3.1 เซรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่หลังเซรีบรัมโดยมีร่องตามขวาง (Transverse Fissure) กั้นอยู่ระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัม
พื้นผิวด้านนอกของเซรีเบลลัมมีลักษณะเป็นคลื่นหยักเช่นกันแต่น้อยกว่าเซรีบรัม ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ โดยทำงานประสานกับสมองส่วนเซรีบรัม ควบคุมท่าทาง ควบคุมการทรงตัว สัตว์ที่เคลื่อนไหวได้ 3 มิติ เช่น ปลา นก
ซึ่งจะมีสมองส่วนนี้เจริญดีมาก ทำให้สัตว์ดังกล่าวมีความคล่องตัวมากในการเคลื่อนไหวในระดับต่าง ๆ สำหรับในคนถ้าสมองส่วนนี้พิการจะทำให้เสียการทรงตัว มือสั่น (Tremores) ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อลายไม่ประสานกัน

   3.2 พอนส์ (Pons) อยู่ด้านหลังเซรีเบลลัม เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5, 6, 7 และ 8 เซลล์ประสาทของพอนส์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกจากเซรีบรัมไปยังเซรีเบลลัม เพื่อควบคุมอวัยวะบางอย่างที่อยู่บริเวณศีรษะ
เช่น การหลับตา การยิ้ม การยักคิ้ว การหลั่งน้ำลาย การเคี้ยวอาหาร นอกจากนี้ ยังเป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทประสานงานเกี่ยวกับการได้ยิน การรับรู้ และการทรงตัวจากหูอีกด้วย

    3.3 เมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองอยู่ติดกับไขสันหลัง และมีรูปร่างคล้ายกับไขสันหลังมาก เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9, 10, 11 และ 12 ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของอวัยวะสำคัญหลายอย่าง เช่น การทำงานของหัวใจ การหายใจ การไหลเวียนของเลือด
และทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากไขสันหลังไปยังสมองส่วนซีรีบรัม สมองส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญมากที่สุด ถ้าเกิดอันตรายกับสมองส่วนนี้ทำให้ถึงแก่ความตายทันที

                                    

ข้อควรทราบ
       Frontal lobe เป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวของร่างกาย ลูกตา การพูด ความจำ และ ความคิด
       Parietal lobe เป็นศูนย์กลางการรับความใรู้สึกต่างๆ
       Occiptal lobe ควบคุมการมองเห็น

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

















UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์