img3.gif

" โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว "

img3.gif

 พ่อของแผ่นดินลูกของพ่อของแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

ยินดีต้อนรับทุกท่าน...เข้าสู่บทเรียนออนไลน์ ในหัวเรื่อง "๑ ในหล้า หลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่ไทย" เหมาะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ ๔  ( ม.๔-๖ )   

Homeคณะผู้จัดทำปรัชญาพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียงพอเพียงเคียงคู่ชาติพระราชดำรัสพอเพียงประยุกต์ใช้ปรัชญารวมรูปในหลวงรวมรูปพอเพียง
แผนผังบูรณาการ 
นิยามพอเพียง 
แนวทางการปฏิบัติิ 
แนวคิดพอเพียง 
แนวพระราชดำริ 

 

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไป
ตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชน
ในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติ
จะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับ
การสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

   “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

        ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่
มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย
หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็ว
แก่ประชาชนทั้งประเทศ

        ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า

   “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือ
กับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….”

        ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้
เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น
ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน

        ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน
ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่ง
ความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

                                                                                                                                                                                  

               

                             

 

                                                                      ที่มา http://www.inspect9.moe.go.th                     

 

 

    คณะผู้จัดทำโดย

     คุณครูสนธินี        ผิวเแก้ว
    นางสาวจิญานี      มูลสาร
        นางสาวฉันทนา    ศิริชัยเดช
     นางสาวอณามิกา  ขุนภักดี
 
  โรงเรียนมัธยมพระราชทานนายาว

ตำบล ท่ากระดาน อำเภอ สนามชัยเขต จังหวัด ฉะเชิงเทรา

Copyright (c) 2007 Matthayomprarajchatannayao. All rights reserved.