ต้นไม้ใหญ่

สร้างโดย : นางสาวกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ และ เด็กหญิงสุดารัตน์ ภัคโชค
สร้างเมื่อ เสาร์, 10/10/2009 – 12:26
มีผู้อ่าน 116,316 ครั้ง (18/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/40469
รางวัลชนะเลิศ ประเภทสื่อออนไลน์ (บุคคล)
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2552
ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ต้นไม้ใหญ่

     สวัสดี ผู้ผ่านทางทุกท่านค่ะ สื่อออนไลน์ที่หนู และคุณครูที่ปรึกษาได้จัดทำขึ้นนี้เป็นเรื่องที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลตัวเรา อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ว่ามองไปทางไหนก็คงต้องมีให้เห็นบ้าง สิ่งที่หนูพูดถึงนั้นมีประโยชน์มากหลายต่อทุกๆ ชีวิต ที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ นั่นก็คือ ต้นไม้ นั่นเอง

http://learners.in.th/file/pumruang/tree.jpg

      ต้นไม้ คือ พืชชนิดหนึ่ง

      ต้นไม้ มีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ

      ต้นไม้ สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด เช่น พืชยืนต้น พืชลัมลุก พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ

      ต้นไม้ เป็นส่วนประกอบสำคัญของโลก มีความสำคัญต่อทรัพยากรทางธรรมชาติทั้งหลาย

      ต้นไม้ เป็นปัจจัย 4 (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) ของมนุษย์

      ต้นไม้ ถูกศึกษาอยู่ในหลายสาขาวิชา ได้แก่ พฤกษศาสตร์ วนศาสตร์ และชีววิทยา 

อ่านเพิ่มเติม...

เนื้อหาประกอบด้วย

  • ต้นไม้ใหญ่ที่สุดในโลก
  • ต้นไม้ใหญ่ที่สุดในไทย
  • ต้นไม้ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร
    • รู้จักกันมากขึ้น
    • อดีตกาล
    • ความเชื่อ
    • เสาะหาความจริง

ต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก General Sherman

     General Sherman นายพลเชอร์แมน คือ ต้นไม้ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก นายพลเชอร์แมนเป็นต้น Giant Sequoia ขึ้นอยู่ที่อุทยานแห่งชาติ Sequoia ในแคลิเฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา คาดว่า  นายพลเชอร์แมนมีอายุประมาณ 2,300-2,700 ปี (ต้นไม้ที่อายุยืนที่สุดในโลก คือ พโระมี-ธยูซ มีอายุประมาณ 4844 ปี) โดยต้นไม้ต้นนี้ได้ชื่อตาม นายพล William Tecumseh Sherman ใ่นช่วงสงครามเหนือใต้ (American Civil War) โดยนักธรรมชาติวิทยาชื่อ James Wolverton ผู้เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนายพลเชอร์แมน ตั้งให้เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านนายพล ในปี 1931

http://3.bp.blogspot.com/_1Z5_frqW26w/
SqJvfVfFeHI/AAAAAAAAHew/
-uQjEbmovok/s400/general-sherman-tree.jpg

     ในเดือนมกราคม 2006 เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เมื่อนายพลเชอร์แมน เมื่อกิ่งอันใหญ่ที่สุดของท่านนายพลเชอร์แมนได้หักลงมา ในระหว่างเกิดเหตุไม่มีใครเห็นเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นอย่างไร แต่กิ่งที่หักลงมีขนาดใหญ่ และความยาวกว่า 30 เมตรพบรอยปริแตกซึ่งแสดงให้เห็นถึงผิดปกติของสุขภาพของท่านนายพล แต่ท่านนายพลเชอร์แมนก็ยังคงไม่ศูนย์เสียตำแหน่ง ต้นไม้ ที่ ใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากการคำนวณหาขนาดใช้ เฉพาะเนื้อไม้ในส่วนลำต้นเท่านั้น ไม่รวมกิ่ง รูปกิ่งขนาดใหญ่ที่สุดที่หักลงมาเมื่อเดือนมกราคม 2006 เมื่อเปรียญเทียบกับคนแล้ว กิ่งของท่านนายพลเชอร์แมนมันก็ซุงเราดีๆนั้นเอง

ข้อมูล สัดส่วน ของ ท่านนายพลเชอร์แมน ต้นไม้ ที่ ใหญ่ที่สุดในโลก (ข้อมูลจากปี 1997)

 ความสูงจากพื้นถึงยอด 83.8 เมตร

 เส้นรอบวงที่ฐาน 31.3 เมตร

 เส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐาน 11.1 เมตร , 7.7 เมตรที่สูงจากพื้น 1.4 เมตร , 5.3 เมตรที่สูงจากพื้น 18 เมตร , 4.3 ที่สูงจากพื้น 55 เมตร

 กิ่งขนาดใหญ่ของต้นอยู่สูงจากพื้น 39.6 เมตร ปริมาตรเนื้อไม้ 1,487 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งทำให้ท่านนายพลเชอร์แมน เป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รูปท่านนายพลเชอร์แมน ก็แบบเต็มจากโคนกันเลย

คุณทราบหรือไม่คะ ว่าต้นไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ต้นกระบากใหญ่

     อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช เดิมมีชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติต้นกระบากใหญ่” เนื่องจากมีต้นกระบากที่ใหญ่สุดในประเทศไทยเท่าที่สำรวจพบในขณะนี้ โดยมีนายสวาท ณ น่าน ช่างอันดับ 2 สถานีโทรคมนาคม จังหวัดตาก ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากชาวเขาเผ่ามูเซอ ว่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่ประมาณสิบคนโอบอยู่ต้นหนึ่ง และมีสะพานหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อได้ไปสำรวจพบเห็นว่าเป็นสภาพธรรม ชาติที่สวยงามควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ จึงได้ทำหนังสือถึงกองอุทยานแห่งชาติ จำนวน 2 ฉบับ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2519 และวันที่ 6 มกราคม 2520 รายงานถึงลักษณะทางธรรมชาติซึ่งมีความโดดเด่น ได้แก่ ต้นกระบากใหญ่ สะพานหินธรรมชาติ น้ำตกห้วยหอย น้ำตกแม่ย่าป้า มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี และมีสัตว์ป่าที่ชุกชุม

http://www.dnp.go.th/parkreserve/pictures/npc/npc240.jpg

     ขึ้นในบริเวณหุบเขาของป่าดงดิบ มีขนาดความโตวัดโดยรอบได้ 16.10 เมตร ความสูง 50 เมตร ต้องใช้คนประมาณ 12 คน จึงจะโอบได้รอบลำต้น อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติซึ่งเป็นทางเดินลงเขาชันมาก ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ผู้สนใจจึงควรมีสุขภาพแข็งแรง และควรเตรียมน้ำดื่มให้พร้อมสำหรับการเดินลงไปเที่ยวชมและเดินกลับขึ้นมา ระหว่างทางมีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติอยู่เป็นระยะๆ

     ความจริงแล้วต้นไม้ใหญ่ในกรุงเทพมหานครมีมากมาย หลังจากที่ได้พยายามค้นคว้ามาหลายที่ ก็ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันไป ดังนั้นก่อนที่จะเล่าถึงรายละเอียดต้นไม้ใหญ่ข้างโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย โรงเรียนที่หนูเรียนอยู่ หนูขอเสนอข้อมูลจากหนังสือพิมพ์สวัสดีกรุงเทพ ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 เรื่อง “ตามล่าหา “ปู่ทวด” ต้นไม้ ประวัติศาสตร์มีชีวิตแห่งบางกอก” ดังนี้

