พลังงานก๊าซชีวภาพ (Bio-Gas)
การลงทุนผลิตก๊าซชีวภาพถือว่าต่ำการผลิตเชื้อเพลิงอื่นมาก และถสามารถนำมาทดแทนเชื้อเพลิงจากฟืน ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพเพียง 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถให้ค่าความร้อน3,000-5,000 กิโลแคลลอรี ซึ่งทำให้น้ำ 130 กิโลกรัม ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เดือดได้
ในประเทศอินเดียมีการใช้ก๊าซชีวภาพที่เรียกว่า “Gobar Gas” (หรือ Gober Gas) จากการหมักมูลวัวกันอย่างแพร่หลาย โดยประมาณการณ์ว่ามีคนอินเดียใช้ก๊าซนี้กว่า 2 ล้านครัวเรือนทีเดียว
การหมักก๊าซชีวภาพใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ ยังเป็นการกำจัดมูลและลดจำนวนแมลงรบกวน และกากที่เหลือจากการใช้งานยังนำไปทำปุ๋ยได้ดีกว่ามูลสัตว์สด ๆ เพราะมูลที่ผ่านการหมักแล้วจะเปลี่ยนสารประกอบไนโตรเจนภายในตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้มากขึ้น

ที่มา : http://eng.gougram.org/wp-content/uploads/2009/04/gobar-gas.jpg
ถังหมักก๊าซชีวภาพ |