|
|
|
|
หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตที่แสดงสมบัติของชีวิตได้คือ
เซลล์
(Cell)เซลล์ที่มีรูปร่างลักษณะเหมือน
ๆ กัน
ทำหน้าที่อย่างเดียวกันคือเนื้อเยื่อ
(Tissue) เนื้อเยื่อหลาย ๆ
ชนิดร่วมกันทำงานทำให้เกิด
อวัยวะ (Organ) อวัยวะหลาย ๆ
อย่างร่วมกันทำงานเกิดเป็นระบบอวัยวะ
(Organ system)
นั่นหมายถึงสัตว์เป็นส่วนใหญ่แต่สำหรับพืชมีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ออกไปตั้งแต่ระดับเซลล์
ไม่ว่าจะเป็นผนังเซลล์แวคิวโอล
คลอโรพลาสต์ ซึ่งไม่พบในสัตว์
ส่วนในระดับเนื้อเยื่อของพืชยิ่งมีความแตกต่างจากเนื้อเยื่อของสัตว์ออกไปอีก
เนื้อเยื่อของพืชดอก (Plant
tissue)
เนื้อเยื่อของพืชชั้นสูง
(Plant tissue)
หรือเนื้อเยื่อของพืชดอก
แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้เป็น
2 ประเภท คือ
1.
เนื้อเยื่อเจริญ
(Meristematic tissue หรือ
Meristem)
(คำว่า Meristem
มาจากภาษากรีก Meristos
แปลว่า แบ่งได้)
เนื้อเยื่อเจริญ
หมายถึงเนื้อเยื่อที่มีเซลล์กำลังแบ่งตัวแบบไมโทซิส
(Mitosis)
เพื่อสร้างเซลล์ใหม่พบมากตามบริเวณปลายยอดหรือปลายราก
ลักษณะเด่นของเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญคือ
เซลล์ยังมีชีวิตอยู่
มีโพรโทพลาซึมที่ข้นมาก
ผนังเซลล์ (Cell wall)
บางและมักเป็นสารประกอบเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่
ภายในเซลล์
เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและมีขนาดใหญ่
เมื่อเปรียบเทียบกับไซโทพลาซึม
มีแวคิวโอล
ขนาดเล็กหรือเกือบไม่มีแวคิวโอล
เซลล์มีรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ
แต่ส่วนใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม
หรือมีลักษณะหลายเหลี่ยม
ทุกเซลล์แบ่งตัวได้
แต่ละเซลล์อยู่ชิดติดกันมากทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์
(Intercellular space)
แทบจะไม่มี หรือไม่มีเลย
เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญยังมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่
ต่าง
ๆการเจริญเติบโตที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี
2 แบบ คือ
การเจริญเติบโตขั้นแรก
(Primary growth)
และการเจริญเติบโตขั้นที่สอง
(Secondary growth)
การเจริญเติบโต
ขั้นแรกจะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น
การเจริญเติบโตขั้นที่สอง
จะทำให้พืช
มีความกว้างเพิ่มขึ้น
เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น
3 กลุ่ม คือ |
|
|
1.1
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย
(Apical meristem)
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย
หรือเอพิคอลเมอริสเต็ม
เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือปลายราก
รวมทั้งที่ตา (Bud)
ของลำต้นของพืชเมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอดหรือปลายรากยืดยาวออกไป |
1.2
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ
(Intercalary
meristem)
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้อง
(Internode)
หรือเหนือข้อ(Node)
ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น
พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
เช่น หญ้าข้าว
ข้าวโพด
ไผ่ อ้อย เป็นต้น |
1.3
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง
(Lateral meristem)
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง
เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของรากหรือลำต้นทำการแบ่งตัวทำให้เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น
เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างทำให้เกิดการเจริญขั้นที่สอง
พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่ว
ๆไป
และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
เช่น
จันทน์ผา
หมากผู้หมากเมีย
เป็นต้น
เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าแคมเบียม
(Cambium)
ถ้าเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในกลุ่มของท่อลำเลียง
เรียกว่าวาสคิวลาร์แคมเบียม
(Vascular cambium)
หากเนื้อเยื่อเจริญนั้นอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก
ของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า
คอร์กแคมเบียม
(Cork cambium) |
|
|
|
|
2.
เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันไป
แยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2
ประเภทตามหน้าที่ดังนี้
2.1
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple
permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว
เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกัน
ทำหน้าที่อย่างเดียวกันแบ่งออกเป็นชนิดต่าง
ๆ ตามหน้าที่ได้ 2 ประเภท ดังนี้
2.1.1
เนื้อเยื่อป้องกัน (Protective
tissue) แบ่งเป็น 2
ประเภทคือ
1)
เอพิเดอร์มิส (Epidermis)
คือเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกสุดของส่วนต่าง
ๆ ของพืช มักเรียงตัวชั้นเดียว
ผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์
เซลล์มี
ลักษณะแบน มีแวคิวโอลขนาดใหญ่
เซลล์เรียงตัวอัดแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ผนังเซลล์ที่อยู่ด้านนอกมักหนากว่าผนังเซลล์ที่อยู่ด้านใน
มีคิวทิน (Cutin)
เคลือบผนังเซลล์มีการเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก
(Root hair) เซลล์คุม (Guard cell)
ขน (Trichome) และ ต่อม
(Gland)
เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันอันตรายให้แก่พืช |
|
|
|
ก่อนหน้า
|
หน้าหลัก
|
ถัดไป |
|
|