บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง แรงและความดัน
สร้างโดย : เด็กหญิงวริศรา แดงทองดี และนายยุทธศักดิ์ ไชยสีหา
สร้างเมื่อ ศุกร์, 20/11/2009 – 13:24
มีผู้อ่าน 1,059,380 ครั้ง (17/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/44736
บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง แรงและความดัน
เนื้อหาประกอบด้วย
- จุดประสงค์การเรียนรู้
- แบบทดสอบก่อนเรียน
- เข้าสู่บทเรียน
- แรง
- แรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์
- แรงลอยตัว
- แรงเสียดทาน
- ความดันอากาศ
- ความดันของเหลว
- แบบทดสอบหลังเรียน
- แหล่งอ้างอิง
- คณะผู้จัดทำ
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
- ปลูกฝังพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ในเรื่องกระบวนความรู้ ความคิด ความเข้าใจเกี่ยวกับแรงและความดัน
- มีความเข้าใจเกี่ยวกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ
- มีความเข้าใจเกี่ยวกับความดันอากาศ และความดันของของเหลว
- มีความเข้าใจเกี่ยวกับแรงพยุงของของเหลว การลอยตัว และการจมของวัตถุ
- มีความเข้าใจเกี่ยวกับแรงเสียดทาน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
2. แบบทดสอบก่อนเรียน
คำสั่ง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม...
3. เข้าสู่บทเรียน
1. แรง
แรง หมายถึง สิ่งที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพจากหยุดนิ่งให้เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนจากเคลื่อนที่อยู่แล้วเป็นหยุดนิ่ง เร็วขึ้น ช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทาง นอกจากนี้ยังทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงรูปทรงและขนาดได้
ในการดำรงชีวิตแต่ละวัน เราต้องใช้แรงเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย และลักษณะของแรงที่ใช้มีลักษณะที่แตกต่างกันไปด้วย ตัวอย่างเช่น
ในทางวิทยาศาตร์มักจะใช้เส้นและลูกศรแทนขนาดและทิศทางของแรง
จากรูปเส้นและลูกศรแทนแรง แสดงว่า แรง ข มีมากกว่าแรง ก เพราะเส้นลูกศรแทนแรง ข มีความยาวมากกว่าเส้นลูกศรแทนแรง ก โดยทั้งแรง ก และแรง ข มีทิศทางไปเดียวกัน คือ ทางขาวมือ แตกต่างจากแรง ค ที่มีทิศทางไปทางซ้ายมือ
เพิ่มเติม
แรงสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
- แรงที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
- แรงที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แรงลม แรงน้ำ แรงแม่เหล็ก แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นต้น
- แรงที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แรงที่คนใช้ปั่นจักรยาน แรงที่ใช้หิ้วของ แรงที่ใช้ยกสิ่งของต่าง ๆ เป็นต้น
- แรงที่ได้จากเครื่องจักร หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แรงที่เกิดจากการทำงานของมอเตอร์พัดลม แรงที่เกิดจากการทำงานของเครื่องยนต์ในรถประเภทต่าง ๆ เป็นต้น
2. แรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์
แรงลัพธ์
เมื่อวัตถุถูกแรงกระทำพร้อม ๆ กันมากกว่าหนึ่งแรงขึ้นไป ผลของแรงกระทำทั้งหมดจะส่งผลเสมือนเกิดจากแรง ๆ เดียว ซึ่งเป็นผลจากการรวมกันของแรงทุกแรง เราเรียกแรงที่เกิดจากการรวมแรงหลาย ๆ แรงนี้ว่า แรงลัพธ์