http://www.bkknews.net/newbkk1/admin/picnews/chipa21-02-51.jpg

     กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่เพียง 978,263 ไร่ แต่ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานครระบุว่า เมืองแห่งนี้มีต้นไม้ที่ปลูกไว้แล้วไม่ต่ำกว่า 200 ล้านต้นกันเลยทีเดียว
     แน่นอนว่า ในเมืองที่มีความเป็นมาเช่นนี้ หากจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องต้นไม้แล้ว ยังมีต้นไม้ขนาดใหญ่ยืนต้นอยู่หลากหลายชนิด บางต้นมีอายุหลายร้อยปี มีความเป็นมาบอกได้ว่า “ไม่ธรรมดา”
     ย่านใจกลางเมืองหลายแห่งจึงเต็มไปด้วยต้นไม้เก่า อายุหลายร้อยปี เช่น ย่านศูนย์การค้าวรจักร ยังมีต้นไทรโบราณอยู่หลายต้น หรือที่วัดทองสุธาวาส ย่านบางซื่อ ยังมีป่าดงดิบต้นยางโบราณอีกนับร้อยๆ ต้นขึ้นกระจายอยู่ ส่วนบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์บริเวณริมคลองหลอดพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปลูกต้นตะเคียนทองไว้ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ตลอดฝั่งคลองหลอด เพื่อใช้ในการต่อเรือ ปัจจุบันเหลืออยู่บนถนนอัษฏางค์ริมคลองหลอด หลังวัดราชบพิตร จำนวน 9 ต้น ต้นไม้ที่นี่มีอายุมากเกินสองร้อยปี อาจจะถือได้ว่าเป็นไม้ยืนต้นที่ปลูกและมีอายุเก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพมหานครก็ได้ !
     ข้อมูลจากสำนักสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า ต้นไม้อายุมากที่สุด 3 อันดับในมหานครแห่งนี้คือ ต้นจันแห่งวัดยานนาวา ต้นตะเคียนทองแห่งวัดสุวรรณคีรี และต้นกร่างแห่งชุมชนศรีสุริโยทัยนั่นเอง
     “ชีพจรเมือง” ฉบับนี้ อาสาพาไปดูปูทวดต้นไม้เหล่านี้ว่า วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง !
     แชมป์ปู่ทวดต้นไม้ของเมืองกรุง ที่ถูกบันทึกไว้คือ “ต้นจัน” ที่วัดยานนาวา เขตสาทร อายุ 300 กว่าปี กว้าง 480 ซม. สูงประมาณ 20 เมตร ซึ่งตั้งอยู่ติดกับคณะ ก.2 อยู่เยื้องๆ กับโบสถ์เก่ายุคอยุธยาของวัดนั่นเอง
     พระสิริธีรคุณ (หลวงพ่อพรหมา  ชยานันโท) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา เล่าว่า อายุที่แน่นอนไม่มีใครยืนยันได้ แต่จากการสำรวจและตรวจสอบจากกทม.พบว่า เป็นต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองนี้ ซึ่งเคยได้รับรางวัลที่ 2 ของการประกวดต้นไม้เก่าของกทม.มาแล้ว เพราะแต่เดิมวัดได้สร้างกุฎิพระ 3 หลังและมีกำแพงผ่ากลางต้นไม้นี้ขนาบเอาไว้
     “เดิมทำเลที่ตั้งต้นไม้นี้ไม่โดดเด่น จึงได้เพียงอันดับที่ 2 แต่ตอนนี้ท่านเจ้าอาวาสได้รื้อกุฎิพระออกไป 3 หลัง แล้วทุบรั้วที่ผ่ากลางต้นจันออก บริเวณโคนต้นไม้กำลังปรับปรุงภูมิทัศน์ จัดทำสวนหย่อมและลานจอดรถ ซึ่งจะทำให้ต้นจันต้นนี้ดูโดดเด่นมากขึ้น” พระสิริธีรคุณ อธิบาย
     ต้นจันต้นนี้มีมาตั้งแต่สร้างวัดแห่งนี้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดคอกควาย ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเรียกว่า วัดคอกกระบือ ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ และต้นไม้ต้นนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญคู่มากับวัดจนถึงปัจจุบัน 
     “คนส่วนมากไม่รู้หรอกว่า นี่คือต้นไม้ที่มีอายุมากที่สุดของกรุงเทพมหานคร” ผู้ช่วยเจ้าอาวาส กล่าว
ส่วน “รองแชมป์ปู่ทวดต้นไม้” ของบางกอกนั้น กลับเป็นต้นตะเคียนทองซึ่งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ในวัดสุวรรณคีรีแห่งเขตบางกอกน้อย หากต้องการยลโฉมแล้ว สามารถเข้าไปวัดนี้ได้ที่ซอยโรงพยาบาลเจ้าพระยานั่นเอง 
     ต้นตะเคียนทองต้นนี้ตามข้อมูลระบุว่า มีอายุกว่า 250 ปี มีลำต้นกว้าง 470 ซม. สูง 35 เมตรกันเลยทีเดียว !
     ป้าสดศรี  จันทร์จร วัย 74 ปี ชาวบ้านซึ่งมีบ้านอยู่ติดกับวัด และอยู่ใกล้ต้นตะเคียนทองต้นนี้เล่าให้ฟังว่า ต้นตะเคียงทองต้นนี้มีมาเมื่อใดไม่มีใครรู้ได้ แต่สมัยที่เธอเป็นเด็กบริเวณย่านนี้คือป่าไม้หลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ส่วนต้นตะเคียงต้นนี้เดิมชาวบ้านจะเรียกว่าตะเคียนคู่ เพราะมีอยู่ 2 ต้น ซึ่งเกิดขึ้นเองอยู่ห่างกันเพียง 10 เมตรเท่านั้น
     “ปัจจุบันเหลือเพียงต้นเดียวอย่างที่เห็น อีกต้นเห็นเพียงตอเท่านั้น เพราะในช่วงปี 2538 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ต้นตะเคียนอีกต้นแห้งตายลง ทางวัดจึงได้โค่นลงมาและนำไม้บางส่วนไปสร้างเป็นกุฎิพระ อีกส่วนหนึ่งนำมาสร้างเป็นเจ้าแม่ตะเคียนทอง แล้วนำมาประดิษฐานไว้โคนต้นตะเคียนต้นที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน คนแถวนี้จะมากราบไหว้ของพรเป็นประจำ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก” ป้าสดศรี เล่าให้ฟัง
     จะเห็นได้ว่า บริเวณโดยรอบรองแชมป์ปู่ทวดต้นไม้แห่งนี้ดูร่มรื่นเป็นอย่างยิ่ง เพราะทางวัดได้ปลูกต้นไทร และต้นไม้อื่นอีกเป็นจำนวนมากเอาไว้โดยรอบ โดยมีการปูหินเป็นลานสวนหย่อมเอาไว้อย่างดี โดยมีคลองบางกอกน้อยโอบล้อมอยู่ด้านหลัง ปัจจุบันกำลังมีการสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครอยู่
     ป้าสดศรีเล่าว่า วัดสุวรรณคีรีหรือวัดขี้เหล็กแห่งนี้ตั้งอยู่บนทางน้ำสามแพร่ง โดยมีคลองบางกอกน้อยเป็นแนวเขต ส่วนอีกด้านหนึ่งมีคลองชักพระพุ่งตรงเข้าหาวัด วัดจึงได้สร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรประดิษฐานเอาไว้ในซุ้มหน้าวัด ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากต้นตะเคียนทองมากนัก สร้างเอาไว้ตามความเชื่อที่ว่าเพื่อป้องกันอาถรรพ์อันเกิดจากอำนาจลึกลับและบริเวณย่านนี้ก็เป็นวัดเก่าโบราณมาก่อน และต้นตะเคียนทองก็เชื่อกันว่า เป็นต้นไม้ของรุกขเทวดา มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ ใครๆ จะไปลบหลู่ไม่ได้ 
     “ขนาดต้นคู่กันที่ตายไป มีบางคนมาขโมยเอาเศษไม้ต้นนั้นไปก็ยังต้องเอามาคืน เพราะเจอดีเข้า” ป้าสดศรีเผย
จะเห็นได้ว่า วัดสุวรรณคีรี สถานที่ตั้งของรองแชมป์ปู่ทวดต้นไม้เมืองกรุงนั้น เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาคงทรุดโทรมลง ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่  ที่นี่นับได้ว่าเป็นวัดเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่ในชุมชน และเป็นวัดที่สวยงามแห่งหนึ่งในคลองบางกอกน้อย 
     แต่น่าเสียดายที่ความเป็นไปหรือเรื่องเล่าของประวัติศาสตร์ของต้นไม้เหล่านี้ที่มีมานานได้ถูกมองข้ามไปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง !
     ส่วนต้นไม้เก่าแก่อันดับ 3 ถูกจารึกเอาไว้ มีอายุ 205 ปีเท่ากัน คือ ต้นกร่างแห่งชุมชนศรีสุริโยทัยแห่งเขตสาทร ต้นแสมดำใกล้วัดแสมดำแห่งเขตบางขุนเทียน และต้นจันที่วัดราชาธิวาสแห่งเขตดุสิต
     จะขอกล่าวถึงเฉพาะ “ต้นกร่าง” ที่ชุมชนศรีสุริโยทัยในเขตสาทรเท่านั้น  เพราะว่ากันว่า ที่นี่ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากป่าช้าวัดดอนมากนัก และต้นไม้นี้เล่าลือกันว่า “เฮี้ยน” กันน่าดู !
     นายสุเวทย์  โชติวรรณพงศ์ อดีตประธานชุมชนศรีสุริโยทัยเล่าว่า ต้นกร่างต้นนี้ตั้งอยู่ด้านหลังชุมชนของเขา และอยู่ติดกับคลองวัดยานนาวา ปัจจุบันที่ตั้งของต้นกร่างอยู่ในบริเวณที่ดินของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย และที่ดินของเอกชนรายหนึ่ง โดยมีช่องทางเล็กๆ (ซอยเจริญกรุง 55) เชื่อมมาถึงพอดี
     เขาเล่าว่า เมื่อปี 2542 ต้นกร่างแห่งนี้ได้รับรางวัลชมเชยจากกรุงเทพมหานครในโครงการประกวดต้นไม้ใหญ่ในกรุงเทพมหานครอีกด้วย ซึ่งความใหญ่โตของมันที่แน่นอนนั้นเขาบอกไม่ได้ว่าเป็นเท่าใด
     “แต่เท่าที่รู้พวกเราเอาผ้าแพร 7 สีมาผูกล้อมโคนต้นจะต้องเอาผ้าที่ยาวกว่า 19 เมตรมาล้อมเอาไว้ และบริเวณกิ่งก้านที่แผ่ขยายออกไปกว้างไม่น้อยกว่า 90-100 เมตร ซึ่งหากมองเข้ามาแต่ไกลจะเห็นมันปกคลุมตึกสูง 5 ชั้นที่อยู่โดยรอบได้อย่างสบาย”
     นายสุเวทย์เล่าว่า บริเวณโคนต้นกร่างแห่งนี้มีศาลเจ้าซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมานานชื่อ “ศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง” ซึ่งจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองศาลเป็นประจำทุกปี โดยปีนี้จะจัดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์
     ส่วนเรื่องเล่าขานที่กล่าวถึงอำนาจบางสิ่งบางอย่างที่อยู่กับปู่ทวดต้นไม้แห่งนี้ เขายืนยันว่า มีหลายครั้ง อย่างเมื่อครั้งที่โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยได้ทำรั้วโรงเรียน ซึ่งจะต้องสร้างเป็นแนวเส้นตรงโดยจะมาชนกับต้นกร่างพอดิบพอดี
     “ไม่รู้ว่าเพราะอะไรคนงานก่อสร้างได้ตายไปหลายคน จนทางโรงเรียนต้องสร้างรั้วหลบต้นกร่างต้นนี้ ปล่อยให้ต้นไม้อยู่นอกกำแพงรั้ว แล้วจึงสร้างรั้วต่อได้จนสำเร็จ และเจ้าของที่อีกด้านจะสร้างตึก 4 ชั้นเป็นคอนโดนให้เช่า เจออาถรรพ์หลายอย่างจึงต้องถอยร่นแนวตัวคอนโดฯออกไปจากโคนต้นไม้นี้กว่า 10 เมตร เพราะกลัวอาถรรพ์จากต้นไม้แห่งนี้” เขาอธิบาย
นี่เป็นเพียงบางส่วนของปู่ทวดต้นไม้ของเมืองกรุง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตให้ลูกหลานได้ศึกษาคุณค่ามาจนถึงวันนี้ !

