ประเทศฮอลแลนด์
ได้ค้นพบหลักและคุณสมบัติของเลนส์นูนและเลนส์เว้า
เมื่อกาลิเลโอทราบข่าวเขาจึงนำหลักการนี้มาใช้สร้างกล้องโทรทรรศน์
เพื่อใช้ในการส่องดูสิ่งที่อยู่ในอวกาศ อย่างไรก็ตามกล้องของกาลิเลโอยังมีข้อบกพร่อง
คือ เขาใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์เว้า ทำให้ภาพที่เห็นมีความแคบ
เคปเลอร์ได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นโดยใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์นูน
ทำให้เขาสามารถเห็นภาพได้กว้างขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาความคลาดเคลื่อนทรงกลม และความคลาดเคลื่อนสี ต่อมานิวตันได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้กระจกเว้าแทนเลนส์
ซึ่งแก้ปัญหาความคลาดสีได้ เขานับเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ โดยใช้หลักการสะท้อนของแสง
อีก 50 ปีต่อมา จอห์น ฮาร์ดลี่ ได้แก้ปัญหาการคลาดทรงกลมได้โดยใช้ผิวสะท้อนแสงเป็นผิวโค้งแบบพาราโบลา
ทำให้กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง
ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เลนส์วัตถุทำหน้าที่รับแสงจากวัตถุที่อยู่ไกลๆแล้ว
เกิดภาพที่จุดโฟกัสและ เลนส์ตาทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุ
ถ้ามีความยาวโฟกัสสั้น จะทำให้มองเห็นภาพได้โตกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว
กล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่ใช้เลนส์ตาเป็นเลนส์เว้าได้ภาพเสมือนหัวตั้งขนาดขยาย
และแบบเลนส์ตาเป็นเลนส์นูน จะได้ภาพจริงหัวกลับขนาดขยาย
กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา
ขนาดเลนส์ 40 นิ้ว มีความยาวโฟกัส 63 ฟุต
กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง
ใข้กระจกเว้าแทนเลนส์วัตถุ แลัวใช้เลนส์ตาขยายภาพอีกครั้ง
แบ่งเป็นหลายแบบตามลักษณะของโฟกัส
กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่โซเวียต
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 236 นิ้ว
|