1. หากมี 2 แรงผลักวัตถุไปตามพื้นราบในทิศทางเดียวกัน แรงทั้งสองแรงจะรวมเข้าด้วยกันเป็นแรงลัพธ์ที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ ดังรูป
2. หากแรง 2 แรง ผลักวัตถุไปตามพื้นราบในทิศทางตรงข้ามกัน หากแรงด้านใดมีมากกว่า วัตถุจะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของแรงนั้น ดังรูป
แรงลัพธ์ = แรง 1 – แรง 2
แรงลัพธ์ = 50 – 30 นิวตัน
แรงลัพธ์ = 20 นิวตัน
3. หากมีแรง 2 แรงผลักวัตถุไปตามพื้นราบในทิศทางตรงกันข้าม และแรงทั้งสองแรงมีขนาดเท่ากันวัตถุจะไม่เคลื่อนที่ ดังรูป
แรงลัพธ์ = แรง 1 – แรง 2
แรงลัพธ์ = 50 – 30 นิวตัน
แรงลัพธ์ = 20 นิวตัน
เพิ่มเติม
ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ แรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นศูนย์ แต่ถ้าแรงที่กระทำต่อวัตถุนั้นไม่ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ แรงลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะมีค่าเป็นศูนย์
ประโยชน์ของแรงลัพธ์
ในชีวิตประจำวันของเรามีการนำแรงลัพธ์มาใช้ประโยชน์มากมาย ตัวอย่างเช่น การสร้างสะพานแขวน การปั่นจักรยานพ่วง การใช้สุนัขหลาย ๆ ตัวหลากเลื่อน
3. แรงลอยตัว
แรงลอยตัว คือแรงพยุงของของเหลวและแก๊สที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของเหลวและแก๊สนั้น ทำให้วัตถุลอยอยู่ได้
ในชีวิตประจำวันเราจะพบว่าวัตถุบางชนิดลอยอยู่ในน้ำได้ เพราะแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าเพียงพอที่จะต้านน้ำหนักของวัตถุ ที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกได้ แต่สำหรับวัตถุบางชนิดที่จมลงนน้ำ แสดงว่าแรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุนั้นมีค่าน้อยกว่าน้ำหนักของวัตถุ
เพิ่มเติม
1. อาร์คิมีดิส นักคิดชาวกรีกเป็นผู้ค้นพบแรงลอยตัว และได้ให้หลักการเกี่ยวกับการจมและการลอยของวัตถุเรียกหลักการนี้ว่า “หลักของอาร์คิมีดิส” กล่าวคือ แรงลอยตัวที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ด้วยปริมาตรของวัตถุส่วนที่จมในของเหลวนั้น ดังรูป
2. ค่าของแรงที่อ่านได้เมื่อชั่งวัตถุในของเหลว จะมีค่าน้อยกว่าเมื่อชั่งวัตถุในอากาศ เพราะว่าของเหลวมีแรงลอยตัวช่วยพยุงวัตถุไว้
ปัจจัยที่มีผลต่อการลอยและการจมของวัตถุ
1. ความหนาแน่นของวัตถุ วัตถุแต่ละชนิดจะมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน
1.1 ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าของเหลววัตถุจะลอยในของเหลว
1.2 ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นเท่ากันกับของเหลววัตถุจะลอยปริ่มในของเหลว
1.3 ถ้าวัตถุมีความหนาแน่นมากกว่าของเหลววัตถุจะจมในของเหลว
2. ความหนาแน่นของของเหลว
ของเหลวที่มีความหนาแน่นมากจะมีแรงลอยตัวมาก ทำให้พยุงวัตถุให้ลอยขึ้นได้มากกว่าของเหลวที่มี
ความหนาแน่นน้อย เช่น น้ำเกลือมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำเปล่า เมื่อนำไข่ไก่ไปใส่ในน้ำเกลือเปรียบเทียบกับน้ำเปล่า
ไข่ไก่ลอยในน้ำเกลือ แต่จมลงในน้ำเปล่า
4. แรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้นที่สัมผัสกัน ซึ่งแรงนี้เป็นแรงที่ผิววัตถุผิวหนึ่งต้านทานการเคลื่อนที่ของผิววุตถุอีกผิวหนึ่ง ส่งผลทำให้วัตถุเคลื่อนที่ช้าลงเรื่อย ๆจนกระทั่งหยุดนิ่งในที่สุด
ธรรมชาติของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานจะกระทำในทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ ถ้าไม่มีแรงเสียดทานวัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราคงตัวตลอดการเคลื่อนที่ แต่เมื่อมีแรงเสียดทานวัตถุจะเคลื่อนที่ช้าลงเรื่อย ๆ จนหยุดนิ่งในที่สุด
ขนาดของแรงเสียดทานจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวสัมผัส และน้ำหนักของวัตถุที่กดลงบนอีกพื้นผิวหนึ่งเป็นหลักหากน้ำหนักของวัตถุมาก แรงที่กดลงบนพื้นผิวอีกพื้นผิวหนึ่งก็จะมาก แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นก็จะมีมาก อีกทั้งหากวัตถุต้องเคลื่อนที่บนพื้นผิวขรุขระมาก ก็จะมีแรงเสียดทานเกิดขึ้นมากกว่าตอนเคลื่อนที่อยู่บนพื้นผิวที่ขรุขระน้อย
ปัจจัยที่มีผลต่อแรงเสียดทาน
1. น้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุที่กดลงบนพื้น
ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุมาก จะเกิดแรงเสียดทานมาก ถ้าน้ำหนักหรือแรงกดของวัตถุน้อย จะเกิดแรงเสียดทานน้อย
2. ลักษณะของพื้นผิวสัมผัส
– ถ้าพื้นผิวเรียบ เช่น กระเบื้อง กระจก พลาสติก เป็นต้น จะเกิดแรงเสียดทานน้อย เนื่องจากพื้นผิวเรียบมีการเสียดสีระหว่างกันน้อย
พื้นผิวเรียบ
กระเบื้อง กระจก พลาสติก
– ถ้าพื้นผิวขรุขระ เช่น พื้นทราย พื้นหญ้า พื้นหินกรวด เป็นต้น จะเกิดแรงเสียดทานมาก เนื่องจากพื้นผิวขรุขระมีการเสียดสีระหว่างกันมาก จึงมีแรงเสียดทานที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเกิดขึ้น
พื้นผิวขรุขระ
พื้นทราย พื้นหญ้า พื้นหินกรวด
ประโยชน์ของแรงเสียดทาน
เราสามารถใช้ประโยชน์จากแรงเสียดทาน ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้มากมาย เช่น
- ทำให้วัตถุหยุดนิ่งไม่เคลื่อนที่ เช่น ช่วยหยุดรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ ยางรถที่มีดอกยางช่วยให้รถเกาะถนนได้ดี เป็นต้น
- การสร้างพื้นถนนต้องทำให้พื้นถรรเกิดแรงเสียดทานพอสมควร รถจึงจะเคลื่อนที่บนถนนโดยที่ล้อรถไม่หมุนอยู่กับที่ได้
- ช่วยในการหยิบจับสิ่งของโดยไม่ลื่นไหลไปมา
- ช่วยในการเดินไม่ให้ลื่นไหล
รองเท้ากีฬามีปุ่มยางที่พื้นรองเท้า ทำให้ยึดเกาะพื้นได้ดี
จักรยานมีเบรกเพื่อลดความเร็ว
ดอกยางรถทำให้รถเกาะถนนได้ดี
5. ความดันอากาศ
อากาศเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้ น้ำหนักของอากาศมีแรงกดหรือแรงดัน อนุภาคของอากาศเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างอิสระ และตลอดเวลาในทุกทิศทาง โดยจะเคลื่อนที่ชนกันเองและชนกับวัตถุต่าง ๆ ที่ล้อมรอบ ทำให้เกิดแรงดันรอบทิศทาง เรียก แรงดันอากาศ เช่น ถ้าเป่าลูกโป่ง อากาศที่เข้าไปด้านในจะดันลูกโป่งให้พองออกและมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันอากาศที่อยู่ภายนอกก็ออกแรงดันลูกโป่งทุกทิศทางด้วยเช่นกัน เป็นต้น
แรงดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกดลงบนผิวของวัตถุในทุกทิศทาง
