ช่วยเหลือผังเว็บไซต์เกมพลังงานผู้จัดทำ
หน้าหลัก > หน้าหลักเนื้อหา > การคำนวณค่าไฟฟ้า

การคำนวณค่าไฟฟ้า

              เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งทราบได้จากตัวเลขที่กำกับไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ระบุไว้ทั้งความต่างศักย์ (V) และกำลังไฟฟ้า (W)
               ตัวอย่างเช่น หลอดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า มีตัวเลขกำกับไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้ามีตัวเลขกำกับว่า 220 V 80 W
                   - ตัวเลข 220 V หมายถึงหลอดไฟฟ้านี้ใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์ ซึ่งเราต้องใช้ไฟให้ตรงกับค่าความต่างศักย์ที่กำหนด
                    - ตัวเลข 80 W ที่กำกับมาเป็นค่าของพลังงานไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าใช้ไปในเวลา 1 วินาที ซึ่งเรียกว่า กำลังไฟฟ้า

             หมายเหตุ - ในการวัดพลังงานไฟฟ้า เราจะใช้หน่วยเป็นจูล ตัวเลข 80 W จึงหมายความว่า หลอดไฟฟ้านี้จะใช้พลังงานไฟฟ้า 80 จูล ในเวลา 1 วินาที

              ค่าไฟ เป็นสิ่งที่เราต้องจ่ายทุกเดือน เพราะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้ไฟ (ถึงแม้พ่อแม่เราจะเป็นคนจ่ายก็ตาม) จะดีแค่ไหนหากเรารู้วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เราจะสามารถประมาณค่าไฟ (โดยประมาณ) ของแต่ละเดือนได้ ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับเราเองในการวางแผนการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น โดยการคำนวณค่าไฟฟ้านั้น เราสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ จากสูตรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้*

              สำหรับการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าใน 1 วัน เราสามารถใช้สูตรการคำนวณดังนี้


              ตัวอย่าง บ้านครูปอนด์มีเครื่องใช้ไฟฟ้า 3 ชนิด คือทีวีขนาด 150 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง, พัดลมขนาด 100 วัตต์ จำนวน 1 เครื่อง และหลอดไฟขนาด 40 วัตต์ จำนวน 5 ดวง โดยครูปอนด์จะเปิดทีวีและพัดลมพร้อมกันตั้งแต่เวลา 18.00 - 22.00 น. ทุกวัน ส่วนหลอดไฟจะเปิดพร้อมกันทั้ง 4 ดวงตั้งแต่เวลา 18.00 - 06.00 น. ทุกวัน อยากทราบว่าครูปอนด์ใช้ไฟฟ้าไปกี่ยูนิตในเดือนธันวาคม
              
วิธีคิด จากตัวอย่างเราได้ข้อมูลว่า
                            1. ทีวีขนาด 150 วัตต์ ใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง
                            2. พัดลมขนาด 100 วัตต์ ใช้งานวันละ 3 ชั่วโมง
                            3. หลอดไฟขนาด 40 วัตต์ ใช้งานวันละ 12 ชั่วโมง
              จากสมการ

                                                                                                                                                          

              ดังนั้นใน 1 วัน เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้ไฟฟ้าดังนี้
                            จำนวนยูนิตของทีวี = [(150 x 1) x 3] / 1000 = 0.45
                            จำนวนยูนิตของพัดลม = [(100 x 1) x 3] / 1000 = 0.30
                            จำนวนยูนิตของหลอดไฟ = [(40 x 4) x 3] / 1000 = 0.48
              รวมใน 1 วัน ครูปอนด์ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น = 0.45 + 0.30 + 0.48 = 1.23
              ดังนั้น ในเดือนธันวาคม (มี 31 วัน) ครูปอนด์ใช้ไฟฟ้าทั้งสิ้น = 1.23 x 31 = 38.13 ยูนิต (
ตอบ)


* หมายเหตุ – สูตรคำนวณที่นำเสนอ จะไม่รวมการคิดค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ของการไฟฟ้า หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

                  [1] ฟิสิกส์ราชมงคล. กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า มาตรไฟฟ้าและการคิดเงินนค่าพลังงานไฟฟ้า.
                                   http://rmutphysics.com/charud/scibook/electric3/pan14.htm. 22 พฤศจิกายน 2552.