การเกิดกระแสประสาท

.............. สิ่งเร้าชนิดต่าง ๆ เช่น เสียง ความร้อนสารเคมีสารเคมีที่มากระตุ้นหน่วยรับความรู้สึกจะถูกเปลี่ยนให้เ็ป็นกระแสประสาท
กระแสประสาท คืออะไรเป็นที่น่าสงสัย ของนักวิทยาศาสตร์มานานแล้ว จาการวิจัยของนักสรีรวิทยาหลายท่าน โดยเฉพาะ ฮอดจ์กิน
(A.L. Hodgkin )และ ฮักซเลย์ (A.F. Huxley )ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ. 2506 ทำให้ทราบว่ากระแสประสาทเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยการนำไมโครอิเล็กโทรด ซึ่งมีลักษณะคล้ายหลอดแก้วที่ดึงให้ยาวตรงปลายเรียวเป็นท่อขนาดเล็กมาต่อกับมาตรวัดความต่างศักย์ไฟฟ้า
จากนั้นเสียบปลายของไมโครอิเล็กโทรด เข้าไปในแอกซอนของหมึกและแตะปลายอีกข้างหนึ่งที่ผิวด้านนอกของแอกซอนของหมึก
จากการทดลองสามารถวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่าง ภายในและภายนอกเซลล์ประสาทของหมึกพบว่ามีค่าประมาณ -70 มิลลิโวลต์
ซึ่งเป็น สักย์เยื่อเซลล์ระยะพัก (resting mwmbrane potential ) เยื่อหุ้มเซลล์มีโปรตีนทำหน้าที่ควบคุมการเข้าออกของไออนบางชนิด
เช่น NA+ เรียกว่าช่องโซเดียมและ K+ เรียกว่าช่องโพแทสเซียม



          การเปลี่ยนความต่างศักย์ดังกล่าวนี้เรียกว่า แอกชันโพแทนเชียล (action potential )หรือกระแสประสาท (nerve impulse )
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ถูกกระตุ้นจะชักนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บริเวณถัดไปขณะที่เกิดแอกชันโพเทนเชียล
แล้วกลับสู่สภาพเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท ระยะพักอีกครั้งหนึ่งเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆมีผลให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปตามความยาว
ของใยประสาท แบบจุดต่อจุดต่อเนื่องกันของแอกซอนที่ไม่มีเยื่อไม่อีลินหุ้ม ดังภาพ


 

 

TOP

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



















UP

ผู้จัดทำ
นางณุชรี   อ่อนน้ำคำ   ครูที่ปรึกษา
1.นายทีปกร   กล้าเดช  2.นายวชิรวิทย์   ชมภูเทพ   3.นางสาววัชรี   เคสะนอก
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์