|
|
|
ลำต้น (Stem)
เป็นอวัยวะหรือส่วนของพืช
ซึ่งมักจะเจริญขึ้นเหนือดินในทิศทางต้านต่อแรงดึงดูดโลก
(Negative geotropism)
ซึ่งเป็นทิศทางที่เจริญตรงกันข้ามกับราก
ยกเว้นลำต้นบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเจริญตรงกันข้ามกับรากและลำต้นบางชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเจริญอยู่ใต้ดิน
ลำต้นยังเป็นที่เกิดของใบอีกด้วย
ในช่วงที่ลำต้นยังอ่อนอยู่มักจะมีสีเขียวเนื่องจากสีของคลอโรฟิลล
ลักษณะของลำต้นที่แตกต่างจากรากคือ
มีข้อ (Node) และปล้อง
(Internode)บริเวณที่เป็นข้อมักพบตา
(Bud) ที่จะเจริญต่อไปเป็นกิ่งหรือดอก
ในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
เห็นข้อปล้องได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น ต้นไผ่ มะพร้าว หมาก
หญ้า เป็นต้น
ส่วนในพืชใบเลี้ยงคู่จะเห็นปล้องในช่วงที่ลำต้นยังอ่อนอยู่
เมื่อลำต้นมีอายุมากขึ้นมีการสร้างคอร์กหุ้มทำให้มองไม่เห็นข้อปล้อง
1.
โครงสร้างภายในของลำต้น
ลำต้นถือว่าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของพืช
เช่นเดียวกับราก
ดังนั้นจึงมีเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ
เช่นเดียวกัน
แต่อาจแตกต่างกันในลักษณะการเรียงตัว
อีกทั้งพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ยังมีโครงสร้างภายในที่แตกต่างกัน |
|
|
|
1.1
โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
เมื่อนำลำต้นอ่อนของพืชใบเลี้ยงคู่มาตัดตามขวางแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่ามีเนื้อเยื่อชั้นต่าง
ๆ
อยู่เรียงตั้งแต่ชั้นนอกเข้าไปชั้นในได้ดังนี้
1.1.1 เอพิเดอร์มิส
อยู่ด้านนอกสุดปกติมีอยู่เพียงแถวเดียวอาจเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์คุม
(Guard cell) ขน หรือหนาม ด้านนอกของ
เอพิเดอร์มิส
มีคิวทิน เคลือบอยู่
1.1.2 คอร์เทกซ์ ชั้น
คอร์เทกซ์ ของลำต้นแคบกว่าของราก
เซลล์ในชั้นคอร์เทกซ์
ส่วนใหญ่เป็นเซลล์พาเรงคิมา
(Parenchyma
เป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่
ประกอบด้วย Parencyma cell
หมายความว่า
คำเดียวกันอาจใช้เป็นชนิดของเซลล์
หรือชนิดของเนื้อเยื่อก็ได้)
เซลล์บริเวณด้านนอก 2-3 แถว
ที่อยู่ติดกับ เอพิเดอร์มิส
เป็นเซลล์คอลเลงคิมา
ที่ช่วยให้ลำต้นมีความแข็งแรงขึ้น
และมีเนื้อเยื่อที่ สเกลอเรงคิมา
แทรกอยู่ทั่ว ๆ ไป
ในระยะแรกที่ลำต้นยังอ่อนอยู่
พาเรงคิมา อาจมี คลอโรพลาสต์
ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง
เรียกเซลล์นี้ว่า คลอเรงคิมา
(Chlorenchyma)
การแตกกิ่งของลำต้นแตกมาจากชั้น
คอร์เทกซ์ ชั้นคอร์เทกซ์นี้สิ้นสุดที่
เอนโดเดอร์มิส
ในลำต้นพืชส่วนใหญ่จะเห็น
เอนโดเดอร์มิสได้ไม่ชัดเจนหรืออาจจะไม่มี
ต่างจากรากที่เห็นได้อย่าง
ชัดเจนเมื่อลำต้นเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น
