ลำไส้ใหญ่

 

 

Homeผู้จัดทำระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบการหมุนเวียนเลือดระบบหายใจ

 

 

หน้าที่ของลำไส้ใหญ่ 
ทวารหนัก 

 

 

  


            สำไส้ใหญ่  มีความยาวประมาณ  1.50 เมตร  กว้างประมาณ  6  เซนติเมตร  แบ่งออกเป็น  3  ส่วนคือ

    
ซีกัม  (Caecum)  เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้น  ยาวประมาณ  6.3-7.5 เซนติเมตร  มีไส้ติ่ง  (Appendix)  ยื่นออกมาขนาดราวนิ้วก้อย  (ยาวประมาณ  3  นิ้ว)  เหนือท้องน้อย  ทางด้านขวา  ไส้ติ่งถือว่าเป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่ง  ในสัตว์กินพืชจะมีขนาดยาว  ทำหน้าที่ช่วยในการย่อยอาหารในคนไม่มีประโยชน์  ถ้าอักเสบต้องรีบผ่าตัดออกโดยเร็ว

   โคลอน  (Colon)  เป็นส่วนที่ยาวที่สุด  แบ่งออกเป็น  3  ส่วนย่อย คือ

                โคลอนส่วนขึ้น  (AscendingColon)  เป็นส่วนของโคลอนที่ยื่นตรงขึ้นไปเป็นแนวตั้งฉากทางด้านขวาของช่องท้อง  ยาวประมาณ  20 เซนติเมตร

                 โคลอนส่วนขวาง  (Transverse Colon)  เป็นส่วนที่วางพาดตามแนวขวางของช่องท้องยาวประมาณ  50 เซนติเมตร

                โคลอนส่วนล่าง  (Descending Colon)  เป็นส่วนที่วิ่งตรงลงมาเป็นแนวตั้งฉากทางด้านซ้ายของช่องท้อง  ยาวประมาณ  30 เซนติเมตร

     ไส้ตรง  (Rectum)  เป็นส่วนปลายของลำไส้ใหญ่  มีลักษณะเป็นท่อตรง  ยาวประมาณ  15 เซนติเมตร  ตรงปลายของไส้ตรงจะเป็น  ทวารหนัก  (Anus)  โดยมีกล้ามเนื้อหูรูด  2  อัน  ควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก กล้ามเนื้อหูรูดด้านใน  ถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ  ไม่อยู่ใต้บังคับของจิตใจ  ส่วนกล้ามเนื้อหูรูดด้านนอกอยู่ใต้บังคับของจิตใจ  และสำคัญมากในการควบคุมการปิดเปิดของทวารหนัก

 

 

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จัดทำโดยครูสมศักดิ์ บุญสนอง
โรงเรียนบ้านคลองตาล(กระจ่างจินดา)
อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
copyht {c} 2007 Mr.Somsak Boonsanong.All rights reserved.