ต้นไม้ผู้ยิ่งใหญ่ “กร่าง”

     ต้นกร่างเป็นพรรณไม้ที่บุคคลระดับผู้นำ นิยมนำมาปลูกในบ้าน โดยเชื่อว่าเมื่อปลูกแล้วจะทำให้ได้รับการเคารพนับถือ มีคนเกรงใจ นับหน้าถือตา และทำให้ได้เป็นใหญ่เป็นโต

     ต้นกร่าง เมื่อปลูกใกล้กับกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ มักใช้รากและกิ่งก้านโอบล้อมต้นไม้เหล่านั้นไว้ ดุจว่าอยู่ในอุ้งมือ บางต้นสามารถโอบต้นตาลขนาดใหญ่ไว้ จนต้นตาลต้องตายไป กลายเป็นต้นกร่างที่มีโพรงไม้อยู่กลางลำต้น

http://nanagarden.com/Picture/Product/400/103217.jpg
http://www.thaimtb.co%20m/webboard/108/54292-3.jpg

 ชื่อพื้นเมือง: กร่าง (ภาคกลาง)

 ชื่อเดิม: ไทรทอง ลุง ฮ่างขาว ฮ่างเหลือง ไฮคำ

 ชื่อบาลี: นิโครธ (นิ-โค-ระ-ธะ),
                อชปาล-นิโครธ (อะ-ชะ-ปา-ละ-นิ-โค-ระ-ธะ),
                นิโครโธ (นิ-โค-ระ-โธ)

 ชื่อสันสกฤต: บันฮัน

 ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus bengalensis Linn.

