มาตรฐาน OSI  
 

องค์กรมาตรฐานสากล ISO (International Organization for Standardization) ได้ทำการศึกษาและหาแนวทางในการกำหนดมาตรฐานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในระบบเครือข่าย โดยตั้งชื่อมาตรฐานด้านเครือข่ายว่า OSI (Open System Interconnection) เพื่อให้เครือข่ายที่ถูกสร้างจากบริษัทที่แตกต่างกัน สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารถึงกันได้อย่างไม่มีปัญหา โดยการแบ่งตามโครงสร้างลักษณะการส่งผ่านข้อมูลออกเป็นชั้นๆ ทั้งหมดได้ 7 ชั้น (Layer)

1. ระดับกายภาพ (Physical Layer) เป็นระดับต่ำสุด จะมองในแง่ของสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งข้อมูลระหว่างกัน รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อจริงๆ อุปกรณ์ระดับนี้เช่น สาย UTP, Hub, Repeater

2. ระดับเชื่อมโยงข้อมูล (Data Link Layer) เป็นระดับที่ใช้รับส่งข้อมูลผ่านตัวกลาง (Media) และจัดรูปแบบของเฟรม (Frame) เพื่อเชื่อมต่อกับระดับที่ 3 ระดับเชื่อมข้อมูลยังแบ่งออกเป็นสองชั้นย่อยคือ Logical Link Control (LLC) และ Media Access Control (MAC) อุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่น Bridge, Switch

3. ระดับเครือข่าย (Network Layer) เป็นระดับที่มองข้อมูลที่แพ็กเกจ (Package) โดยที่แพ็กเกจอาจจะใหญ่หรือเล็ก จะเป็นข้อมูลที่ถูกซอยย่อยให้ส่งไปในเครือข่าย ซึ่งข้อมูลบางส่วนในแพ็กเกจ ใช้เป็นตัวช่วยบอกเส้นทางที่แพ็กเกจนั้นเดินทางไป อุปกรณ์ที่ทำงานในชั้นนี้ เช่น Router, Switch Layer3

4. ระดับขนถ่าย (Transport Layer) เป็นระดับที่ใช้ในการควบคุมความผิดพลาดในการรับ-ส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทาง

5. ระดับเปิด-ปิด (Session Layer) เป็นระดับที่ใช้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับช้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดการสื่อสาร

6. ระดับปรับข้อมูล (Presentation Layer) เป็นระดับที่ดูแลเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างแอพลิเคชั่นของคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ในเครือข่าย

7. ระดับประยุกต์ (Application Layer) เป็นระดับที่จัดการเกี่ยวกับแอพลิเคชั่น เช่น การเข้าถึงฐานข้อมูล หรือการรับ-ส่งอีเมล์

มาตรฐาน OSI เป็นมาตรฐานที่ถูกองในทางอุดมคติมากกว่า ส่วนมากทำให้เราทราบว่า อุปกรณ์แต่ละตัวทำงานอยู่ในชั้นใด ทำให้มทองภาพเครือข่ายกว้างๆ ได้

 

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/20/wired/5/osi-peer-to-peer.gif

 

http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech04/20/wired/n05.html

 

 
ไปบนสุด