
ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร
1. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน
ความเรียงต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความ
เรียงที่เขียนขึ้น
2. ทำให้ได้คติสอนใจ
ในด้านต่างๆ เช่น
-
ด้านการเรียน ตัวอย่างๆ “รู้ไว้ใช่ว่า
ใส่บ่าแบกหาม” “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” “ความรู้ท่วม
หัวเอาตัวไม่รอด”
-
ด้านการคบค้าสมาคม ตัวอย่าง “คบคนให้ดูหน้า
ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง”
-
ด้านการครองเรือน ตัวอย่าง “ความในอย่านำออก
ความนอกอย่านำเข้า” “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
-
ด้านความรัก ตัวอย่าง “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน”
“รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” “รักวัวให้ผูก
รักลูกให้ตี”
3. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม
ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น ว่ามีความเป็นอยู่
อย่างไร เช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย”
“แบ่งสันปันส่วน” “หมูไปไก่มา”
4. เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ
|