ความดันอากาศ หมายถึง แรงที่อากาศกระทำต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดัน
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันอากาศ
1. ขนาดของแรงที่กระทำ (น้ำหนักของวัตถุ)
2. พื้นทีที่ถูกแรงกระทำ (พื้นที่ที่ถูกกดทับด้วยวัตถุ)
ประโชน์ของความดันอากาศ
- การดูดน้ำออกจากขวดโดยใช้หลอดดูด
- การดูดของเหลวเข้าหลอดหยดหรือเข็มฉีดยา
- การเจาะกระป๋องนมต้องเจาะ 2 รู เพื่อให้อากาศในกระป๋องนมมีความดันอากาศเท่ากับความดันภายนอกกระป๋องนมทำให้สามารถเทนมออกจากกระป๋องนมได้
- การถ่ายของเหลวโดยสายยางจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งที่อยู่ต่างระดับกัน เรียกว่า กาลักน้ำ
- การใช้แป้นยางดูดติดกับกระจกเพื่อยึดสิ่งของให้ติดกับกระจก เนื่องจากความดันอากาศภายนอกมากกว่าความดันอากาศภายในแป้นยาง จึงกดหัวแป้นยางให้ดูดติดกับกระจก
การดูดน้ำออกจากแก้ว การดูดของเหลวเข้าหลอดหยด
กาลักน้ำ แป้นยางดูดติดกระจก
6. ความดันของเหลว
ความดันของของเหลวมีลักษณะคล้ายกับความดันอากาศ คือ เกิดจากน้ำหนักของของเหลวที่มีอยู่เหนือตำแหน่งนั้น ๆ กดทับลงมา ยิ่งในระดับที่ลึกมากขึ้น ของเหลวที่อยู่เหนือตำแหน่งนั้นก็จะมีมากขึ้น ทำให้น้ำหนักของของเหลวมีมากขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันของของเหลว
1. ความลึกของของเหลว
– ของเหลวไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะรูปร่างใดก็ตาม ถ้าที่ระดับความลึกเดียวกัน ความดันของของเหลวจะเท่ากัน
– แต่ถ้าระดับความลึกต่างกัน ของเหลวที่อยู่ระดับลึกกว่า จะมีความดันมากกว่า
น้ำที่ระดับความลึกมากกว่าจะมีความดันมากกว่า
2. ความหนาแน่นของของเหลว
ของเหลวต่างชนิดกันจะมีความดันต่างกัน โดยของเหลวที่มีความหนาแน่นมาก จะมีความดันสูงกว่าของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อย
ประโยชน์ของความดันของของเหลว
เรานำความรู้เกี่ยวกับความดันของของเหลวไปใช้ประโยชน์ เช่น การสร้างเขื่อน ต้องสร้างให้ฐานเขื่อนมีความกว้าง
มากกว่าสันเขื่อน เพราะแรงดันของน้ำบริเวณฐานเขื่อนมากกว่าแรงดันของน้ำบริเวณสันเขื่อน
แบบทดสอบหลังเรียน
คำสั่ง จงเลือกคำตอบทีถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
แหล่งอ้างอิง
ข้อมูลเนื้อหาสรุปจาก
- เปรมฤดี เนื้อทอง สรสุปเข้มวิทยาศาสตร์ ป.5 — กรุงเทพฯ : แม็ค , 2549
- ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม วิทยาศาสตร์ ป.5 สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)
- หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ป.5 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ
รูปภาพประกอบ
- http://www.zabzaa.com/links/free.htm
- www.ebangkok.org/site.asp?id=646
- thirtysomething.exteen.com/20070313/vs
- www.marinerthai.com/sara/view.php?No=1123
โค๊ดการเขียนแบบทดสอบ
- http://www.bs.ac.th/quiz_online/
คณะผู้จัดทำ
จัดทำโดย ทีม Nongkoo
ครูที่ปรึกษา
คุณครูยุทธศักดิ์ ไชยสีหา (ครูเอ๋) ครู คศ.1
โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
เด็กหญิง วริศรา แดงทองดี (อาโปร์)
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 1
โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ย่อ