เซลล์ พาเรงคิมา หรือ
คอลเลงคิมาในชั้นคอร์เทกซ์
จะแปรสภาพเป็น คอร์กแคมเบียม (Cork
cambium) ซึ่งจะแบ่งตัวตลอดเวลาให้
คอร์ก หรือ เฟลเลม (Phellem)
ทางด้านนอก
เซลล์เหล่านี้มีอายุสั้นมากและตายเร็วและมีสารพวก
ซูเบอริน หรือ ลิกนิน มาสะสม
ทำให้ชั้น คอร์ก
หนาขึ้นและดันเอพิเดอร์มิส
ให้หลุดร่วงไป
1.1.3 สตีล
ในลำต้นชั้นนี้จะกว้างมากไม่สามารถแบ่งแยกออกจากคอร์เทกซ์ได้ชัดเจน
ซึ่งแตกต่างจากรากที่แบ่งชั้นเห็นได้ชัดเจนกว่า
ชั้นนี้มี
ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1)
วาสคิวลาร์บันเดิลหรือมัดท่อลำเลียง
ประกอบด้วยเนื้อเยื่อไซเลมอยู่ด้านในและโฟลเอ็มอยู่ด้านนอก
มัดท่อลำเลียงจะเรียงตัวอยู่ในแนวรัศมีเดียวกันและเรียงอยู่รอบลำต้นอย่างมีระเบียบระหว่างเนื้อเยื่อทั้งสองชนิดมี
วาสคิวลาร์แคมเบียมอยู่ตรงกลางในพืชใบเลี้ยงคู่
2) พิธ
เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของลำต้น
เนื้อเยื่อส่วนนี้คือ
พาเรงคิมาทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้งหรือสารอื่น
ๆ เช่น ลิกนิน ผลึกแทนนิน (Tannin)
เป็นต้น
1.2
โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตขั้นต้น
(Primary
growth)เท่านั้นมีเนื้อเยื่อชั้นต่าง
ๆ เช่นเดียวกับลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
คือ มีชั้นเอพิเดอร์มิสคอร์เทกซ์ และ
สตีล
ต่างกันที่มัดท่อลำเลียงรวมกันเป็นกลุ่ม
ๆ ประกอบด้วยเซลล์ค่อนข้างกลมขนาดใหญ่
2 เซลล์ ได้แก่ไซเลม และมีเซลล์เล็ก ๆ
ด้านบนคือ
โฟลเอ็มส่วนทางด้านล่างของไซเลมเป็นช่องกลม
ๆ เช่นกันคือช่องอากาศ
กลุ่มท่อลำเลียงจะกระจายอยู่ทุกส่วนของลำต้น
แต่จะมีปริมาณรอบนอกมากกว่าภายใน
มัดท่อลำเลียงไม่มีเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างหรือ
แคมเบียมจึงทำให้การเจริญด้านข้างมีความจำกัด
มักจะเจริญทางด้านสูงมากกว่าเพราะมีเนื้อเยื่อเจริญข้อและปล้องทำให้ยืดยาวได้ดีกว่า
พืชบางชนิดเนื้อเยื่อตรงกลางจะสลายไปเป็นช่องกลวงภายในของลำต้น
เรียกว่า ช่องพิธ
(Pith cavity) เช่นในลำต้นของต้นไผ่
หญ้า
เป็นต้นมีพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
เช่น จันทน์ผา หมากผู้หมากเมีย
จะมีแคมเบียม
เป็นเนื้อเยื่อเจริญคล้ายลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่
ทำให้เจริญเติบโตทางด้านข้างได้และสามารถสร้าง
คอร์กได้เมื่อมีอายุมากขึ้นในลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ที่มัดท่อลำเลียงจะมี บันเดิลชีท
(Bundle sheath)
ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพวก
พาเรงคิมา ที่มีแป้งสะสม
หรืออาจเป็นเนื้อเยื่อ สเกลอเรงคิมา
มาหุ้มล้อมรอบเอาไว้ |
|
เปรียบเทียบลักษณะที่แตกต่างระหว่างลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว |
|
|
|
|
|
|
|
ก่อนหน้า
|
หน้าหลัก
|
ถัดไป |
|
|