วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
หรือ วัดบ้านแหลม เป็นวัดที่สำคัญที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
เพราะเป็นวัดที่มีพระพุทธรูปสำคัญ คือ "หลวงพ่อบ้านแหลม"
เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีผู้เดินทางมานมัสการกันเป็นประจำ
สำหรับความเป็นมาของหลวงพ่อ
บ้านแหลมนั้นเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏ
ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขาว่า
เมื่อ
พ.ศ.2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยา
ได้ยกทัพมาช่วยรักษา
เมืองไว้ได้
ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีได้อพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลแม่กลอง
เหนือวัดศรีจำปาขึ้นไปและเรียกหมู่บ้านนี้ว่า
"บ้านแหลม" ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชร
ได้ช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปาแล้วเรียกวัดศรีจำปาว่า
"วัดบ้านแหลม" ชาวบ้านแหลมพวกนี้เป็นชาว
ประมงมี
อาชีพจับปลาในทะเล คราวหนึ่งได้ออกไปลากอวนในอ่าวแม่กลองได้พระพุทธรูปติดอวนขึ้น
มา
2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปนั่ง อีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปยืน
สำหรับพระพุทธรูปนั่งได้
นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเขาตะเครา
จังหวัดเพชรบุรี เรียกว่า "หลวงพ่อวัดเขาตะเครา"
สำหรับ
พระพุทธรูปยืนอุ้มบาตร
สูงประมาณ 167 เซนติเมตร แต่บาตรนั้น สูญหายไปในทะเล
ได้นำมา
ประดิษฐานไว้ที่วัดบ้านแหลม
เรียกว่า "หลวงพ่อบ้านแหลม" มีความศักดิ์สิทธิ์
และอภินิหารเป็นที่
เคารพเลื่อมใสของชาวบ้านทั่วไป
วัดบ้านแหลมซึ่งแต่เดิมเป็นวัดเล็ก ๆ ที่ทรุดโทรมก็กลับเจริญขึ้น
เป็นวัดใหญ่
เพราะมีผู้คนมาทำบุญและนมัสการ หลวงพ่อบ้านแหลมกันอยู่เรื่อยๆ
ต่อมาวัดนี้ได้รับการ
ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นวรวิหาร
ได้รับพระราชทานนามว่า "วัดเพชรสมุทรวรวิหาร"
สำหรับบาตรของหลวงพ่อบ้านแหลมนั้น
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธ์วงศ์วรเดชได้ถวายบาตร
ไว้ให้บาตรหนึ่ง
เป็นบาตรแก้วสีน้ำเงิน ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ทุกวันนี้ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมี
พิพิธภัณฑ์สงฆ์
ซึ่งภายในมีพระพุทธรูปบูชาและพระเครื่องในสมัยต่างๆโบราณวัตถุเครื่องลายคราม
และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยาไว้ให้ชมด้วย
การเดินทาง
ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่กลอง จากกรุงเทพฯ มาตามเส้นทางถนนธนบุรี
- ปากท่อ กม.62
เลี้ยวขวาข้าม
บายพาสเข้าสู่ถนนราชญาติรักษา (ทางหลวงหมายเลข
325) ข้ามทางรถไฟตรงไป
ผ่านสี่แยกซอยเข้าวัดอยู่ขวามือเข้าไป
400 ม.

|