การเรียงลำดับพระมหากษัตริย์
สร้างโดย : นางสาวณัฏฐนิช เหล่าบุศณ์อนันต์
และเหตุการณ์สำคัญ ในสมัยอาณาจักรอยุธยา
สร้างเมื่อ อาทิตย์, 25/05/2008 – 21:43
มีผู้อ่าน 236,985 ครั้ง (09/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/2107
การเรียงลำดับพระมหากษัตริย์
และเหตุการณ์สำคัญ ในสมัยอาณาจักรอยุธยา
รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
- พระเจ้าอู่ทองเข้ามาเสวยราชสมบัติ พราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทร บรมพิตรพระพุทธิเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ แล้วให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรขึ้นไปครองราชย์สมบัติในเมืองลพบุรี
- ครั้งนั้นขอมมีการแปรพักตร์ จึงให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวรให้ยกทัพไปตีกัมพูชา ในศึกครั้งนั้นไทยเสียพระศรีสวัสดิ์ไปให้แก่ชาวกัมพูชา เมื่อข่าวเข้ามาถึงพระนคร จึงมีพระราชโองการให้ไปเชิญสมเด็จพระบรมราชาธิราช ซึ่งเป็นพระเชษฐา อยู่ที่เมืองสุพรรณบุรีให้ไปรับกับกัมพูชา เพื่อช่วยพระศรีสวัสดิ์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า จึงยกทัพไปตีกัมพูชา ได้รับชัยชนะกลับมาและกวาดต้อนชาวกัมพูชาเข้ามาในไทยได้มากมาย
- ศักราช 715 ทรงพระกรุณาตรัสว่าที่พระตำหนักเวียงเหล็กให้สถาปนาเป็นพระวิหารและพระมหาธาตุ เป็นพระอารามแล้วให้ชื่อว่า วัดพุทไธศวรรย์
- ศักราช 725 ทรงพระกรุณาตรัสว่า ให้เผาศพที่ตายด้วยโรคอหิวา และที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และวิหารเป็นพระอารามแล้วให้นามว่า วัดป่าแก้ว
- ศักราช 731 สมเด็จพระรามาธิบดีเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 20 ปี
รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ 1 )
- สมเด็จพระราเมศวรขึ้นเสวยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระรามาธิบดี
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราช ( ครั้งที่ 1 )
- ปีศักราช 732 สมเด็จพระบรมราชาธิราช เสด็จลงมาจากสุพรรณบุรี สมเด็จพระราเมศวรจึงถวายราชสมบัติแล้วถวายบังคมลาขึ้นไปอยู่ลพบุรีอย่างเก่า
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสามารถตีเอาเมืองฝ่ายเหนือ เมืองนครพัง เมืองแซงเซรา เมืองพิษณุโลก ได้สำเร็จ ครั้งที่เสด็จไปเอาเมืองชากังราวนั้น พญาใช้แก้ว พญากำแหง ซึ่งเป็นเจ้าเมือง ออกรบกับท่าน พญาใช้แก้วตาย แต่พญากำแหงและไพร่พลหนีไปได้ ทัพหลวงจึงเสด็จกลับมาพระนคร
- ศักราช 738 เสด็จไปเอาเมืองชากังราวได้สำเร็จ
- ศักราช 744 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 13 ปี
พระเจ้าทองลัน
- พระเจ้าทองลันขึ้นเสวยราชสมบัติได้ 7 วัน พระราเมศวรเสด็จลงมาจากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลัน แล้วปลงพระชนม์ ที่วัดโคกพญา
รัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( ครั้งที่ 2 )
- ศักราช 746 สมเด็จพระราเมศวรให้ยกพลขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ฝ่ายเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอพระราชทานให้งดทำศึก 7 วัน เพื่อนำเครื่องราชบรรณาการออกไปเจริญพระราชไมตรี เมื่อครบ 7 วันแล้ว เสบียงในกองทัพเริ่มจะหมด สมเด็จพระราเมศวรทรงพระกรุณาสั่งให้บุกเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าเมืองเชียงใหม่หนีออกไปได้ เหลือแต่นักส้างบุตรของเจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงทรงให้นักส้างถวายสัตยานุสัตย์ และให้ครองราชสมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ ขณะนั้น พญากัมพูชายกทัพเข้ามาถึงเมืองชลบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธิเจ้าอยู่หัว ให้พญาไชยณรงค์เป็นทัพหน้า ยกไปถึงสะพานแยก ชาวกัมพูชาออกมาตีทัพพญาไชยณรงค์ ทัพของพญากัมพูชาแตก พระเจ้าอยู่หัวยกเข้าตีเมืองได้ พญากัมพูชาหนีไปได้ จับได้พญาอุปราชลูกพญากัมพูชา
- ศักราช 749 สถาปนาวัดภูเขาทอง เวลาเย็นเสด็จไป ณ พระที่นั่งมังคลาภิเษก ท้าวมลซึ่งตายแต่ก่อนนั้นมานั่งขวางทางเสด็จอยู่และหายไป สมเด็จพระราเมศวรบรมบพิตรก็เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 6 ปี
รัชกาลสมเด็จพระยาราม
- พระยารามซึ่งเป็นพระราชกุมารท่านได้เสวยราชสมบัติ 14 ปี สมเด็จพญารามมีความพิโรธแก่เจ้ามหาเสนาบดี และให้กุมเอาตัวเจ้ามหาเสนาบดี แต่เจ้ามหาเสนาบดีหนีรอดไปอยู่ฟากปทาคูจาม จึงให้เชิญสมเด็จพระอินทราชา ณ เมืองสุพรรณบุรี เสด็จเข้ามาปล้นเอาพระนครศรีอยุธยาได้
อ่านเพิ่มเติม...
