สรรพศิลป์
สรรพศาสตร์ ในวัดโพธิ์ ซึ่งบุรพมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
รัชสมัยรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้บูรณะปฏิสังขรณ์รวมกาลสมัยของ ๒ พระองค์ นานถึง
๒๕ ปี ดังนั้น การเข้าไปเที่ยวชมแต่ละครั้ง
ที่เรามีเวลาอย่างน้อยครั้งละ
๒ - ๓ ชั่งโมงนั้น นับเป็นการชมอย่างกวาดตา หากจะพินิจพิเคราะห์หยั่งลึกลงไปถึงแก่นแท้แห่งภูมิปัญญาช่างศิลป์ไทยกันแล้ว
นับว่าชั่วชีวิตกันทีเดียว
พระอุโบสถ
ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมา หรือพระอุโบสถ
เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุด ถ้าวัดใดไม่มีอุโบสถ
หรือมีอุโบสถแต่ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมาจะเป็นวัดที่สำคัญยังไม่ได้
พระอุโบสถสร้างสมัยรัชกาลที่
๑ ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัยรัชกาลที่
๓ ซุ้มจรณัมประจำประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วย ไม้แก่น
ยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทอง ประดับกระจก บานประตูพระอุโบสถ
ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่อง รามเกียรติ์
ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร
ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ ๓ ชั้น
ชั้นที่ ๑ บรรจุพระบรมอัฐิ และพระราชสรีรังคารรัชกาลที่
๑ ไว้ ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชีชั้นล่างสุดประดิษฐานพระมหาสาวก
๘ องค์ (พระอรหันต์ ๘ ทิศ)จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต(มหาบัณ-ฑิตแห่งมิถิลานคร) คอสองในประธานทั้งสองข้าง
เขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ
๔๑ องค์บานหน้าต่างด้านใน เขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่ง
เจ้าคณะสงฆ์ในกรุงและหัวเมือง
สมัยรัชกาลที่ ๓ ด้านนอกแกะสลักเป็น ลายแก้วชิงดวง
|