กฏหมายแบ่งประเภทยาเสพติดไว้อย่างไร
ในทางกฎหมาย
สิ่งที่ถือว่าเป็นยาเสพติดนั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน หากไม่มีกฎหมายระบุไว้สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ยาเสพติด
แม้ว่าสิ่งที่เสพนั้นจะมี ฤทธิ์ที่ทำให้เกิดการเสพติดได้ก็ตาม
เช่น สุรา บุหรี
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ
พ.ศ. 2522 ได้แบ่งยาเสพติดให้โทษ (มาตรา 7)
ออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
ประเภทที่
1 ยาเสพติดชนิดร้ายแรง
มี 38 รายการ ที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน
เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี
ประเภทที่
2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไปมี
102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน
ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน
ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา)
ฝิ่น(ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)
ประเภทที่
3
ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภทที่
2 ผสม อยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติดประเภท
2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
ประเภทที่
4
สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท
1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค
แอน ไฮไดรด์ , อาเซติล คลอไรด์
ประเภทที่
5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้า
อยู่ในประเภท 1-4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม
พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม
และพืชเห็ดขี้ควาย
|