รัชกาลสมเด็จพระอินทราชา
- สมเด็จพระอินทราชานั้น เสวยราชสมบัติ ให้สมเด็จพญารามไปครองเมืองปทาคูจาม ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าอ้ายพญา ครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พญาครองเมืองแพรกศรีราชา เจ้าสามพญาครองเมืองชัยนาท
- ศักราช 780 สมเด็จพระอินทราชาเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 15 ปี เจ้าอ้ายพญา เจ้ายี่พญา ยกเข้ามาชิงกันจะเอาราชสมบัติ ทั้ง 2 พระองค์ ทรงพระแสงของ้าวต้องพระศอขาดพร้อมกันทั้ง 2 พระองค์
รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
- มุขมนตรีออกไปเฝ้าเจ้าสามพญา เพื่อเชิญเข้ามาในพระนครเสวยราชสมบัติ ทรงพระนามชื่อ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
- ศักราช 783 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองนครหลวงได้ ท่านจึงให้พระราชกุมารท่านพระนครอินท์เจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองนครหลวง
- ศักราช 786 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าสร้างวัดมเหยงคณ์
- ศักราช 790 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปเอาเมืองเชียงใหม่ แต่ทรงพระประชวร ทัพหลวงจึงเสด็จกลับ อีก 2 ปีถัดมา เสด็จขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง ครั้งนั้นได้เชลยศึกแสนสองหมื่นคน ทัพหลวงเสด็จกลับ
- ศักราช 796 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 16 ปี
รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
- สมเด็จพระราเมศวร เจ้าผู้เป็นพระกุมารของสมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ขึ้นเสวยสมบัติ ทรงพระนามชื่อ พระบรมไตรโลกนาถ สร้างพระที่นั่งสรรเพชญบปราสาท แล้วพระราชทานชื่อขุนนางตำแหน่ง เอาทหารเป็นสมุหกลาโหม เอาพลเรือนเป็นสมุหนายก เอาขุนเมืองเป็นพระนครบาลเมือง เอาขุนวังเป็นพระธรรมาธิกร เอาขุนนาเป็นพระเกษตรา เอาขุนคลังให้ถือเป็นโกษาบดี และที่ถวายพระเพลิงสมเด็จพระรามาธิบดี ที่พระองค์สร้างกรุงนั้นให้สถาปนาพระมหาธาตุและพระวิหารเป็นอารามชือ วัดพระราม
- ศักราช 802 เกิดไข้ทรพิษผู้คนล้มตายจำนวนมาก
- ศักราช 803 แต่ทัพไปเอาเมืองมะละกา
- ศักราช 804 แต่ทัพไปเอาเมืองสพเถิน
- ศักราช 805 เกิดปัญหาราคาข้าวเปลือกแพง
- ศักราช 806 ให้บำรุงพระพุทธศาสนาและหล่อรูปพระโพธิสัตว์ 550 พระชาติ
- ศักราช 808 พญาเชลียงคิดกบฎ ปีถัดมา พญาเชลียงนำมหาราชมาเอาเมืองพิษณุโลกแต่ไม่สำเร็จ จึงยกทัพไปเอาเมืองกำแพงเพชรแทน เข้าปล้นถึง 7 วันก็ยังไม่ได้เมือง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระอินทราชาเสด็จไปช่วยกัน ครั้งนั้น พระอินทราชาต้องปืน ณ พระพักต์ ทัพมหาราชนั้นเลิกกลับคืนไป
- ศักราช 810 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสร้างวิหารวัดจุฬามณี
- ศักราช 811 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพระผนวช วัดจุฬามณีได้ 8 เดือน และลาพระผนวช
- ศักราช 813 มหาท้าวบุญชิงเมืองเชียงใหม่
- ศักราช 815 พระบรมไตรโลกนาถได้ช้างเผือก
- ศักราช 816 สมภพพระราชโอรส
- ศักราช 821 ตั้งเมืองนครไทย
- ศักราช 822 พระสีหราชเดโชถึงแก่กรรม
- ศักราช 824 พญาลานช้างถึงแก่กรรม
- ศักราช 828 พระบรมราชาผู้เป็นพระราชโอรสทรงผนวช
- ศักราช 829 สมเด็จพระโอรสเจ้าลาผนวช
- ศักราช 832 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้าเสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 38 ปี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
- สมเด็จพระบรมาชาธิราชเจ้าซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชสมบัติ ทรงพระนาม สมเด็จพระรามาธิบดี
- ในสมัยพระองค์มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และได้มีการนำปีนไฟมาด้วย การรบแบบใช้ดาบลดความสำคัญลง มีการแต่ตำราว่าด้วยการรบขึ้น เช่น การจัดกระบวนทัพ การตั้งค่าย การเดินทัพ การเข้าจู่โจม และการตั้งรับ
- มีการจัดตั้งกรมสุรัสวดีขึ้น(คือ สัสดี ในปัจจุบัน) กรมสุรัสวดีมีหน้าทำบัญชีหางว่าว แยกประเภทว่าขุนนางผู้ใดมีเลกมนสังกัดจำนวนเท่าใด(เลก หมายถึง ไพร่มีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการเป็นทหาร)
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สร้างสถูปเจดีย์ขึ้น 2 องค์ เพื่อบรรจุ อัฐิสมเด็จพระราชบิดา และบรรจุอัฐิของพระเชษฐา นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นในวัดสุทธาวาสนี้ แล้วหล่อพระพุทธรูปองค์ใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์หุ้มทองคำ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ (ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพม่าเอาไฟเผาเพื่อลอกเองทองคำ จนองค์พระละลาย ครั้งเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2300)
- ทรงโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองขึ้นเป็นครั้งแรกในคลอกสำโรงกับคลองทัพนางในเมืองพระประแดง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและการเดินเรือระหว่างลำแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองบางปะกง
- พ.ศ. 2050 พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่หวังจะแสดงอานุภาพด้วยการขยายอาณาเขต จึงยกทัพลงมาตีกรุงสุโขทัย ชาวเมืองรักษาเมืองไว้อย่างเข้มแข็ง ทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกถอยไป สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 รับสั่งให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ และตีได้เมืองแพร่
- พ.ศ. 2056 เมืองเชียงใหม่ได้ให้หมื่นพิงยียกพมาตีเมืองสุโขทัย และหมื่นมะลายกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชร แต่ชาวเมืองก็รักษาเมืองไว้ได้ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จึงยกทัพไปปราบปรามเมืองลำปาง แล้วยกทัพกลับมาและทรงเห็นว่าพระอาทิตยวงศ์พระราชโอรส มีพระชนมายุพอสมควรที่จะรับพระราชภาระของพระองค์ได้แล้ว จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระบรมราชาตำแหน่งพระมหาอุปราช และไปครองเมืองพิษณุโลก
- ชาวโปรตุเกสตีเมืองมะละกาได้ ต่อมาชาวโปรตุเกสรู้ว่าเมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นของไทย เกรงว่าไทยจะยกทัพไปตีเอาเมืองคืน จึงแต่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ชาวโปรตุเกสจึงได้ค้าขายกับไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวโปรตุเกสได้นำอารยธรรมมาเผยแพร่เป็นอันมาก ได้นำวิธีใช้ปืนไฟและวิชาทหารแบบยุโรปเข้ามาเผยแพร่ ได้มีชาวโปรตุเกสเข้ามารับราชการทหารไทย และเป็นกำลังในทางสงครามได้อย่างดี
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2034 และสวรรคตในปี พ.ศ. 2074 สิริครองราชย์ได้ 38 ปี รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา
รัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
(รัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 )
- สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูรเป็นโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เดิมได้รับสถาปนา ให้เป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองเมือง พิษณุโลก เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว จึงให้พระไชยราชาซึ่งเป็นอนุชาต่างมารดาไปครองเมืองพิษณุโลกแทน
- ในสมัยพระองค์ได้เจริญสัมพันธไมตรีกับเชียงใหม่ ขณะนั้น กรุงศรีฯได้มีการติดต่อคาขายกับโปรตุเกส และชาวโปรตุเกสได้นำปืนไฟมาใช้ และมีการทำปืนไฟ และสร้างป้อมปราการต่อสู้ปืนไฟ ที่สวรรคโลกสุโขทัย และอยุธยา
- ทรงครองราชย์ได้ 4 ปีก็สวรรคตด้วยโรคไข้ทรพิษ
รัชกาลสมเด็จพระรัษฎาธิราช
- ทรงเป็นโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่4(หน่อพุทธางกูร) เนื่องจากได้ได้มีการตั้งพระมหาอุปราชไว้ดังรัชกาลก่อน เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 สวรรคต จึงได้เชิญ พระรัษฎาธิราชกุมาร อายุ 5 พรรษา ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนาม พระรัษฎาธิราช
- ครองราชย์ได้ 5 เดือนเศษ พระไชยราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอา ยกทัพมาจับไปสำเร็จโทษ สวรรคต
รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช
- เมื่อสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราชแล้ว ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงมีโอรส 2 พระองค์ คือ พระยอดฟ้า และ พระศรีสิน ในสมัยของพระองค์พม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงกราน ทรงยกทัพหลวงไปตีคืนมา ได้เกณฑ์ชาวโปรตุเกสไปช่วยรบด้วย เมื่อมีชัยชนะ จึงพระราชทานอนุญาต ให้ชาวโปรตุเกสสร้างวัดสอนศาสนาคริสต์ได้แต่นั้นมา
- เจ้าครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งขึ้นต่อกรุงศรีฯถูกฆ่าตาย บรรดาหัวเมืองต่างๆไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าเชียงใหม่คนใหม่ จึงได้ขอให้ทางศรีอยุธยา ส่งทัพไปปราบ เมื่อยกทัพไปถึงเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ออกมาขอสวามิภักดิ์
- ในสมัยพระองค์ได้มีการปรับปรุงบ้านเมือง และขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าคลองบางกอก
- ต่อมาเชียงใหม่เห็นพม่ามีกำลังเข้มแข็ง จึงเอาใจออกห่าง ไปสวามิภักดิ์ต่อพม่า
