สมองติดยาได้อย่างไร
การติดยาเป็นกระบวนการต่อเนื่องที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
เริ่มต้นจากการใช้เป็นครั้งคราวสู่การใช้ถี่ขึ้น
จนใช้ทุกวัน
และวันละหลายครั้ง การใช้ยาเสพติดมีผลต่อสมอง
2 ส่วนคือ
1.สมองส่วนนอกที่เป็นส่วนคิด(Cerebral
cortex)
2.สมองส่วนที่อยุ่ชั้นใน
(Limbic System)เป็นสมองส่วนท่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความอยาก
สมองส่วนคิดทำหน้าที่ควบคุมสติปัญญา
ใช้ความคิดแบบมีเหตุผล ขณะที่สมองส่วนอยากเป็นศูนย์ควบคุม
อารมณ์
ความรู้สึก ยาบ้าจะกระตุ้นปลายประสาทในสมองให้ส่งโดปามีนซึ่งเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งออกมาเป็นปริมาณมาก
ๆ
สารนี้ทำให้เกิดความรู้สึกสบาย
สมองจึงมีการปรับตัวด้วยการลดการหลั่งสารเคมีนั้นลง
เมื่อหมดฤทธิ์ยาบ้า จึงเสมือนว่า
ร่างกายมีอาการขาดสารโดปามีน
ทำให้มีอาการหงุดหงิด หรือซึมเศร้า ส่งผลให้ผู้เสพยาพยายามแสวงหายามาใช้ซำ
ใน
ขณะเดียวกันเมื่อใช้ยาบ้าบ่อย
ๆ ครั้ง จะทำใสมองส่วนนอกซึ่งเป็นส่วนคิดถูกทำลาย
การใช้ความคิดท่เป็นเหตุเป้นผลจะ
เสียไปผู้ที่ใช้ยาบ้าจึงมักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตนเองได้
จึงทำให้
มีการใช้ยาเสพติดบ่อยขึ้น
ผลสุดท้ายจะเกิดความสูญเสียอย่างรุนแรงใด้านต่าง
ๆ ของชีวิต โดยที่ผู้เสพไม่สามารถควบคุม
ตนเองได้ด้วยสติปัญญาหรือความคิด
ขั้นตอนสู่การติดยา
แบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
1.ระยะเริ่มใช้ยา
2.ระยะคงการใช้ยา
3.ระยะหมกมุ่นกับยา
4.ระยะวิกฤต
ระยะเริ่มต้นใช้ยา
อาจเริ่มใช้ยาเป็นครั้งคราาว
ในโอกาสพิเศษ เช่น มีกิจกรรมสังสรรค์กับเพื่อนฝูงที่ใช้ยา
หรือ ใช้เพราะเหตุผล
บางอย่าง
เช่น ลดนำหนัก ลดอาการเศร้า หรือไม่ให้ง่วงนอน
สมองที่ใช้เหตุผลยังคงตัดสินใจให้ใช้ยา เพื่อตอบสนองเหตุผลบางอย่างที่ตน
"คิด"
ระยะคงการใช้ยา
จะมีการใช้ยาเพิ่มขึ้นและเริ่มใช้เป็นประจำ
เช่น ใช้ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน
ในระยะนี้สมองส่วนนอกยังคงควบคุมความคิดได้
พฤติกรรมยังคงถูกควบคุมโดยเหตุผลแต่สมองส่วนคิดเริ่มบังคับตน
เองได้น้อยลงขณะที่สมองส่วนควบคุมความยากมีพลังมากขึ้นทำให้การตัดสินใจเริ่มเอนเอียงไปในทางใช้ยาต่อไป
แม้ผลเสีย จากการใช้ยาเริ่มมีมากขึ้น
ระยะหมกมุ่นใช้ยา
ในระยะนี้ผลทางลบที่กระทบต่อชีวิตผู้ใช้ยา
เช่น ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสัมพันธภาพหรือกฏหมาย
มีผลต่อผู้เสพชัดเจนที่จุดนี้บางคนสามารถหยุดยาได้โดยใช้เหตุผล
แต่บางคนจะทำไม่ได้ เพราะสมองส่วนอยากมีอำนาจเหนือสมองส่วนคิด
แล้ว จึงไม่สามารถควบคุมตนเองได้และก้าวเข้าสู่สภาพของการเสพติหด
ทั้งที่ผู้ที่ติดยายังมีความคิดถึงผลเสียที่เกิดขึ้น
และตระหนักว่าตนควรเลิกเสพยา
ระยะวิกฤต
แม้ในระยะนี้ผลเสียจากการใช้ยาที่เกิดกับผู้เสพจะรุนแรงชัดเจน
แต่ผู้เสพติดก็ยังคงการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง
เพราะการ
ตัดสินใจที่ใช้เหตุผลและสติจาสมองส่วนควบคุมความคิดอ่านไม่เพียงพอที่จะขัดขวางความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสมองที่ควบคุมการตอบสนองความอยาก
(Limbic System) จึงทำให้หมกมุ่นกับการเสพติดอย่างรุนแรง
ผลกระทบต่อสมองอันเกิดจากการเสพติด
การ่ติดยาเสพติดหรือการเลิกยาเสพติดนั้น
ควรทำความเข้าใจถึงความเป็นจริงที่สำคัญ คือ
ผลกระทบต่อสมองอันเกิดจากสารเาพติด
จากการศึกษาวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกา
เกี่ยวกับเรื่องสมองที่ได้นับผลกระทบจากสารเสพติดโดยเฉพาะแอมเฟตามีน
(ยาบ้า) โดยศึกษาจากภาพถ่ายทางรังสีที่ใช้เทคนิคพิเศษ
( PEI Scan) ของสมอง
ถ้านำภาพถ่ายทางรังสีที่ใช้เทคนิคพิเศษของสมอง
รูปผ่าขวางสมองของคนปกติเปรียบเทียบ กับรูปผ่าสมองของคนที่ติดยาแล้ว
หยุดใช้ยาเสพติด ติดต่อกันเป็นเวลา 2
ปี ยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือ สีแดงของรูปผ่าของสมองคน
ที่ติดยาแล้ว ได้รับการรักษา มีสีแดงไม่เข้มสดใสเหมือนรูปผ่าขวางของสมองของคนปกติ
นี้คือผลจากอิทธิพลของยาเสพติด
ยาบ้าที่ไปทำลายสมอง ทำอย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถรักษาสมองให้กลับเหมือนเดิม
100%
การเลิกเสพสารเสพติด
และเริ่มบำบัดทันทีจะช่วย รักษาสมองของตนไว้ได้บ้างก่อนจะถูก
ทำลายจนไม่สามารถรักษาสภาพสมองไว้ได้ สมองจะถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
อาจจะมีอาการทางจิต หวาดระแวง หูแว่ว
ประสาทหลอน จนรักษาไม่หาย ก็เป็นได้
ฉะนั้นจึงควรรู้รักสมองของคุณ หยุดการใช้ยาเสพติดทุกชนิด
|