ศาลาราย
ศาลารายล้อมลานวัดทั้งข้างใน (รอบพระอุโบสถ ) และข้างนอก
(แต่กำแพงสกัดออกไป) ของเดิมไม่มีเฉลียงลด ก่อล้อมเป็นช่องกุฎ
(ช่องที่ทำเป็นเขาจำลอง) รื้อก่อใหม่ในรัชกาลที่ ๓
ต่อเฉลียงออกไปรอบตัวลดพื้นที่เป็นสองชั้นแต่สามด้าน
(คือด้านหน้าและด้านสกัดทั้งสองด้าน)
ศาลารายคู่หน้าพระมหาเจดีย์
ศาลาคู่นี้อยู่ระหว่างพระมหาเจดีย์และพระอุโบสถ
ศาลารายหลังเหนือจารึกตำรานวดแผนโบราณ
มีจิตรกรรมรายเส้นบอกตำแหน่งนวด จารึกอยู่ที่คอสองเฉลียงลดมีจำนวน
๓๒ แผ่น ด้านหลังจารึกสุภาษิตพระร่วง (ปฐมสุภาษิตของไทย)
กฤษณาสองน้องคำฉันท์ และภาพเขียนขบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค
ศาลารายรอบวัด
มีจำนวน ๑๖ หลัง คอสองเฉลียงและคอสองในประธาน มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเอกนิบาตชาดก
(พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ) เขียนศาลาละ ๓๖ เรื่อง
ศาลาทศชาติอยู่ด้านทิศใต้ของศาลาการเปรียญ ในศาลารายแต่ละหลัง
นอกจากมีจิตรกรรมแล้วก็ยังมีภาพสลักไม้ในวรรณคดีพระอภัยมณี
และชีวิตพื้นบ้านทั่วไป ส่วนฤษีดัดตนนั้นเคยอยู่ในช่องกุฎของศาลา
ปัจจุบันนี้ยังอยู่ ดูวิธีการจัดหินสวนเขาแบบย่อได้ที่ศาลาหมอนวดคู่หน้าวัด
และที่โรงเรียนวัดพระเชตุพนตามช่องกุฎเล็กท้ายศาลาและหัวศาลา
มีรูปปั้นคนต่างภาษา ๓๒ รูป ปัจจุบันเหลือ ๒ ภาษา
คือ ญี่ปุ่นชาวโอกินาวาและชาวจีนซัวเถา
นอกจาก
ที่อยู่ตามศาลาแล้วยังมีจิตรกรรมหลังบานหน้าต่างพระวิหารทิศ
เช่น ภาพเกี่ยวกับการแต่งกายของคน ๑๒ ภาษา และรูปลั่นถัน
นักรบจีน หลังบานหน้าต่างพระวิหารทิศ สำหรับรูปภาพ
๑๒ ภาษา มีขุนนางฝรั่งเศส สเปน อังกฤษ ญี่ปุ่น (ภาพนักรบลิ่วขิ่ว)
เป็นต้น ศาลารายด้านทิศตะวันออก (ถนนสนามไชย) สองหลังปัจจุบันเป็นสถานที่เรียนฝึกสอนนวดแผนโบราณและนวดสมุนไพร
จารึกที่รวมอยู่ในศาลารายนี้
นับเป็นบันทึกที่รวบรวมสรรพวิชาทั้งการแพทย์ การเมือง
การปกครอง (ฉันท์พาลีสอนน้อง) ประวัติการสร้างวัด
วรรณคดี สำหรับผู้ที่รอบรู้ภาษาไทยแตกฉาน แล้วน่าสนุกกับการอ่านจารึกต่างๆ
ที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยสมัยรัตนโกสินทร์ทีเดียว
|