- เมื่อสมเด็จรพระไชยราชาธิราชทรงทราบก็โกรธมาก ได้ยกทัพไปตีเชียงใหม่ ตีลำพูน ตีลำปาง ได้แล้วก็ยกไปล้อมเชียงใหม่ไว้ นางพญามหาเทวีซึ่งครองเชียวใหม่เห็นสู้ไม่ได้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ ทรงยกทัพกลับมากลางทางก็ทรงประชวร ถึงแก่สวรรคต ทรงครองราชย์มา 12 ปี
รัชกาลสมเด็จพระยอดฟ้า
- พระยอดฟ้าโอรสองค์โตของพระไชยราชาธิราช ขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 11 พรรษา แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ จึงได้ทูลเชิญพระราชชนนี คือ พระนางศรีสุดาจันทร์เป็นผู้บริหารราชการแผ่นดินแทน ทรงพระนามว่า นางพญาแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ต่อมาท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ไปพัวพันกับ พันบุตรศรีเทพ ซึ่งเป็นพนักงานรักษาหอพระ ทรงให้เลื่อนตำแหน่ง พันบุตรศรีเทพ เป็นขุนชินราช แล้วย้ายเข้ามาอยู่หอพระข้างในและได้ลักลอบเป็นชู้กัน หลังจากนั้นได้เลื่อนให้เป็นขุนวรวงศาธิราช ต่อมาทรงพระครรภ์ จึงเกรงจะปิดเป็นความลับไม่ได้ จึงกำจัดพระยอดฟ้าเสีย โดยการยาพิษลงในอาหาร แล้วยกขุนวรวงศาธิราชขึ้นครองราชย์แทน
- พระยอดฟ้าครองราชย์ได้ 2 ปี ก็สวรรคต
รัชกาลขุนวรวงศาธิราช ( พันบุตรศรีเทพ )
- ขุนวรวงศาเมื่อได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์แล้วได้ตั้งนายชัน ซึ่งเป็นอนุชา เป็นพระมหาอุปราชา และได้จัดเปลี่ยนตำแหน่ง เจ้าเมืองทั้งหลายโดยเอาคนสนิทไปแทน
- ต่อมาขุนพิเรนเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ วางแผนกำจัดขุนวรวงศา และท้าวศรีสุดาจันทร์ แล้วไปเชิญพระเฑียรราชาซึ่งผนวชอยู่มาปกครองแผ่นดินต่อไป
รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช
- ขุนพิเรนเทพขุนอินเทพและขุนนางทั้งปวง ได้ไปอัญเชิญพระเฑียรราชา ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน มาครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จรพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราชเจ้า และทรงได้รับเลี้ยงพระศรีสินไว้
- ทรงปูนบำเหน็จ แก่ผู้ทำความชอบทั้งหลาย
- แต่งตั้งให้ขุนพิเรนเทพเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา ไปครองเมืองพิษณุโลก และยกพระเจ้าลูกเธอพระสวัสดิราช ให้เป็นอัครมเหสี ทรงพระนามว่า พระวิสุทธิกษัตรีย์
- เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาเกิดความวุ่นวายเนื่องจากพระไชยราชาสวรรคต และได้ตั้งพระยอดฟ้า พระโอรส ขึ้นครองราชย์ แต่ท้าวศรีสุดาจันทน์ ได้คบชู้กับขุนชินราชและฆ่าพระยอดฟ้าตาย และยกขุนชินราชขึ้นครองราชย์แทน พวกข้าราชการทั้งหลายโกรธแค้น จึงวางแผนฆ่าขุนชินราชและท้าวศรีสุดาจันทน์เสีย
- ข่าวรู้ไปถึงทางพม่า พม่าจึงยกทัพมาตีไทยทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี เมื่อรู้ว่าบ้านเมืองสงบแล้วก็คิดจะยกทัพกลับแต่ก็เลยมาดูกำลังท่าทีของทางกรุงศรีฯ พม่ายกมาตีสุพรรณบุรี ป่าโมกข์ แล้วตั้งค่ายอยู่ที่ ตำบล ลุมพลี ล้อมกรุงอยู่3วัน ทางไทยก็ยกกำลังทหารป้องกันเมืองได้ พม่ายกทัพกลับ
- เมื่อข่าวหงสาวดียกมาตีกรุงศรีฯ พญาละแวกรู้ว่าทางกรุงศรีฯเพิ่งผลัดแผ่นดินใหม่ก็ถือโอกาสเข้ามากวาดต้อนผู้คนแถวปราจีนบุรีไป หลังจากนั้นทางกรุงศรีฯได้จัดแจงซ่อมแซมกำแพงเมืองดดและสร้างวัดชื่อ วัดวังไชย
- ศักราช 893 ทำพระราชพิธีประถมกรรม
- ศักราช 894 ทรงให้ยกทัพไปตีระแวก พญาละแวกยอมแพ้ ส่งสารมาขออ่อนน้อม และส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย แล้ให้นักพระสุโท นักพระสุทัน มาเป็นข้าพระบาท ทรงให้พญาละแวกกลับไปครองเมืองอย่างเดิม นำนักพระสุโท นักพระสุทันกลับมากรุงศรีฯ แล้วให้
- นักพระสุทัน ไปครองเมือง สวรรคโลก
- ศักราช 895 ทรงให้แปลงเรือแซเป็นเรือไชยและเรือศรีษะสัตว์ต่างๆ
- ศักราช 896 ทำพิธีมัธยมสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช ที่ตำบล ชัยนาทบุรี
- ศักราช 897 เสด็จไปวังช้าง ตำบล บางละมุง ได้ช้าง 60 เชือก และในเดือน 12 ได้ช้างเผือกที่กาญจนบุรี ชื่อ พระคเชนทโรดม
- ญวนยกทัพมาตี ละแวกและพญาละแวกเสียชีวิต ทรงให้ นักพระสุทันซึ่งไปครองสวรรคโลก ยกทัพไปช่วย
- ศักราช 898 พญาสวรรคโลกแพ้ญวนและเสียชีวิต
- ศักราช 899 เกิดเพลิงไหม้ในราชวังในเดือน 3 ทำการพระราชพิธี อาจาริยาภิเษก ในเดือน 7 เสด็จไปวังช้าง ตำบล โครกพระ ได้ช้าง 60 เชือก
- ศักราช 902 เสด็จไปวังช้าง ตำบล วัดกระได ได้ช้าง 50 เชือก
- ศักราช 904 เสด็จไปวังช้าง ตำบล ไทรน้อย ได้ช้าง 70 เชือก
