|
|
|
ต้นไม้เมื่อมีอายุมากขึ้นขนาดของลำต้นจะสูงและใหญ่โตขึ้น
มีการแตกกิ่งก้านสาขามากขึ้น
ซึ่งเกิดจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก
ปลายยอด ตาดอก ตาใบ
ทำให้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น
ที่ปลายราก
เมื่อเซลล์แบ่งตัวแล้วบริเวณที่อยู่ถัดขึ้นไปจะเป็นบริเวณที่เซลล์มีการยืดตัวเป็นผลให้รากยาวขึ้น
ในส่วนปลายของลำต้นก็มีลักษณะเดียวกันคือ
ส่วนที่อยู่ปลายสุดเป็นบริเวณที่เซลล์มีการแบ่งตัวและบริเวณที่อยู่ถัดลงมาก็เป็นบริเวณที่เซลล์มีการยืดตัว
ทำให้ปลายยอดยืดยาวขึ้น
เซลล์บริเวณนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นต้น
(Primary
meristem)ทำให้เกิดการเจริญเติบโตขั้นต้น
(Primary growth)
และการเจริญเติบโตขั้นที่สอง(Secondary
growth) เป็นลำดับไปดังนี้
การเจริญเติบโตของราก (Growth of
root)
1. การเจริญเติบโตขั้นต้นของราก
(Primary growth of root)
การเจริญเติบโตขั้นต้นของรากเป็นการเพิ่มความยาวของเนื้อเยื่อเจริญปลายรากมี3
กลุ่ม คือ
โพรโทเดิร์ม (Protoderm)
เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่อยู่นอกสุด
กลุ่มเซลล์เหล่านี้อยู่บริเวณที่เรียกว่าเซลล์ยืดตัวและขยายขนาดแล้วค่อย
ๆ
เปลี่ยนแปลงต่อไปจนกระทั่งเป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เรียกว่า
เอพิเดอร์มิส (Epidermis)
เป็นเซลล์เรียงตัวชั้นเดียวอยู่นอกสุด
กราวด์เมอริสเต็ม (Ground
meristem)
เป็นเนื้อเยื่อพื้นทั่วไปจะเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ในชั้น
คอร์เทกซ์ (Cortex) และ เอนโดเดอร์มิส
(Endodermis)
โพรแคมเบียม (Procambium)
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในสุดของรากซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเพอริไซเคิล
(Pericycle) วาสคิวลาร์ แคมเบียม
(Vascular cambium)
โฟลเอ็มขั้นต้น (Primary phloem)
และไซเลมขั้นต้น
(Primary xylem)
1.1
การเจริญเติบโตขั้นต้นของรากพืชใบเลี้ยงคู่
รากในบริเวณที่มีขนรากหรือเหนือบริเวณนี้ขึ้นไปเล็กน้อยประกอบด้วยเนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ
(Primary permanent tissue)
ถ้าตัดตามขวางดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ประกอบด้วยเนื้อเยื่อจากด้านนอกเข้าไปด้านในดังนี้
1.1.1 เอพิเดอร์มิส (Epidermis)
เป็นเนื้อเยื่อปฐมภูมิที่เปลี่ยนแปลงมาจาก
โพรโทเดิร์ม
เป็นเซลล์แถวเดียวอยู่ชั้นนอกสุดของราก
มีคิวติน (Cutin)
เคลือบอยู่บนผนังชั้นนอกของเซลล์
ทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อภายใน
1.1.2 คอร์เทกซ์ (Cortex)
เป็นอาณาเขตที่อยู่ถัดจากเอพิเดอร์มิสเข้าไปข้างในจนถึงเอนโดเดอร์มิส
คอร์เทกซ์ที่ยังอ่อนอยู่ทำหน้าที่รับน้ำที่ขนรากดูดซึมเข้ามาผ่านไปยังไซเลม
1.1.3 เอนโดเดอร์มิส (Endodermis)
มีแถวเดียวเรียงติดต่อเป็นวงรอบภายใน
คอร์เทกซ์
มีผนังหนาเป็นแนวทั้งด้านรัศมีและด้านขวางเป็นแถบ
เรียกว่าแคสพาเรียน สตริป (Casparian
strip) มีสารพวก ซูเบอริน (Suberin)
หรือ ลิกนิน(Lignin)
มาพอกทำให้ยับยั้งการเคลื่อนที่ของน้ำและเกลือแร่ที่รากดูดเข้าสู่ไซเลม
1.1.4 สตีล (Stele)
เป็นอาณาเขตภายในรากที่อยู่ถัดจากเอนโดเดอร์มิสเข้าไปทั้งหมด
เปลี่ยนแปลงมาจากโพรแคมเบียม
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดดังนี้เพอริไซเคิล
(Pericycle)
เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาเรียงเป็นวง 1
ชั้น หรือ2 ชั้น
จัดเป็นชั้นที่อยู่ต่อจากชั้น
เอนโดเดอร์มิสเข้าไปและจะเปลี่ยนตัวเองเป็นเนื้อเยื่อเจริญ
ทำการแบ่งตัวทำให้เกิดรากแขนงและเจริญไปถึงการเจริญขั้นที่สองต่อไปโฟลเอ็มขั้นต้น
(Primary phloem) ถูกสร้างมาจาก
แคมเบียมเพื่อ
ลำเลียงอาหารวาสคิวลาร์
แคมเบียม (Vascular cambium)
มีเนื้อเยื่อเจริญเรียงตัว1
ชั้นเรียงไปตามผิวของไซเลม
ไซเลมขั้นต้น(Primary
xylem)ประกอบด้วย
ไซเลมเรียงตัวเป็นแฉก(Arch)
อยู่ตรงกลางพิธ (Pith)
จะไม่ค่อยพบเพราะส่วนมากจะเป็นส่วนของไซเลม
เต็มไปหมด
แต่จะพบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
|
สรุปการเจริญเติบโตขั้นต้นของรากพืชใบเลี้ยงคู่
|
|
1.2
การเจริญเติบโตขั้นต้นของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
การเจริญเติบโตของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ต่างกับพืชใบเลี้ยงคู่ที่ชั้นของสตีลจะไม่มี
เพอริไซเคิลและวาสคิวลาร์ แคมเบียม
แต่ตรงกลางจะมี พิธ
เป็นพื้นที่กว้างชัดเจน |
|
สรุปการเจริญเติบโตขั้นต้นของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
|
|
|
|
ก่อนหน้า
|
หน้าหลัก
|
ถัดไป |
|
|