ชีวิตในแนวปะการัง

 

Homeผู้จัดทำ76 จังหวัดในประเทศไทยชีวิตในแนวปะการังสัตว์ทะเลมีพิษต.เต่า

nipardar@hotmail.com

 

ชีวิตในแนวปะการัง

 

     สาหร่ายเซลล์เดียว
   เป็นผู้ผลิตเบื้องต้นด้วยการสังเคราะห์แสงจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อผลิตธาตุอาหารขั้นต้นในระบบนิเวศน์ของปะการัง จากนั้นสาหร่ายก็จะเป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ตัวปะการัง และแพลงก์ตอน  

     หญ้าทะเล
   เจริญเติบโตได้ดีในแนวปะการังที่ราบเรียบ และบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นผู้ผลิตอาหารเบื้องต้นจากพลังงานแสงอาทิตย์ แล้วเป็นอาหารให้กับเต่าทะเลและปลาบางชนิด

 

     ฟองน้ำ
   เป็นสัตว์น้ำหลายเซลล์ บางชนิดเป็นรูปถ้วยบางชนิดเป็นแผ่นบางๆ และบางชนิดมีสีสันสดสวยงดงาม ฟองน้ำทำหน้าที่ผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้าทะเล และสัตว์น้ำอื่น

     ปะการังอ่อน
   ปะการังชนิดนี้ไม่สร้างโครงหินปูนห่อหุ้มตัว แต่จะสร้างโครงหินปูนภายในตัวของมันเองที่สามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสน้ำได้ จึงเรียกว่าปะการังอ่อน     

      กัลปังหา
   เป็นปะการังที่มีหลายสี รูปทรงของปัลกังหาเรียวยาว และมีกิ่งก้านสาขาแผ่คล้ายต้นไม้ กิ่งก้านหนึ่งๆของกัลปังหาอาจมีความยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงความยาวเป็นเมตร กัลปังหาแต่ละกิ่งก้านนั้นเกิดจากการสร้างของปะการังที่อาศัยอยู่โดยรอบแกนที่มันสร้างขึ้น

 

     ดอกไม้ทะเล
   มีรูปร่างทรงกระบอก ด้านล่าง เป็ญฐานยึดติดกับก้อนหิน มีหนวดอยู่ด้านบน มีปากที่แผ่บานออกคล้ายดอกไม้ที่หนวดมีเข็มพิษสำหรับจับปลาเล็กๆกินเป็นอาหาร

     หนอนทะเล
   มีหนอนทะเลหลายชนิดอาศัยอยู่ในแนวปะการังบางชนิดมีขนาดเล็กอาศัยอยู่ในรอยแตกหรือซอกของหินและแนวปะการัง มีรูปร่างสีสันสวยงามมาก

     หอย
   มีหอยมากมายหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง ได้แก่หอยเบี้ย หอยสังข์ หอยนางรม หอยมือเสือ หอยเต้าปูน และหอยสังข์แตร หอยสังข์แตรนี้มีความสำคัญต่อปะการังสูงมากเพราะหอยสังข์แตรจะเป็นหอยที่กินปลาดาวมงกุฏหนาม ซึ่งเป็นศัตรูของปะการัง

     หมึกทะเล
   เป็นหอยชนิดที่ไม่มีเปลือก มีลำตัวอ่อนนุ่ม มีหนวดสำหรับจับเหยื่อเป็นอาหาร หมึกทะเลจะพ่นหมึกสีดำจากตัวในเวลาที่หนีศัตรู      

     ปูปะการัง
   มีกระดองกว้างถึง 6 นิ้ว กระดองมีสีแดงสลับเหลืองอ่อนและสีขาว ปูปะการังเป็นปูที่มีก้านแข็งแรง ซึ่งก้านนี้คืออาวุธที่ปูปะการังใช้ในการจับเหยื่อ และฉีกก่อนกินเป็นอาหาร      

     กุ้งพยาบาล
   มีสีของลำตัวเป็นสีแดงสลับขาว กินอาหารด้วยการกินตัวพยาธิที่เกาะอยู่ตามผิวหนังของปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง จึงทำให้เรียกว่า กุ้งพยาบาล

     กุ้งมังกร
   เป็นกุ้งขนาดใหญ่ที่มีความยาวถึง 2 ฟุต และมีน้ำหนักในขนาดที่โตเต็มที่เกือบถึง 12 กิโลกรัม ตัวของกุ้งมังกร มีสีน้ำเงิน หัวใหญ่ มีหนาม และมีหนวดอยู่ 2 เส้น หนวดมีความยาวมาก กุ้งมังกรกินหนอนทะเล ทากทะเล และปูเป็นอาหาร ปัจจุบันกุ้งมังกรเป็นที่นิยมบริโภค กุ้งมังกรตัวหนึ่งๆจึงถูกจับขึ้นมาจากท้องทะเลด้วยน้ำหนักเพียง 1-2 กิโลกรัม ทำให้กุ้งมังกรค่อยๆสูญพันธุ์ไปจากทะเลอย่างรวดเร็ว