- ศักราช 905 พม่ายกทัพใหญ่มาตีกรุงศรีฯ ไพร่พล 3 แสนให้พระมหาอุปราชาเป็นกองหน้า พระเจ้าแปรเป็นเกียกกาย พญาพสิมเป็นกองหลัง พระเจ้าหงสาวดีเป็นจอมทัพ ทรงช้างพลายมงคลปราบทวีป ยกมาทางเมาะตะมะ ทางกาญจนบุรีส่งข่าวมา สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ได้สั่งการให้ พระมหาธรรมราชา ซึ่งอยู่ทางพิษณุโลก ยกทัพมาช่วย ให้พระยาจักรีออกตั้งค่ายที่ลุมพลีรับศึก พระมหานาคสึกออกมา เกณฑ์ผู้คนช่วยขุดคูนอกค่าย กับทัพเรือ เรียกว่าคลองมหานาค
- ทัพพม่ายกข้ามกาญจนบุรีมาถึงอยุธยาตั้งค่ายหลวงที่ตำบลบ้านใหม่ มะขามหย่อง ทัพพญาพระสิมตั้งค่ายที่ ตำบล ทุ่งประชด
- วันรุ่งขึ้น สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยกทัพออกไปดูกำลังข้าศึกที่ทุ่งภูเขาทอง ทรงช้างต้นพลายจักรรัตน์ พระสุริโยทัยแต่งองค์เป็นพญามหาอุปราช ทรงช้างพลายสุริยกษัตริย์
- พระราเมศวรทรงช้างพลายมงคลจักรพาส พระมหินทริราชทรงช้างพลายพิมานจักรพรรดิ
- พม่าก็โจมตีไทยอย่างหนัก ทางกรุงศรีฯได้ตั้งรับไว้ รอทัพพิษณุโลกมาช่วย
- พระมหาธรรมราชาได้จัดกำลังทัพมาช่วยอยุธยา ยกมาตั้งทัพที่ชัยนาท
- พม่ายกมาตีไทย มาจนเสบียงอาหารเริ่มขาดแคลน และใกล้จะถึงฤดูฝน จำเป็นจะต้องยกทัพกลับ พม่าวางแผนจะยกไปทางกำแพงเพชร ออกด่านแม่ละเมา ซึ่งจะต้องไปปะทะกับทัพพระมหาธรรมราชา ก็เกรงว่ากรุงศรีจะยกทัพมาตีท้ายกระหนาบ ก็เลยจัดทัพออกมาตั้งรับทั้งกองหน้าและกองหลัง โดยให้พระมหาอุปราชา รั้งท้ายคอยสู้กับทัพกรุงศรีฯ
- ทางกรุงศรีฯเมื่อรู้ว่าพม่าถอยทัพไปก็จัดส่งกำลงไปตีทัพโดย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช อาสาไป
- พม่ายกทัพกลับไป มาถึงอินทรบุรี พม่าเข้ายึดค่ายไว้ได้ ทหารไทยซึ่งหนีมาได้เข้าทูลต่อพระมหาธรรมราชาว่า พม่ายกทัพมามากมายเห็นเกินกำลังจะต่อสู้ได้ ก็ให้ทหารกระจายกำลังออกดักซุ่มโจมตี
- พระราเมศวรและพระมหินทรายกทัพมาใกล้ถึงที่ทัพพระมหาธรรมราชาอยู่ก็จะเข้าโจมตี แต่ถูกพม่าซ้อนกล พระเจ้าลูกเธอทั้งสองถูกจับไป
- ทหารซึ่งแตกทัพไป ได้ไปกราบทูลต่อพระมหาจักรพรรดิก็ทรงให้แต่งสารไปเจริญพระราชไมตรี ขอให้ปล่อยโอรสทั้งสองกลับ
- พม่ายอมปล่อยโอรสทั้งสองแต่ขอช้างพลายศรีมงคลและพลายมงคลทวีปไปแลก
- เมื่อนำช้างทั้ง 2 ไปส่งแก่พม่า ปรากฏว่าควาญช้างไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องส่งคืน
- พม่ายกทัพกลับทางกำแพงเพชรออกด่านแม่ละเมาะ
- เมื่อถวายพระเพลิงสมเด็จพระสุริโยทัยแล้วพระมหาธรรมราชาทูลลากลับไปพิษณุโลก ส่วนที่พระราชเพลิงศพได้พระราชทานนามว่า วัดศพสวรรดิ์ แล้วทรงจัดเขตเมืองใหม่ให้เป็นระเบียบเพื่อป้องกันข้าศึก
- ศักราช 906 พระศริสิน(น้องพระยอดฟ้า) ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่วัด ราชประดิษฐาน คิดกบฎ จับได้แต่ไม่ได้ประหาร ให้คุมตัวไว้ที่วัดธรรมิราช จะให้บวชแต่ พระศรีสินหนีไปชุมนุมไพร่พลที่ ตำบล ม่วงมดแดง แล้วยกมาเข้ายึดพระราชวัง พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพาทหารต่อสู้ พระศรีสินตาย
- ศักราช 907 เสด็จไปวังช้าง ตำบล ไทรน้อย ได้ช้างเผือกชื่อ พระรัตนากาศ
- ศักราช 908 ไปวังช้าง ตำบลป่าเพชรบุรี ได้ช้างเผือก ชื่อ พระแก้วทรงบาท ต่อมาได้ช้างเผือกแม่ลูก ที่ตำบล ป่ามหาโพธิ์
- ศักราช 909 ได้ช้างเผือกที่ทะเลชุบศร ชื่อ พระบรมไกรสร ต่อมาได้ช้างเผือกที่ตำบล ป่าน้ำทรง ชื่อ พระสุริยกุญชร
- กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองมากมีช้างเผือกถึง 7 เชือก พ่อค้าต่างชาติมาค้าขายจำนวนมาก จนได้รับถวายพระนามว่า พระเจ้าช้างเผือก
- พม่าถือโอกาสให้ทูตส่งสารมาขอช้างเผือก 2 เชือก หากไม่ให้จะยกทัพมาตี
- ทางไทยไม่ยอมให้ พระเจ้ากรุงหงสาวดีจึงให้ยกทัพมาตีอยุธยา โดยยกมามากกว่าครั้งก่อนถึง 3 เท่า
- ศักราช 910 พม่ายกทัพใหญ่มา พระเจ้าหงสาวดีเป็นจอมทัพ ทรงช้างพลายเทวนาคพินาย ยกทัพมาทางเมาะตะมะ กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลโคก
- พระมหาธรรมราชาส่งคนไปแจ้งกรุงศรีให้ยกมาช่วย พม่าส่งสารเข้าไปให้พระมหาธรรมราชาออกมาเจรจากับพระมหาธรรมราชา เห็นทัพพม่ามากมาย ก็รู้ว่าสู้ไม่ได้ยอมออกไปสวามิภักดิ์ พม่าให้พระมหาธรรมราชายกทัพตามมา
- ทัพกรุงศรีซึ่งยกทัพไปช่วยแต่ได้ข่าวว่าหัวเมืองทางเหนือได้ไปเข้ากับพม่าแล้วก็ถอยทัพกลับ
- ทัพพม่ามาล้อมกรุงศรีไว้ พระมหาจักรพรรดิ์ รู้ว่าทัพพม่ายกมาครั้งนี้มากกว่าครั้งก่อน ก็ให้รักษาเมืองไว้ ไม่ได้ยกทัพออกไปต่อสู้ด้วย พม่าก็ส่งสารมาท้ารบ หาไม่ก็ให้ออกมาเจรจาสงบศึก
- พระมหาจักรพรรดิ์ ออกไปเจรจาสงบศึกกับพม่าที่วัดพระเมรุราชิการาม พม่าเรียกร้องเอาช้างเผือกเป็น 4 เชือก และขอเอาพระราเมศวรไปพม่าด้วย และขอให้พญาจักรีและ
- พระสมุทรสงครามไปด้วย ไทยเสียช้าง 4 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระบรมไกรสร
- พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาท
