พระวิหารทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
นามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์” (
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิ์)
ต่อมารัชกาลที่ ๔ ถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัย
อภัยปร-ปักษ์อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร” มุขหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง
๑๐ เมตร หล่อด้วยสำริดอัญเชิญมาจาก วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่ามานามว่า
“พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์” และมีแผ่นศิลาจารึกการสถาปนาวัดโพธิ์ที่ผนังด้านตะวันตกซุ้มประตูหิน(แบบจีน)หน้าพระพุทธโลกนาถบางท่านเรียกว่า “โขลนทวาร”
(ประตูป่าหรือประตูสวรรค์) เข้าใจว่านำมาจากประเทศจีน
พระวิหารทิศใต้
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา อัญเชิญมาจากกรุงเก่านามว่า
“พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”
พระวิหารทิศตะวันตก
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก อัญเชิญมาจากลพบุรีนามว่า
“พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรกดิลกภพบพิตร”
พระวิหารทิศเหนือ
ประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่า “พระพุทธปาลิไลย
ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร “ เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในรัชกาลที่
๑ เพียงองค์เดียวเท่านั้น
พระวิหารคด
ตั้งอยู่มุมกำแพงรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน
ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นามว่า พระวิหารคดพระฉาย
(คดเณรเต่อ)
ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ นามว่า "พระวิหารคดพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน"
ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นามว่า พระวิหารคดหน้าแดง
ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ นามว่า พระวิหารคดสมอ (คดกรมหลวงชุมพร)
|