2.2
สิ่งเจือปนในอาหารโดยเจตนา อาหารที่บริโภคบางอย่างอาจใส่สิ่งปรุงแต่งลงไปโดยมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง
เช่น รักษาคุณภาพอาหารให้เก็บไว้ได้นาน สารบางอย่างใส่ให้เกิดรส สี กลิ่น
ตามความต้องการหรืออาจทำให้อาหารกรอบน่ารับประทาน
ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางการค้าเป็นสำคัญ สารเจือปนที่สำคัญ
ได้แก่ 2.2.1 สารปรุงแต่งสี สีสังเคราะห์ทุกชนิด
ถือเป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
และเมื่อสะสมอยู่ในปริมาณมากทำให้เกิดอันตราย จึงจำเป็นต้องใช้ในปริมาณที่จำกัด
นอกจากนี้ ต้องไม่มีสารที่ทำให้เกิดพิษ หรือมีโลหะต่างๆ เจือปน
ควรใช้สีสังเคราะห์ที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาต หรือ เป็นสีจากธรรมชาติ เช่น
สีดำจากผงถ่าน สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น สีเขียวจากใบเตย เป็นต้น
2.2.2 สารปรุงแต่งรส
ได้แก่ - สารสังเคราะห์รสหวาน หรือ น้ำตาลเทียม
เป็นสารอนินทรัย์ที่สังเคราะห์ขึ้น มีความหวานกว่าน้ำตาลมาก รู้จักกันทั่วไปว่า
ขัณฑสกร สารเหล่านี้ไม่มีคุณค่าในการให้พลังงานแต่อย่างใด
อาจทำให้ท้องเสียได้ - สารชูรส มีผู้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ทำให้อาหารอร่อย บดบังกลิ่นที่ไม่ต้องการ เรามักเรียกว่า ผงชูรส
ในอดีตวัตถุดิบราคาแพงจึงมีการปลอมปนกันมาก แต่ปัจจุบันราคาถูการปลอมปนจึงลดลง
บางคนที่แพ้ผงชูรสอาจมีอาการมึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ
เป็นต้น - น้ำส้มสายชู ในท้องตลาดเป็นน้ำส้มสายชูเทียม
บางแห่งมีการปลอมปนโดยใช้กรดกำมะถันเจือจาง
ซึ่งมีอันตรายต่อกระเพาะอาหารและลำไส้มาก - น้ำปลา
เนื่องจากผู้ผลิตบางรายพยายามลดต้นทุนการผลิต
โดยใช้เกลือต้มและเจือปนวัตถุบางอย่าง ทำให้คุณภาพลดลง
และอาจเป็นอันตรายได้
|