การจัดการของเสีย

 

Homeผู้จัดทำมลภาวะ  คือมลพิษทางอากาศมลพิษทางน้ำมลพิษทางเสียงมลพิษจากขยะมลพิษจากของเสียอันตรายมลพิษทางอาหารแบบทดสอบ ก่อน- หลังเรียน

 

 

ประเภทของของเสีย 
ผลกระทบ 
การจัดการของเสีย 

 

 

 การจัดการของเสียอันตราย
       1. ชุมชนควรแยกของเสียอันตรายออกจากขยะประเภทอื่น และนำไปทิ้งในที่หน่วยงานภาครัฐจัดไว้ให้เฉพาะ
       2. เร่งจัดทำศูนย์กำจัดของเสียอันตรายจากชุมชน
       3. ผู้ที่มีหน้าที่กำจัดของเสียอันตราย ควรมีระบบการขนส่งและเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายที่ปลอดภัย ไม่มีการรั่วไหลระหว่างทาง
       4. ของเสียจากภาคอุตสาหกรรมควรนำไปกำจัดในสถานที่กำจัดของเสียอันตรายโดยเฉพาะ เช่น ศูนย์กำจัดของเสียอันตรายที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน ปัจจุบันมีอยู่ 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมแสมดำ กรุงเทพฯ และศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง
       5. เข้มงวดกับมาตรการทางกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตอื่นๆ มีกระบวนการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย และกำจัดของเสียอันตรายอย่างถูกสุขลักษณะ
       6. ของเสียอันตรายจากสถานพยาบาล ควรมีวิธีเก็บขนที่ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค เช่น ใช้รถเก็บขนที่ควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส และนำไปเผาในเตาเผาขยะติดเชื้อโดยเฉพาะ
       7. ให้ความรู้แก่ประชาชนให้มีความเข้าใจในอันตรายจากของเสียอันตรายประเภทต่างๆ รวมถึงวิธีการจัดเก็บของเสียเหล่านั้นให้ปลอดภัย
       8. รณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้สินค้าที่ก่อให้เกิดของเสียอันตราย เช่น ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ง่าย และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
       9. จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินอันเนื่องมาจากของเสียอันตราย และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาตม พ.ศ. 2550

จัดทำโดยครูสุรีพร จิตต์ซื่อ
โรงเรียนอนุบาลศรีนคร(ไทยธัญญานุกูล) อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
 Copyright (c) Ms.Sureeporn Jittsue. All rights reserved.