 ชื่อสามัญ: Bamyan Tree,Bar,East Indian Fig

 ชื่อวงศ์: Moraceae

 ถิ่นกำเนิด: พบทั่วไปในทวีปเอเซียเขตร้อนได้แก่ อินเดีย ลังกา พม่า ฯลฯ

 สภาพนิเวศน์: สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิดที่ค่อนข้างชุ่มชื้น

 การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด นก ค้างคาว กินผลแล้วถ่ายมูลมีเมล็ดติดอยู่ หรือจะปักชำ ตอนกิ่งก็ได้

 ประโยชน์: เปลือกต้น ใช้แก้อาการท้องเดิน แก้บิด ใช้เป็นยาชงลดน้ำตาลในเลือด เมล็ดใช้เป็นยาเย็นและยาบำรุง ผลใช้รับประทานใบใช้เผาพอกฝี รากมีลักษณะที่เหนียวใช้ทำเชือกได้ส่วน เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ

ลักษณะทั่วไป: เป็น ไม้ต้นใหญ่พุ่มแผ่กว้าง ต้นของมันมีขนาดใหญ่และสูงประมาณ 10-20 เมตร ทรงต้นสง่าสมชื่อ เป็นไม้ผลัดใบ เรือนยอดกว้าง แตกกิ่งตำ มียางขางและรากอากาศ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกเป็นสีน้ำตาลปนกับสีเทา

 ใบ: เป็น ใบเลี้ยงเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ใบรูปรีหรือรูปไข่ แผ่นใบหนาขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 7-14 ซ.ม.

 ดอก: เป็นดอกสีขาว ออกดอกเป็นช่อรวม ดอกย่อยอยู่ภายในฐานรองดอกที่ขยายตัว โอบล้อมเป็นรูปทรงกลม ดอก ออก กุมภาพันธ์ – มีนาคม

 ผล: ผลเป็นแบบมะเดื่อ รูปกลมขนาดเล็กเป็นรูปทรงไข่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.สุกสีเหลือง เมื่อสุกสีแดงเป็นอาหารที่นกชอบอีกชนิดหนึ่ง ภายในผลประกอบไปด้วยเมล็ดเล็กๆจำนวนมาก ผลออก มีนาคมถึงเมษายน

 ด้านภูมิทัศน์: เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ควรมีเนื้อที่ เหมาะแก่การให้ร่มเงา และ ผลเป็นที่ชื่นชอบของนกอีกด้วย

http://picdb.thaimisc.com/m/maipradab/4682-6.jpg
ใบและผลต้นกร่าง/นิโครธ
http://picdb.thaimisc.com/m/maipradab/4682-10.jpg
ลักษณะด้านหลังใบและผลของต้นกร่าง/ต้นลุง

ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ)

โพธิญาณพฤกษา
พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัส

     นิโครธ หรือไทรนิโครธ ภาษาสันสกฤต “บันฮัน” ภาษาฮินดูว่า “บาร์กาต” บางที่เรียกว่า “ต้นอชปาลนิโครธ” อชปาลนิโครธ หมายถึง เป็นที่พำนักของคนเลี้ยงแกะ ต้นนิโครธ แปลว่า ต้นไทร ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว ได้ทรงประทับอยู่ ณ ภายใต้ร่มโพธิ์ต่อไปอีก 7 วัน จึงได้ทรงย้ายไปประทับต่อที่ใต้ร่มไทรนิโครธอีก 7 วัน

http://www.dhammajak.net/gallery/albums/userpics/normal
_%E2%BE%B8%D4%AD%D2%B3%BE%C4%A1%C9%D2%20
(%B5%E9%B9%E4%B7%C3%B9%D4%E2%A4%C3%B8)%205.jpg

     ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ กัสสปพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 27 พระนามว่า พระกัสสปพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 7 วัน จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้นิโครธ

     ตามพุทธประวัติกล่าวถึง
          ตอนที่ 1 พระพุทธเจ้าทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดา
          เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยาแล้วเสด็จไปประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ทรงรับข้าวมธุปายาส
          ตอนที่ 2 
          เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์ 7 วันแล้วจึงได้ทรงย้ายไปประทับ ณ ต้นไทรนิโครธ เป็นเวลาอีก 7 วัน เป็นต้นไทรนิโครธชนิดใบกลม

ความเชื่อของชาวบ้านในชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณต้นกร่างที่ใหญ่ที่สุด ในกรุงเทพฯ
ตั้งอยู่ที่ ซ.ดอนกุศล ถ.เจริญกรุง เขตสาทร



ความเชื่อที่ 1

ชาวบ้านในชุมชนนั้นเชื่อว่าต้นไทรกร่างมีวิญญาณสิงสถิตอยู่เพราะเมื่อก่อน ที่ตรงนั้นเคยเป็นป่าช้ามีแต่ต้นไม้เช่นต้นกล้วยตานีและยังมีศาลเพียงตาอยู่ด้วย

ความเชื่อที่ 2

ชาวบ้านแถวนั้นเล่าว่าพวกเขานับถือเสด็จพ่อ เทพาดำทุ่งกันมากเลยสร้างศาลเจ้าขึ้นชาวบ้านเชื่อว่าเสด็จพ่อ เทพาดำทุ่ง เป็นคนอิสลามดังนั้นเลยมีกฎที่ศาลสำหรับผู้ที่จะนำอาหารหรือสิ่งของมาเซ่นไหว้ว่าห้ามนำเนื้อหมู หัวหมูหรือสิ่งของที่เกี่ยวกับเนื้อหมูมาเซ่นไหว้เด็ดขาด