- พญาตานี ซึ่งยกทัพมาช่วยกลับคิดเป็นกบฎ พระมหาจักรพรรด์หนีไปเกาะพราห์ม ทหารตีชาวตานี กลับไป
- ศักราช 912 พระเจ้ากรุงสรีสัตนาคนหุตได้แต่งทูตมาขอพระเทพกษัตริย์ไปเพื่ออภิเษกด้วย ทรงเห็นเป็นการผูกไมตรีจึงพระราชทานให้
- เจ้าเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต แต่งทูตมารับพระเทยกษัตริย์ตรีแต่ทรงพระประชวรหนักจึงได้ยกพระแก้วฟ้าไปแทน
- พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต ถวายส่งคืนพระแก้วฟ้าโดยขอพระราชทานพระเทพกษัตริย์ตรีอย่างเดิม
- เมื่อทรงหายประชวรแล้ว ก็ทรงให้จับขบวนส่งพระเทพกษัตริย์ตรีไป
- พระมหาธรรมราชาแจ้งข่าวเรื่องนี้ไปยังพม่า พม่าส่งคนมาแย่งพระเทพกษัตริย์ตรีไป พระเจ้าศรีสัตนาคนหุตโกรธแค้นมากจะยกทัพมาตีพิษณุโลก แต่พระมหาจักรพรรดิ์ห้ามไว้
รัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราช
- ศักราช 914 พระมหินทราธิราชขึ้นครองราชย์แทนและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ได้เสด็จออกไปอยู่วังหลัง ขณะนั้นพระชนมมายุ 59 พรรษา ส่วนพระมหินทราธิราช เสวยราชสมบัติอายุ 25 พรรษา
- ขณะนั้นพระมหาธรรมราชาได้สิทธิขาดในการปกครองเมืองเหนือและสั่งการต่างๆยังกรุงศรีฯ ทำให้ทรงไม่พอพระทัย ขณะนั้นพระยารามออกจากำแพงเพชร มาเป็นพญาจันทบูร ทรงได้ร่วมกันวางแผนให้ ศรีสัตนาคนหุตยกทัพมาตีพิษณุโลก พระมหาธรรมราชาไม่รู้ว่าเป็นแผนของพระมหินทราธิราช จึงขอให้มาช่วย พระมหินทราธิราชได้ส่งพญาศรีราชเดโชและพญาท้ายน้ำไปโดยจะให้ไปจับกุมพระมหาธรรมราชาแต่พญาศรีราชเดโช กลับนำความลับนี้ไปแจ้งแก่ พระมหาธรรมราชา พระมหาธรรมราชาจึงแจ้งข่าวให้พม่ามาช่วย
- พระเจ้าศรีสัตนาคนหุต ยกทัพมาถึงพิษณุโลกตั้งทัพที่ตำบล โพธิเวียง
- พระมหินทราธิราช ทำทียกทัพไปช่วยโดยยกไปทางน้ำ พระมหาธรรมราชา เมื่อรู้แผนการของกรุงศรีฯแล้วก็ไม่ให้ยกทัพเข้าเมือง วางแผนใช้แพไม้ไผ่วางเพลิงไป เผากองเรือกรุงศรีฯแตกพ่ายไป
- พม่ายกทัพมาช่วย ทัพกรุงศรีและศรีสัตนาคนหุตก็เลยถอยทัพกลับ
- เดือน 8 ปีขาล พระมหาจักรพรรดิ์เสด็จทรงผนวช พระมหาธรรมราชารู้ว่า พญารามเป็นคนวางแผนเรื่องต่างๆจึงได้มีสารมาขอตัวพญารามให้ไปเป็นพญาพิชัย พญารามกลัวถูกส่งตัวไปพม่า จึงทูลยุยง เรื่องพระมหาธรรมราชาไปเข้ากับพม่า และมาบังคับบัญชาพระองค์ หากพม่ายกทัพมาจะอาสาป้องกันพระนครเอง
รัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ราชาธิราช ครั้งที่ 2
- พระมหินทราธิราช ไปทูลเชิญให้มาครองราชย์สมบัติใหม่ พระมหาธรรมราชา เสด็จไปหงสาวดีเพื่อขอโทษแทนพญาพุกาม และพญาเสือหาญ ซึ่งทำการผิดพลาด พระเจ้าหงสาวดียกโทษให้
- ข่าวพระมหาธรรมราชาเสด็จไปหงสาวดีรู้ถึงกรุงศรีฯ พระมหินทราธิราชจึงทูลแก่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ว่า พระมหาธรรมราชา ได้ไปขึ้นกับพม่า เห็นควรจะให้ไปรับ สมเด็จพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถ ซึ่งเป็นพระพี่นางและพระนัดดาลงมา พระมหาธรรมราชาเมื่อรู้ข่าวก็ให้พระเจ้าหงสาวดีช่วย
- ศักราช 917 พม่ายกทัพมาถึงกำแพงเพชร มาถึงนครสวรรค์มาสมทบกับทัพของพระมหาธรรมราชา แล้วยกลงมาล้อมกรุงศรีฯได้ พระยาราม ก็จัดทหารป้องกันพระนคร
- ทัพพม่ามาตั้งค่ายที่ ตำบล ลุมพลี ต่อสู้กับทหารไทยอยู่ถึง 2 เดือน ก็ยกมาถึงริมคูเมือง กรุงศรีอยุธยาส่งสารไปให้ล้านช้างยกทัพมาช่วย
- พม่าเมื่อล้อมกรุงศรีฯไว้แล้วเห็นจะเข้าตีก็ยากจึงให้ทหารจัดหาเสบียงอาหาร ไว้ให้พอต่อการรบ 1 ปี ทุกกองหากกองใดมิได้จะมีโทษประหาร
- ศักราช 918 พระเจ้าช้างเผือกประชวรหนัก และสวรรคต ครองราชย์มา 22 ปี
- พระมหินทราธิราชไม่ได้สนใจการศึกปล่อยให้พญารามเป็นคนสั่งการทุกอย่าง
- ทัพพม่าและไทยต่อสู้กันหลายครั้ง แต่ไทยยังป้องกันเมืองไว้ได้ พระเจ้าหงสาวดีจึงสั่งให้ทหารถมดินคูคลองเพื่อให้เข้ามาถึงกำแพงนครได้ ทางกรุงศรีฯต่อสู้ แต่พม่าไม่ย่อท้อ ทำการอยู่ 3 เดือน ก็ถมดินมาถึงฟากพระนคร
- พม่ายกมาทางมุมถนนเกาะแก้วทหารไทยสู้ไม่ได้ก็แตกพ่ายลงมา พม่าพยายามหลายครั้ง แต่ก็ตีเข้าเมืองไม่ได้ จึงออกอุบายให้ส่งตัวพญารามออกไป แล้วพม่าจะยกทัพกลับ
- เมื่อส่งพญารามออกไปแล้วทางพม่าก็กลับคำไม่ยอมยกกลับ จะรบเอากรุงศรีฯให้ได้ โดยยื่นเงื่อนไขให้ พระเจ้าแผ่นดินมายอมถวายบังคม จึงจะยอมเป็นไมตรีด้วย ฝ่ายไทยไม่ยอมทำตาม
- ล้านช้างซึ่งฝ่ายไทยได้ส่งสารขอให้มาช่วยก็ยกทัพมา ทัพพม่าตีทัพล้านช้างแตกไป พม่าจะตีกรุงศรีฯให้ได้ใช้อุบายให้พญาจักรี ซึ่งไปเป็นเชลยพม่า มาเป็นไส้ศึกโดยแกล้งทำเป็นลงโทษพญาจักรี แล้วให้หนีมาเข้ากรุงศรีฯ พระมหินทราธิราชเข้าใจว่าพญาจักรีหนีมาจริงๆก็ดีใจ แต่งตั้งให้ทำหน้าที่บัญชาการรบ พญาจักรีก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาต้องแตกแก่ข้าศึกในวันเสาร์ แรม 11 ค่ำ เดือน 9 ศักราช 918
