วันเข้าพรรษา

 

Homeผู้จัดทำการละเล่นเด็กไทยวันสำคัญประเพณีไทย

chaiha_lao@yahoo.com

วันปีใหม่ 
วันสงกรานต์ 
วันลอยกระทง 
วันพระ 
วันมาฆบูชา 
วันวิสาขบูชา 
วันอาสาฬบูชา 
วันเข้าพรรษา 
วันออกพรรษา 

 

วันเข้าพรรษา

 

วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาที่ฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น โดยทั่วเรียกกันว่า จำพรรษา

        วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ

1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ เดือน 6 ของทุกปี

2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 คำ เดือน 8 หลัง

ประวัติของวันเข้าพรรษา

        ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝนในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบยำข้าวกล้าของชาวบ้านได้

รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบยำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหาจินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยูที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน พระสงฆ์ที่เข้าจำนำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในคระยะเวลา 7 วัน คือ

1. ไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย

2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก

3. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์

4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรับธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุสงฆ์

1. พระภิกษุสงฆ์จะได้พักผ่อนหลังจากที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นเวลานาน

2. เพื่อให้พระสงฆ์มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยมากขึ้น

3. เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้บำเพ็ญกุศล

 

คุณเข้ามาเยี่ยมชมลำดับที่

ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2545
www.thaigoodview.com
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail :
webmaster@thaigoodview.com
ICQ : 82032264

Copyright(c) 2002 Ms Krittaya Laoharatanahirun. All rights reserved.