ความเชื่อที่ 3

ชาวบ้านเล่าว่ามีคนอิสลามมาทำพิธีกรรมพิธีหนึ่งลุงรักเล่าว่าการทำพิธีกรรมนี้เขาได้เห็นมาและจำขั้นตอนได้เป็นอย่างดีขั้นแรกนำน้ำมาล้างต้นไม้แต่จะล้างในบริเวณที่ไม่สูงมากนักเมื่อล้างเสร็จค่อยๆนำผ้ามาเช็ดให้แห้งตามด้วยปะแป้งแล้วจึงนำด้ายแดงมาพันรอบตามด้วยผงสีซึ่งจะมีทั้งสีแดง สีส้ม สีเหลืองแต่การทำพิธีลุงรักเล่าว่าชาวอิสลามจะทำตอนพลบค่ำหรือใกล้มืดไปแล้วและในระหว่างการทำพิธีนี้ชาวอิสลามจะไม่พูดคุยกับคนภายนอกไม่ว่าจะเดินเข้าไปถามก็ตาม

ความเชื่อที่ 4

ชาวบ้านบางคนเล่าว่าเคยเจอเสด็จพ่อ เทพาดำทุ่งและงูดำเลื้อยผ่านศาลส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะนำผลไม้มาเซ่นไหว้เช่น มะพร้าว กล้วยเป็นส่วนใหญ่ส่วนน้ำจะเป็นน้ำแดงส่วนพวงมาลัยมักจะเป็นดอกดาวเรืองและสิ่งของอีกอย่างที่จำเป็นนำมาเซ่นไหว้เลยนั่นคือ หมาก

        ต้นไม้ใหญ่ในกรุงเทพมหานครมีอยู่มากมาย แต่มีที่น่าสนใจมากมีอยู่ต้นหนึ่ง เพราะเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา รายการตามไปดู ได้ไปบันทึกความยิ่งใหญ่ของต้นไม้ต้นนี้ และจัดให้เป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครในขณะนั้น ในปัจจุบัน ยังไม่มีหน่วยงานใดที่สำรวจต้นไม้ในกรุงเทพมหานคร และจัดลำดับความยิ่งใหญ่ ดังนั้นต้นไม้ต้นนี้ยังคงเป็นต้นไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร โปรดติดตามหนูมาซิคะ จะได้ทราบเรื่องราวของต้นไม้ที่มีอายุมากกว่า 200 ปี และใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร

ที่มาของภาพ :: ผู้จัดทำ

ต้นกร่าง ความยิ่งใหญ่กว่า 200 ปี

            หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นกร่างกันมาพอสมควรแล้ว อาจจะมีคำถามมาจากหลายท่านว่า แล้วเราจะไปหาดูต้นกร่างใหญ่ที่ไหนบ้าง หลายคนที่มีอายุมากหน่อย อาจะยังจำกันได้บ้างว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน รายการตามไปดูของหมอซ้ง ได้ยกกองมาถ่ายทำรายการต้นไม้ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ต้นไม้ดังกล่าวอยู่ที่เขตสาทร กลางกรุงเทพมหานครของเรานี่เองค่ะ

  • การเดินทาง

            ต้นกร่างนี้อยู่ที่ซอยเจริญกรุง 57 ถนนเจริญกรุง เขตสาทร กรุงเทพมหานคร สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะเดินทางมาดู ก็ลองดูแผนที่ก็ได้นะคะหาไม่ยากค่ะ แต่ซอยเจริญกรุง 55 ไม่สามารถเอารถยนต์เข้าได้นะคะ เพราะซอยเล็กมาก ขนาดมอเตอร์ไซต์ขับสวนกัน คันหนึ่งยังต้องจอดแอบให้อีกคันไปก่อน ดังนั้นถ้าขับรถมาก็ต้องไปเข้าซอยเจริญกรุง 57 แทน เมื่อเข้าซอยมาให้สังเกตโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยทางซ้ายมือ พอเลยรั้วโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยก็เลี้ยวซ้ายเลยค่ะ จะเห็นต้นกร่างสูงเด่นอยู่ข้างหน้า

http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl

              ถ้ามองจากทางอากาศจะสังเกตได้ชัดเจนถึงความยิ่งใหญ่ของต้นกร่างต้นนี้

http://maps.google.co.th/maps?hl=th&tab=wl
  •  ใหญ่ 10 คนโอบ สูงเท่าตึก 7 ชั้น อายุกว่า 200 ปี

          เมื่อมองจากทางเข้าซอยเจริญกรุง 57 จะเห็นต้นกร่างอยู่ตรงหน้า (ภาพที่ 1) ส่วนด้านซ้ายเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยสูง 7 ชั้น จะเห็นได้ว่า ต้นกร่างสูงเท่ากับตึก 7 ชั้น แต่ทว่าที่เห็นนั้นเป็นต้นที่เกิดจากรากของต้นแม่ที่ขยายออกมา ต้นกร่างที่เป็นต้นแม่ถูกตึกบังอยู่ค่ะ

ภาพที่ 1 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

              เมื่อเดินเข้าไปใกล้ จะเห็นความใหญ่โตของต้นกร่างได้อย่างชัดเจน ต้นกร่างต้นนี้ขึ้นอยู่ชิดกำแพงรั้วโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย แล้วแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปทุกทิศทาง บริเวณโคนต้นเป็นที่ตั้งของ “ศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง” ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวชุมชนบริเวณใกล้เคียง จะได้กลิ่นธูป ควันเทียนอยู่ตลอดเวลา

ภาพที่ 2 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

              ต้นกร่างอยู่สุดซอยเจริญกรุง 55 ชาวบ้านบริเวณนั้นจะใช้เป็นที่พักผ่อน พุดคุยกัน เพราะความร่มเย็นของเงาไม้ ทำให้ผู้ที่เข้าไปใต้ต้นไม้จะรู้สึกเย็นสบาย แม้จะเป็นเวลาเที่ยงวันก็ตาม

