วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
มีปูชนียสถานที่สำคัญคือ "รอยพระพุทธบาท"
ที่ประทับ
ไว้ในแผ่นหินเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพต
หรือเขาสัจพันธคีรี ลักษณะของรอยพระบาทคล้ายเท้าคน
กว้าง21
นิ้ว ยาว 5 ฟุต ลึก 11 นิ้ว ค้นพบในสมัยพระเจ้าทรงธรรม
พระองค์ทรงเห็นว่าเป็นรอย
พระบาทตามลักษณะ108
ประการ จึงโปรดให้สร้างมณฑปชั่วคราวครอบรอยพระบาทไว้
ต่อมาได้
มีการสร้างต่อเติมกันอีกหลายสมัย
ลักษณะของมณฑปเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสประกอบเครื่อง
ยอดรูปปราสาท
7 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเขียว มีซุ้มบันแถลงประดับทุกชั้นมีเสาหินย่อมุมไม้
สิบสองปิดทองประดับกระจกรับโดยรอบ
ฝาผนังด้านนอกปิดทองประดับกระจกเป็นรูปเทพพนม
และมีพุ่มข้าวบิณฑ์
บานประตูพระมณฑปเป็นงานศิลปกรรมประดับมุกชั้นเยี่ยมของเมืองไทย
ทางขึ้น
พระมณฑปเป็นบันไดนาคสามสาย
คงจะหมายถึงบันไดเงินบันไดทอง และบันไดแก้วที่ทอดลงจาก
สวรรค์
หัวนาคที่เชิงบันไดหล่อด้วยทองสำริด เป็นนาค
5 เศียร บริเวณรอบมณฑปมีระฆัง
แขวนเรียงราย
เพื่อให้ผู้ที่มานมัสการได้ตีเป็นการแผ่ส่วนกุศลแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย
พระอุโบสถ
และพระวิหารต่างๆ
ที่อยู่รายรอบล้วนสร้างตามแบบศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา
และ
กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
นอกจากนี้ ในบริเวณวัดยังมีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระพุทธบาท
ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมศิลปวัตถุอันมีค่ายิ่ง
อาทิ เช่น เครื่องทรงของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
เครื่องลายครามสังคโลก
เครื่องทองสำริดโบราณ ศาสตราวุธโบราณ รอยพระพุทธบาทจำลองยอด
มณฑปพระพุทธบาทเก่า
พัดยศของพระสมัยต่างๆและท่อประปาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในปีหนึ่งๆ
จะมีประชาชนเป็นจำนวนมากจากทุกสารทิศไปนมัสการรอยพระพุทธบาท
ด้วยความ
เลื่อมใส
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท
ซึ่งปกติจัดให้มีปีละ 2 ครั้ง คือ
ตั้งแต่
ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงแรม 1 ค่ำ และตั้งแต่ขึ้น
8 ค่ำ เดือน 4 จนถึงแรม 1 ค่ำ
การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนโขลนอำเภอพระพุทธบาท
ห่างจากตัวจังหวัดสระบุรีประมาณ 28 กม.
มีทางเลี้ยวซ้าย
ก่อนถึงอำเภอพระพุทธบาทเข้าไป1 กิโลเมตร

|