พลังงานน้ำ เป็นการอาศัยหลักการของการเคลื่อนที่ของน้ำจากที่สูงสู่ที่ต่ำ โดยการสร้างเขื่อนหรือฝายเก็บกักน้ำ เมื่อเปิดประตูที่ปิดกั้นทางเดินของน้ำพลังงานศักย์ที่สะสมอยู่ จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ สามารถนำไปฉุดกังหัน และต่อเชื่อมเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าขึ้น
![เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์](water-images/Srinakarin-Dam.jpg)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์ (ภาพโดยครูทวีศักดิ์ ภู่ชัย)
โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่มีขีดความสามารถสูงในการรักษาความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากสามารถเดินเครื่องและเริ่มจ่ายไฟฟ้าได้ภายในเวลาเพียง 4-5 นาที เท่านั้น แต่การผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะดำเนินการได้ในช่วงที่สามารถปล่อยน้ำออกจากเขื่อนได้เท่านั้น ทั้งนี้ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่” เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าเข้าระบบที่สำคัญของประเทศดำเนินการโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
[1] อชิตพล ศศิธรานุวัฒน์. (2548). วิทยาศาสตร์พลังงาน. http://science.uru.ac.th/pro_doc/doc/13.doc.
16 พฤศจิกายน 2552.
[2] โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี. เทคโนโลยี กับพลังงานน้ำ.
http://www.hwn.ac.th/createwebpage%20for%20HWN/tech_app2_pbl.html. 18 พฤศจิกายน 2552
|