              จากภาพที่ 2 ต้นกร่างตรงกลางคือต้นแม่ที่มีอายุมากกว่า 200 ปีมาแล้ว ชาวบ้านซึ่งบริเวณนั้นล่าให้ฟังว่า ลองให้คนมาโอบล้อมต้องใช้คนกว่า 10 คน ส่วนความสูงก็เท่ากับอาคาร 7 ชั้นของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กิ่งก้านที่แตกออกมามีขนาดแต่ละกิ่งต้องใช้คนโอบ 2-3 คน นับว่ามีขนาดใหญ่โตมากทีเดียว

              ส่วนต้นทางซ้ายของภาพที่ 2 เป็นต้นลูกที่แตกกิ่งมาจากต้นแม่ มีอายุประมาณ 10 กว่าปี ซึ่งพาดคร่อมรั้วโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยพอดี ขนาดก็ใหญ่พอควร

ศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง
ภาพที่ 3 ถ่ายโดยผู้จัดทำ
ภาพที่ 4 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

      ภาพที่ 4 เป็นภาพของต้นกร่างต้นแม่ ที่ถ่ายภาพจากข้างล่างย้อนขึ้นไป ตึกด้านซ้ายเป็นตึกอาคารเรียนของโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ส่วนตึกทางขวาเป็นอาคารของชาวบ้านในชุมชน ระยะห่างระหว่าง 2 ตึก คือความกว้างของซอยเจริญกรุง 55

  • ความประมหัศจรรย์ภายในต้นกร่าง

          หากเดินเข้าไปที่โคนต้นกร่าง แทบไม่น่าเชื่อว่า ภายในต้นไม้จะมีความมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่

          ภาพที่ 1 จะเห็นโคนต้นที่ใหญ่มาก ลองเทียบกับถังขยะของกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งอยู่อีกข้างของซอยดูซิคะ

ภาพที่ 1 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

       ภาพที่ 2 เป็นบริเวณโคนต้นด้านหลังศาลเสด็จพ่อเทพาดำทุ่ง จะสามารถมองทะลุลอดโคนต้นไปยังด้านหน้าได้ ส่วนภาพที่ 3 เป็นภาพที่มองจากด้านหน้าศาลลอดไปยังด้านหลัง

ภาพที่ 2 ถ่ายโดยผู้จัดทำ
ภาพที่ 3 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

        ภาพที่ 4 ช่องที่สามารมองลอดได้นั้น คนทั่วไปสามารถที่จะเดินผ่านเข้าออกได้อย่างสบาย นอกจากนั้น ภายในต้นไม้ยังมีลักษณะของรากต้นไม้ที่ชาวบ้านบอกให้ฟังว่าเหมือนกับเป็นหัวของงูอีกด้วย ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 4 ถ่ายโดยผู้จัดทำ
ภาพที่ 5 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

     ภาพที่ 6 เมื่อเข้าไปใช่องที่ลอดได้ แล้วเงยหน้าขึ้นไป จะเห็นรากของต้นกร่างพันกันไปมา

ภาพที่ 6 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

หลังจากที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นกร่างกันมาพอสมควรแล้ว อาจจะมีคำถามมาจากหลายท่านว่า แล้วเราจะไปหาดูต้นกร่างใหญ่ที่ไหนบ้าง หลายคนที่มีอายุมากหน่อย อาจะยังจำกันได้บ้างว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน รายการตามไปดูของหมอซ้ง ได้ยกกองมาถ่ายทำรายการต้นไม้ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ต้นไม้ดังกล่าวอยู่ที่เขตสาทร กลางกรุงเทพมหานครของเรานี่เองค่ะ

  • อีกหลายๆมุมของต้นกร่าง

          ภาพที่ 1 เป็นต้นกร่างที่เป็นต้นลูก ชาวบ้านที่มีอาชีพค้าขายในบริเวณนั้น จะใช้เป็นที่เตรียมของที่จะไปขาย

          ภาพที่ 2 เหมือนภาพที่ 1 แต่มุมมองไกลมากกว่า

          ภาพที่ 3 เป็นกิ่ง ก้าน และใบของต้นกร่าง

ภาพที่ 1 ถ่ายโดยผู้จัดทำ
ภาพที่ 2 ถ่ายโดยผู้จัดทำ
ภาพที่ 3 ถ่ายโดยผู้จัดทำ

 ต้นกร่าง แหล่งความรู้สำหรับนักเรียนในเขตสาทร ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูกัลยารัตน์ เมธีวีรวงศ์ ซึ่งเป็นหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย ที่จะได้ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่เป็นของจริง อยู่ใกล้กับสถานศึกษา

          ต้นกร่างข้างรั้วโรงเรียน ที่ยังไม่เคยมีใครสนใจที่จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้มากว่า 200 ปี เมื่อได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับต้นกร่างต้นนี้ จึงได้เกิดแนวคิดที่จะให้นักเรียนในชมรมต้นไม้คือชีวิต ซึ่งเป็นชมรมหนึ่งของนักเรียนที่มีความสามารถทางปัญญา ด้าน “ธรรมชาติ” ได้ศึกษาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 

          เทปวิดิทัศน์ที่ท่านได้ชมข้างล่างนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าว ผลที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมคือ

