ พอจุดจนจบกัณฑ์ ปักไว้ข้างอาสนะสงฆ์ ฉัตรธงรูปชายธง ธูปเทียนคาถา ดอกไม้ อย่างละพันเท่าจำนวนคาถาที่ทั้งเรือมี 1000 พระคาถามีผ้าเขียนภาพระบายสีหรือปักด้วยไหมเป็นรูปภาพประจำกัณฑ์ที่เรียกว่า " ผ้าพระบฏ " หรือ " ภาพพระบฏ " มีพานหมาก หรือขันหมากพลูไว้ถวายพระด้วย มักประดิษฐ์ประดอยทำเครื่องกัณฑ์ด้วยความประณีต มีการทำขนมและการแกะสลักผักเป็นการประกวดงานฝีมือกันไปในตัว เช่น จากเรื่องขุนช้างขุนแผน " เครื่องกัณฑ์ของนางศรีประจันแกะเรียบร้อยก่าขุนช้าง" คือ
บ้างเอามะละกอมาผ่าจัก ช่วยกันแกะสลักเป็นหนักหนา แล้วย้อมสีสดงามอร่ามตา ประดับประดาเป็นศรีขรินทร์ แกะเป็นราชสีห์สิงห์อัด เหยียบหยัดยืนอยู่ดูเฉิดฉิน แกะเป็นเทพพนมพรหมมินทร์ พระอินทร์ถือแก้วและเหาะมา แกะรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ผาดผันเผ่นผยองล่องเวหา ยกเข้าไปให้เขาโมทนา ฝูงข้าก็รับไปทันที |
Copyright(c) 2002 Miss Sorada Piyasupasit. All rights reserved. |