เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง
ได้แก่ หลอดไฟฟ้าธรรมดา หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดนีออน
เป็นต้น
หลอดไฟฟ้าธรรมดา
โธมัส
เอดิสัน เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟเป็นครั้งแรก โดยใช้คาร์บอนเส้นเล็ก
เปนไส้หลอด ปัจจุบันใช้ทังสเตน เพราะเป็นโลหะที่หาง่าย
ราคาไม่แพง มีจุดหลอมเหลวสูง คือ 3,300 องศาเซลเซียส
จึงไม่ขาดง่าย็
หลักการทำงาน
พลังงานไฟฟ้าผ่านไส้หลอด จะเกิดความร้อนจัดจนเปล่งแสงสว่างออกมา
การเปลี่ยนรูปพลังงาน
พลังงานไฟฟ้า
พลังงานความร้อน
พลังงานแสง
หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดเรืองแสง
หลอดฟลูออเรสเซนต์
มีลักษณะเป็นหลอดแก้ว ฉาบภายในฉาบด้วยสารเรืองแสง
สูบอากาศออกจนหมด แล้วบรรจุไอปรอท มีไส้หลอดที่ปลายทั้ง
2 ข้าง ทำด้วยโลหะทังสเตน หรือวุลแฟรม
การทำงานต้องมีอุปกรณ์ช่วย
ได้แก่
สตาร์ตเตอร์(starter)
ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์อัตโนมัติ ในขณะที่หลอดเรืองแสงยังไม่ติด
และจะหยุดทำงานเมื่อหลอดติดแล้ว โดยต่อขนานเข้าในวงจร
แบลลัสต์(ballast) ทำหน้าที่เพิ่มความต่างศักย์ให้หลอดเรืองแสงติดในตอนแรก
และ ทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟฟ้าให้ผ่านหลอดลดลงเมื่อหลอดติดแล้ว
โดยต่อแบบอนุกรมเข้าในวงจร
ข้อดีของหลอดเรืองแสง
ให้แสงที่เย็นตากว่าหลอดไฟธรรมดา
ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟธรรมดา
อุณหภูมิไม่สูงเหมือนหลอดไฟธรรมดา
หลอดไฟนีออนหรือหลอดไฟโฆษณา
ลักษณะเป็นหลอดแก้วยาว
ดัดเป็นตัวอักษรหรือรูปต่างๆ สูบอากาศออกเป็นสูญญากาศ
แล้วใส่ก๊าซที่ให้สีต่างๆ เป็นหลอดที่ไม่มีไส้หลอด
แต่ใช้ขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยโลหะติดอยู่ที่ปลายทั้ง2ข้าง
ใช้กับไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ประมาณ 10,00 โวลต์
เช่น ก๊าซนีออน ให้แสงสีแดง ก๊าซฮีเลียม
ให้แสงสีชมพู ก๊าซอาร์กอน ให้แสงสีขาวอมนำเงิน
เป็นต้น
|