  1. นักเรียนได้ทราบถึงสิ่งที่มีคุณค่าในชุมชนของตนเอง
  2. นักเรียนตระหนักที่จะหวงแหนสิ่งเหล่านี้ไว้ให้อยู่กับชุมชนต่อไป
  3. นักเรียนได้เห็นคุณค่าของต้นไม้ที่มีต่อชีวิต
  4. นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจะร่วมกันรักษาแหล่งเรียนรู้นี้ให้อยู่คู่ชุมชน “ศรีสุริโยทัย” ตลอดไป

ที่มาของวีดิทัศน์ : http://www.suriyothai.ac.th/files/download/2.wmv
ถ่ายทำโดยครูโอภาศ ชื่นบานเย็น โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร
ใช้โปรแกรม Windows Media Player 9.0 ขึ้นไปในการชม

      ต้นไม้ เป็นปอดของมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนกรุงเทพมหานคร การรู้จักรักษา ดูแลให้ต้นไม้คงอยู่กับมนุษย์ตลอดไปเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ รวมถึงปลูกฝังลงสู่เยาวชนรุ่นต่อๆไปด้วย ในฐานะที่ดิฉันเป็นหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย มีหน้าที่โดยตรงที่ต้องพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทุกคนให้สูงสุดตามความสามารถของนักเรียน ดิฉันจึงให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนทำแบบประเมินความสามารถทางปัญญา (พหุปัญญา) เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และเป็นแนวทางให้คณะครู อาจารย์ได้พัฒนานักเรียนได้ตรงตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของนักเรียนอย่างแท้จริง   จากผลการทำแบบประเมินพบว่า  มีนักเรียนที่มีความสามารถทางปัญญาด้าน “ธรรมชาติ” มีมากถึง 513 คน ดิฉันจึงให้นักเรียนได้จัดตั้งชมรมตามความสนใจ และเมื่อมีนักเรียนสนใจที่จะจัดตั้งชมรม “ต้นไม้คือชีวิต” ดิฉันจึงรับเป็นที่ปรึกษาให้กับสมาชิกชมรมนี้ทันที นักเรียนสนใจที่จะศึกษาต้นไม้ทั้งหมดในโรงเรียน และเลือกต้นกร่าง เป็นต้นไม้ต้นแรกที่จะศึกษาอย่างจริงจัง  จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ดิฉันสนใจที่จะรวบรวมข้อมูล “ต้นกร่าง”ข้างโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยให้มากที่สุด  และที่สำคัญ คือ ต้องการที่จะให้ทุกคนได้รู้จักแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งแหล่งหนึ่ง  และอยู่ติดกับโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยนี่เอง ต้องการให้นักเรียนได้ภาคภูมิใจว่า ในกรุงเทพมหานคร แม้จะมีต้นไม้ใหญ่เหลือเพียงไม่กี่ต้น แต่ “ต้นกร่าง” ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครต้นนี้ จะได้รับการดูแล รักษา ปกป้อง และใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียนและผู้สนใจตลอดไป

     สิ่งที่ทำให้หนูสนใจที่จะสร้างสือการเรียนรู้เรื่องนี้ เนื่องจากต้นไม้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร อยู่ข้างๆ โรงเรียนของหนูนี่เอง แต่ด้วยความสงสัยและอยากรู้เพิ่มเติม คำถามมากมายวนเวียนอยู่ในหัวของหนู เวลาที่หนูนั่งมองต้นไม้ต้นนี้

     ถ้าชุมชนนี้ร่วมกันพัฒนา และส่งเสริมให้ต้นไม้นี้เป็นจุดขาย และพัฒนาปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวจุดหนึ่งของกรุงเทพฯ คงจะสร้างรายได้ให้กับชุมชนข้างโรงเรียนของหนู ได้เป็นอย่างดี

 

หนูขอขอบคุณแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ให้ความกรุณา แบ่งปันข้อมูล ความรู้ 

 คุณครูโอภาศ ชื่นบานเย็น ที่ช่วยบันทึกวีดิโอ 

 คำบอกเล่าของชาวบ้านในชุมชน
       ซ.เจริญกรุง 55 และซ.เจริญกรุง 57 ถ.เจริญกรุง เขตสาทร กทม. 

 http://www.saunmitpranee.com/catalog.php?category=25

 http://www.library.ssru.ac.th/archives/grang.html

 http://www.bkknews.net/newbkk1/bkkkhun/detail.php?idnew=40

 http://park.dnp.go.th/visitor/scenicsh ow.php?id=35

  http://www.saunmitpranee.com/catalog.php?category=47

  http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=75&lg=1 

  http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/attraction.asp

  http://wowboom.blogspot.com/2009/09/general-sherman.html

 http://www.bkknews.net/newbkk1/bkkkhun/detail.php?idnew=40  

 http://thainews.prd.go.th/forest/index.php?option=com_content&task=view&id=3&Itemid=4

 http://www.rspg.thaigov.net/homklindokmai/budhabot/nikrot.htm

 http://board.palungjit.com/f15/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%
B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%
E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%
B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%
A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%
97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%
A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%
9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%
9C%E0%B8%99-116248.html

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=link-conner55&month=10-2006&date=06&group=110&gblog=11

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sweetwind&group=2  

 http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=saochiangmai&month=06-2007&date=04&group=2&gblog=14

 http://www.dek-d.com/board/view.php?id=984538 

 http://www.ryt9.com/s/bmnd/703770/ 

 http://krudada.spaces.live.com/blog/cns!D0F59E76A9B96E27!171.entry 

 http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/index.php?option=com_content&view=article&id=415:2009-05-25-13-26-47&catid=7:87&Itemid=25 

 http://www.saunmitpranee.com/catalog.php?category=47

ย่อ