     ปลาต่างๆ
   ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีทั้งปลาที่เป็นอาหารและปลาประเภทสวยงาม ได้แก่ ปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน และปลาผีเสื้อ โดยเฉพาะปลาปะการัง หรือปลาเก๋า ปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวใหญ่มาก มีความยาวถึง 2 เมตร ปลานกแก้ว นอกจากจะเป็นปลาสวยงามแล้วมันยังมีปากและขากรรไกรที่แข็งแรงคล้ายนกแก้ว มีฟันหลายแถว กินสาหร่ายและปะการังเป็นอาหาร ปะการังที่มันกินนั้น ปลานกแก้วจะกัดทั้งก้อนปะการังและจะย่อยเฉพาะตัวปะการัง ส่วนโครงแข็งของปะการังนั้น มันจะขับถ่ายคายออกมาเป็นเศษละเอียดให้กลายเป็นเม็ดทรายละเอียด

     หอยเม่น
   ลักษณะโดยทั่วไปนั้นมีรูปร่างกลม มีหนามที่ผิวบางชนิดหนามสั้น บางชนิดหนามยาว  หอยเม่นที่พบโดยทั่วไป จะมีสีดำหนามเปราะตำได้ง่าย แต่หอยเม่นที่อาศัยในแนวปะการังนั้น มีทั้งชนิดหนามสั้น หนามยาวง หนามแหลม หนามทู่ และ หอยเม่นที่เป็นที่นิยมเก็บมาทำของที่ระลึก ได้แก่  หอยเม่นหนามสั้น และหอยเม่นดินสอ

      ดาวมงกุฏ
   เป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง รูปร่างมีลักษณะเป็นแฉกคล้ายดาว และมีหนามอยู่บนผิวหนังรอบตัว บริเวณใต้แขนที่เป็นแฉกแต่ละแขนจะมีขาเป็นหลอดสั้นเรียงกันเป็นแถวสำหรับใช้จับอาหาร และเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่นี้ของดาวมงกุฏหนามเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่มันมีความสามารถเคลื่อนที่ได้ทุกแนวระดับตามพื้นท้องทะเล ดาวมงกุฏหนามจะกินเนื้อเยื่อของปะการังเป็นอาหาร โดยจะใช้ส่วนของกระเพาะออกมาอยู่บริเวณปาก แล้วปล่อยน้ำย่อยเพื่อย่อยเนื้อเยื่อของปะการัง ปะการังที่ถูกกินจะปรากฏเป็นรอยหินปูนสีขาว ต่อมาซากหินปูนนี้ จะถูกปกคลุมด้วยสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และโครงหินปูนก็จะผุกร่อนแตกหักไปในที่สุด  ปะการังที่ถูกดาวมงกุฏหนามกินมากที่สุด ได้แก่ปะการังเขากวาง และปะการังเห็ด และปะการังที่ไม่ถูกดาวมงกุฏหนามกินเลย ก็คือปะการังสีน้ำเงิน  

   ปลาทุกชนิดในแนวปะการังต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันในระบบของสายใยอาหารที่มีความสมดุลย์ในความสัมพันธ์ของผู้ล่าและผู้ถูกล่า ปลาบางชนิด เช่น ปลาผีเสื้อ จะเลือกกินเฉพาะตัวของปะการัง เพราะฉะนั้นปลาประเภทนี้จะอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณแนวปะการัง ซึ่งอาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสภาพความสมบูรณ์ของปะการังได้โดยดูจากจำนวน และความหลากหลายของปลาประเภทนี้ หรือ ปลานกแก้ว ซึ่งจะกินหินปะการัง และขับถ่ายเศษสีขาวออกมาให้กลายเป็นตะกอนทรายในปีหนึ่งๆ ปลานกแก้วที่โตเต็มที่จะสามารถสร้างทรายให้กับทะเลด้วยการกินและขับถ่ายกากสีขาวของปะการังให้เป็นทรายถึง 500 กิโลเมตร  

                                                                                              

 
 จำนวนผู้เข้าใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 07 ตุลาคม 2545

thaigoodview.com Version 17.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com

Copyright(c) 2002 Miss Nipardar Wajajamroen. All rights reserved.