- พม่าจับพระมหินทราธิราชไป และให้พระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยา
รัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา
- สมเด็จพระมหาธรรมราชาขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาอายุได้ 54 พรรษา พม่าคุมตัวพระมหินทราธิราชกลับไป แต่ทรงประชวรหนัก สวรรคต
- ศักราช 919 พญาละแวกยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ยกมาปล้นถึง 3 ครั้ง ไม่ได้ จึงยกทัพกลับ
- ศักราช 920 ทรงให้สมเด็จพระนเรศวรไปครองพิษณุโลก ขณะนั้นมีพระชนมายุ 16 พรรษา
- ศักราช 921 พม่ายกทัพไปตีล้านช้างให้พระเจ้าอยู่หัวและพระนเรศวร เสด็จไปด้วย แต่ให้พระเอกาทศรฐอยู่รักษาพระนคร ทัพพม่าตีล้านช้างไม่ได้ ยกทัพกลับ
- พญาละแวกยกทัพมาตีไทยอีกรอบ แต่ตีเข้าไม่ได้ได้
- ศักราช 922 พญาละแวกยกทัพมาอีกมาตีเอาเมืองเพชรบุรี แต่ตีไม่ได้ ยกทัพกลับไป
- ศักราช 924 ให้จัดแต่งป้อมค่ายคูประตูเมือง และเกิดกบฎญาณพิเชียร
- เดือน 3 พญาละแวกยกทัพมาตีเพชรบุรี แตกกวาดต้อนผู้คนไป
- ศักราช 925 ละแวกส่งทหารมาทางตะวันออก พระนเรศวรส่งทัพมาตี เขมรแตกไป
- ศักราช 926 สมเด็จพระเจ้าหงสาวดีสวรรคต พระชนมายุ 65 พรรษา มังเอิงราชบุตร ขึ้นครองราชย์แทน เมืองรุม เมืองคัง พากันแข็งเมือง พระนเรศวรยกทัพไปช่วยปราบสำเร็จ
- พระเจ้าหงสาวดีมีความระแวงในความสามารถของพระนเรศวร คิดจะกำจัดเสีย ออกอุบายให้มาช่วยปราบกรุงรัตนะบุระอังวะ
- พระนเรศวรยกทัพไปถึงเมืองแครง วันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 พักพลอยู่นอกเมืองใกล้วัดพระมหาเถรคันฉ่อง พระมหาเถรคันฉ่องได้บอกข่าวที่พม่าคิดกำจัดพระองค์ พระองค์จึง ประกาศเอกราช ไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง แล้วยกทัพกลับ ทัพพม่าตามมาถึงริมฝั่งแม่น้ำสโตง ก็ข้ามฟากมา พม่าตามมาทัน ทรงพระแสงปืนข้ามไปถูก สุรกำมา แม่ทัพพม่าตาย พม่าก็ยกทัพกลับไป
- พระนเรศวรได้กราบทูลเรื่องประกาศเอกราชต่อพระมหาธรรมราชา แล้วยกทัพกลับพิษณุโลก
- ต่อมาทางสวรรคโลก เมื่อรู้ว่า พระนเรศวรเป็นศัตรูกับพม่าแล้วก็ยกทัพมาตีพิษณุโลก ทรงปราบได้สำเร็จ
- ในเดือน 9 นั้น ได้ทรงยายผู้คนลงมากรุงศรีฯ และพระนเรศวร ก็เสด็จมากรุงศรีฯด้วย
- พม่ายกทัพมาตีไทยอีกในศักราช 929 พระนเรศวรและพระเอกาทศรถยกทัพไป ข้าศึกสู้ไม่ได้แตกไป
- พญาละแวกส่งทูตมาขอเป็นไมตรีด้วย
- ศักราช 930 พม่าให้เชียงใหม่ยกทัพมาตีไทยอีกโดยมาตั้งที่นครสวรรค์
- พญาละแวกส่งพระศรีสุธรรมาธิราชผู้เป็นอนุชายกมาช่วย วันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือนอ้าย เชียงใหม่ยกทัพมาตั้งที่ ตำบล สระเทศ
- เดือน 5 พระเจ้าหงสาวดี ให้พระมหาอุปราชายกทัพมาที่กำแพงเพชร ทำการสะสมเสบียง ไว้ทำศึกกับไทย โดยให้ทัพเชียงใหม่ล้อมกรุงศรีฯไว้
- พระมหาธรรมราชา เกรงว่าหากทัพพม่ายกมาสมทบกับทัพเชียงใหม่ ก็จะยากในการต่อสู้ จึงให้ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถยกทัพไปตีทัพเชียงใหม่แตกไป
- พอเลิกทัพกลับมาถึงตำบล โพธิสามต้นเห็นเรือพระศรีสุพรรมาธิราชจอดดูอยู่ไม่ได้หมอบนั่งดูอยู่จึงให้พระพิไชยบุรินทรา ตัดศรีษะเชลยไปเสียบไว้ที่เรือ พระศรีสุพรรมาธิราช
- พระศรีสุพรรมาธิราชแค้นใจคิดอาฆาตแต่ทำอะไรไม่ได้ พอเสร็จศึกก็ยกทัพกลับไป
- พระเจ้าเชียงใหม่ซึ่งแตกทัพไป ได้ไปรวมกับทัพพระมหาอุปราชาที่กำแพงเพชร
- พระศรีสุพรรมาธิราช เมื่อกลับไปได้ไปทูลฟ้องพญาละแวกว่าถูกดูหมิ่น พญาละแวกโกรธ คิดจะตัดไมตรีกับกรุงศรีฯ
- พระเจ้าหงสาวดีรู้ว่าเจ้าเชียงใหม่แพ้ก็โกรธ คาดโทษให้กลับไปเชียงใหม่ รวบรวมเสบียงอาหารให้พอกับคน 3 แสน
- เดือน 12 พม่ายกทัพมาทางเชียงทอง มาประชุมพลที่กำแพงเพชร ให้เจ้าเชียงใหม่ ยกทัพมาสมทบ
- พฤหัสบดีขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 พม่ายกทัพใหญ่มาตั้งมั่นที่ ตำบล ขนอนปากคู ตำบล มะขามหย่อง
- พระมหาอุปราชา และพญาตองอูยกมาทางลพบุรี สระบุรี มาตั้งที่ ตำบล ชายเคือง
- กรุงศรีฯเห็นพม่ายกทัพใหญ่มาก็เกณฑ์พลกันเก็บเกี่ยวข้าวในท้องนาให้หมด ไม่ให้เหลือเป็นเสบียงแก่พม่า
- ทัพไทยได้ยกออกไปปะทะกับพม่าหลายครั้ง พระนเรศวร และพระเอกาทศรถได้ยกทัพไปตีทัพพม่าถอยไปตั้งที่ ป่าโมกข์
- พม่ายกมาล้อมพระนครไว้ 6 เดือน เสียไพร่พลเป็นอันมากจึงยกทัพกลับ
- ละแวกรู้ว่าพม่ามาตีไทย ก็ส่งทหารมารุกรานไทย ทางแถบตะวันออก ตีปราจีนบุรีแตก พระเจ้าอยู่หัวโกรธก็ให้จัดทัพไปตีทัพพญาละแวก ละแวกตีมาถึงนครนายก โดนทัพไทยตีแตกหนีไป
- ศักราช 932 พม่ายกทัพมาตีไทยอีกโดนมาทางกำแพงเพชรมาถึงอยุธยา แรม 14 ค่ำ เดือน อ้าย ตั้งค่ายที่บางปะหัน พระนเรศวรยกทัพออกสู้กับทัพพม่า พม่าพยายามเข้าตีพระนครหลายครั้งไม่สำเร็จ ยกทัพกลับไป
