ช่วยเหลือผังเว็บไซต์เกมพลังงานผู้จัดทำ
หน้าหลัก > หน้าหลักเนื้อหา > ประวัติการค้นพบทางไฟฟ้า
 

ประวัติการค้นพบไฟฟ้า

           ไฟฟ้า หรือ Electricity ในภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า ēlectricus ในภาษากรีก เป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งประวัติความเป็นมาของไฟฟ้านั้น เท่าที่ได้ทราบกันมาเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ ที่กล่าวถึงปลาไฟฟ้า และการรักษาโรคด้วยปลาไฟฟ้า [1]

           แต่ในเรื่องราวของไฟฟ้าที่จะขอกล่าวอย่างจริงจังก็คือเรื่องราวการค้นพบไฟฟ้าของเทลีส (Thales) เมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล โดยเทลีสได้ค้นพบไฟฟ้าสถิตจากแท่งอำพัน เขาได้ให้ข้อสังเกตว่าเมื่อนำแท่งอำพันถูกับผ้าขนสัตว์ แล้ววางแท่งอำพันไว้ใกล้กับวัตถุชิ้นเล็กๆเช่น เศษไม้ จะทำให้เศษไม้เคลื่อนที่เข้าหาแท่งอำพัน นั่นคือแท่งอำพันจะมีอำนาจอย่างหนึ่งที่ดึงดูดวัตถุได้

 

 เทลีส
ภาพรูปปั้นของเทลีส ผู้ที่ได้ชื่อว่าค้นพบไฟฟ้าสถิตเป็นคนแรก
ที่มา - http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/45/Thales.jpg

กิลเบิร์ต
ภาพของวิลเลี่ยม กิลเบิร์ต ผู้บัญญัติศัพท์ Electricus
ที่มา - http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/87/William_Gilbert.jpg

             

           ต่อมาในราวปี พ.ศ.2143 (ซึ่งถ้าเทียบระยะเวลาการค้นพบของเทลีส นับว่าเป็นเวลานานมากเลยทีเดียว) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า วิลเลี่ยม กิลเบิร์ต (William Gilbert) ได้ทำการศึกษาผลที่เกิดจากการขัดสีแท่งอำพันอย่างละเอียด เขาจึงให้ชื่ออำนาจนี้ว่า Electricus ซึ่งมีความหมายถึง คุณสมบัติของการดึงดูดวัตถุเล็กๆ หลังจากการขัดสี และเรียกในภาษาอังกฤษว่า Electric/Electricity ที่แปลเป็นไทย คือไฟฟ้านั่นเอง

 

การทดลองของแฟรงคลิน
ภาพวาดแสดงการทดลองของเบนจามิน แฟรงคลิน
(ซึ่งทุกคนไม่ควรเอาเป็นแบบอย่าง เพราะมีนักวิทยาศาสตร์เสียชีวิตมากมายหลังจากการทำตามแฟรงคลิน)

ที่มา - http://www.familysecuritymatters.org/imgLib/20080725_franklin_ben.jpg

 

          ในปี พ.ศ.2295 เบนจามิน แฟรงคลินได้ทำการทดลองติดลูกกุญแจโลหะไว้ที่หางว่าว แล้วปล่อยลอยขึ้นในวันที่ท้องฟ้ามีลมพายุรุนแรง เขาพบว่าประกายไฟกระโดดจากลูกกุญแจ โลหะสู่หลังมือของเขา (มีเอกสารออนไลน์ที่สรุปเรื่องราวของเขาสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ [2]) ซึ่งถือว่าเป็นการค้นพบไฟฟ้าในธรรมชาติ ซึ่งประโยชน์ของการทดลองของแฟรงคลินที่เราพบเห็นได้ในปัจจุบันคือ สายล่อฟ้า ที่ช่วยชีวิตมนุษย์จากการถูกฟ้าผ่ามาจนถึงทุกวันนี้

 

โครงสร้างของชุดศักย์ไฟฟ้า
ภาพโครงสร้างของชุดศักย์ไฟฟ้า (voltaic pile)
ที่มา - http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/06/Voltaic_pile.svg

ชุดศักย์ไฟฟ้า
ชุดศักย์ไฟฟ้า (voltaic pile) ของอเล็สซานโดร โวลตา
ที่มา - http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/54/VoltaBattery.JPG

                     

           นอกจากนี้ยังมีการค้นพบไฟฟ้าในสิ่งมีชีวิตของ ลุยจิ กัลวานี (Luigi Galvani) ในปี พ.ศ.2334 และการสร้างชุดศักย์ไฟฟ้า (voltaic pile) ของอเล็สซานโดร โวลตา (Alessandro Volta) ในช่วงปี ค.ศ. 1800 ซึ่งทำมาจากชั้นของสังกะสีและทองแดงวางสลีบกัน คั่นด้วยผ้าชุบสารละลายอิเล็กโตรไลท์ (Brine) ซึ่งอาจถือเป็นจุดเริ่มต้น ในการสร้างเซลล์ไฟฟ้าเคมีในปัจจุบัน

 

 ไมเคิล ฟาราเดย์
รูปสมัยหนุ่มของไมเคิล ฟาราเดย์
ที่มา - http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/88/M_Faraday_Th_Phillips_oil_1842.jpg

 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องแรกของโลก (Faraday’s disc)
ที่มา - http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/19/Faraday_disk_generator.jpg

          

           ยังมีบุคคลสำคัญอีกคนหนึ่งในประวัติการค้นพบทางไฟฟ้าที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือ ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) โดยเขาพบว่า เมื่อนำสายลวดพันรอบกระดาษม้วน เป็นทรงกระบอก นำปลายทั้งสองข้างของขดลวดต่อเข้ากับเครื่องวัดกระแสไฟฟ้า และเมื่อแม่เหล็กเคลื่อนที่ผ่านทรงกระบอก เข็มของเครื่องวัดมีการเบนไปจากตำแหน่งเดิม นั่นคือมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น โดยหลักการดังกล่าวได้ถูกนำมาผลิตเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่เรียกว่า ไดนาโม (Dynamo) ซึ่งเป็นหลักการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และพลังลมในปัจจุบัน

 

เรื่องราวทางไฟฟ้าที่น่าสนใจอ่านเพิ่มเติม (ออนไลน์)

          [1] http://en.wikipedia.org/wiki/Electrical

          [2] http://ira.usf.edu/CAM/exhibitions/1998_12_McCollum/supplemental_didactics/23.Uman1.pdf