- ศักราช 940 สมเด็จพระมหาธรรมราชาประชวร สวรรคต พระชนมายุ 76 พรรษา ครองราชย์มา 22 ปี
พระนเรศวร
- พระนเรศวร เป็นกษัตริย์องค์ที่ 19 (ในจำนวน 34 พระองค์)แห่งอาณาจักรอยุธยา พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชา (อดีตเจ้าเมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 18 ของอยุธยา) ซึ่งเป็นเชื้อสายของราชวงศ์สุโขทัย พระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ไทยสกุลลัทธิชาตินิยมในฐานะ “วีรกษัตริย์” ผู้กอบกู้ “เอกราช” ให้กับอยุธยาซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่ 15 ปี ระหว่าง 2112-2127 พระนเรศวรมีพระพี่นาง 1 องค์ และพระอนุชา 1 องค์ พระนเรศวรเป็นที่รู้จักในนามของ “องค์ดำ” ผู้มีความปรีชาสามารถในการสงคราม สามารถสถาปนาอาณาจักรอยุธยาให้มีอำนาจและความยิ่งใหญ่ ส่วนพระอนุชา (ซึ่งต่อมาจะเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเอกาทศรถ) นั้นรู้จักกันในพระนามว่า “องค์ขาว” พระนเรศวรทรงได้รับยกย่องให้เป็น 1 ในบรรดากษัตริย์ไทยที่ทรงเป็น “มหาราช” พระนเรศวรประสูติเมื่อ 2098 ที่เมืองพิษณุโลกในสมัยที่พระราชบิดายังทรงดำเนินตำแหน่งเจ้าเมืองนั้นอยู่ เมื่ออายุได้ 9 พรรษาถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพระโค(หงสาวดี) สืบเนื่องมาจากพม่ายึดเมืองพิษณุโลกได้ และพระราชบิดาได้เข้าร่วมกับฝ่ายพม่า ทั้งนี้เพื่อประกันความจงรักภักดีต่อพม่า พระนเรศวรจึงถูกส่งไปเป็นตัวประกันทรงประทับอยู่ในฐานะ “โอรสบุญธรรม” ของกษัตริย์พม่าถึง 7 ปี ครั้นเมื่อพม่ายึดอยุธยาได้ในปี 2112 พระมหาธรรมราชาได้ขึ้นครองราชสมบัติในฐานะเมืองขึ้นของพม่า พระนเรศวรจึงเสด็จกลับจากเมืองพระโค(หงสาวดี) เมื่อปี 2114 พระชนมายุได้ 16 พรรษา ทั้งนี้โดยการที่พระมหาธรรมราชาต้องส่งพระราชธิดาไปเป็นตัวประกันแทน จากนั้นพระนเรศวรก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก และมีตำแหน่งในฐานะอุปราช หรือ “วังหน้า” โดยมีพระอนุชา ในฐานะ “วังหลัง” ที่จะสืบราชสมบัติแทน
- ในช่วงระยะเวลา 19 ปีก่อนขึ้นครองราชนั้น พระนเรศวรทรงมีส่วนในการสงครามป้องกันอยุธยาเป็นอย่างมาก ทั้งการสงครามกับพม่าและกัมพูชา และในที่สุดก็ได้ประกาศ “อิสระภาพ” ในปี 2127 เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี 2112 นั้น อาณาจักรไทยนอกจากจะแตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว(ทั้งอยุธยาและเชียงใหม่)ภาคกลางของไทยได้รับความเสียหายมาก ประชากรส่วนใหญ่ถูกกวาดต้อนไปพม่า เมืองหลายเมืองต้องถูกทิ้งร้าง เพราะขาดประชากร ที่อยุธยาเองพม่าตั้งกองทัพของตนไว้ 3,000คน ทั้งนี้เพื่อควบคุมพระมหาธรรมราชาไม่ให้เอาใจออกห่าง ดังนั้นอยุธยาจึงอยู่ในสภาพที่อ่อนแอ และขาดกำลังทหารป้องกันเมืองเป็นอย่างมาก
- ความอ่อนแอของอยุธยาเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งกองทัพมารุกรานหัวเมืองชายทะเล ตั้งแต่แถบเมืองจันทบุรีถึงเพชรบุรี ระหว่างปี 2113-2130 กัมพูชาส่งกองทัพมาตีหัวเมืองชายทะเลดังกล่าวถึง 6 ครั้ง และกวาดต้อนประชากรไปเป็นจำนวนมาก สงครามไทย-กัมพูชานี้เป็นสงครามที่ประทุในแถบชายแดนจันทบุรี และเป็นสงครามที่มีการปล้นสะดมประชากรกัน สงครามในลักษณะดังกล่าวมีมาตั้งแต่สมัยต้นอยุธยา พระนเรศวรมีส่วนอย่างมากในการป้องกันอยุธยาในครั้งนี้ การสงครามกับกัมพูชาในครั้งนั้นทำให้อยุธยาสามารถใช้เป็นข้ออ้างในการที่จะสะสมกำลังคนโดยการโยกย้ายประชากรจากหัวเมืองเข้ามายังอยุธยา ทั้งยังสามารสร้าง และซ่อมแซมกำแพงเมืองตลอดจนป้อมปราการ และจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมได้โดยปราศจากความสงสัยจากพม่า นอกเหนือจากภัยสงครามจากภายนอกแล้ว ในสมัยดังกล่าวอยุธยาก็ยังเผชิญกับปัญหาภายใน คือ “ขบถไพร่ญาณพิเชียร” ในปี 2124ด้วย
- ในปี 2124 พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่าสวรรคต และพม่าภายใต้ราชวงศ์ตองอูก็ทำท่าว่าจะแตกสลาย พระนเรศวรได้เสด็จไปยังเมืองพระโคเพื่อไปในงานพระศพของกษัตริย์พม่า และน่าจะทรงทราบดีถึงโอกาสที่อยุธยาจะได้เป็นเอกราช ในขณะเดียวกันพม่าก็ทราบดีเช่นกันว่า พระนเรศวรจะเอาใจออกห่าง ดังนั้นจึงได้ใช้มอญให้วางแผนกำจัดพระนเรศวร แต่พระยาเกียรติพระยาราม ขุนนางมอญกับนำความลับนี้มากราบทูลต่อพระนเรศวร ดังนั้น ปี 2127 พระนเรศวรจึงประกาศ อิสรภาพ ของอยุธยา ตลอดปลายรัชสมัยของบิดาของพระองค์ พระนเรศวรต้องทำสงครามต่อต้านการรุกรานของพม่า ระหว่าง 2128-2130 พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติเมื่อปี 2133 เมื่อพระบิดาสวรรคต และมีพระชนมายุ 35 พรรษา
- ตามประวัติศาสตร์ไทยกล่าวว่า “สงครามยุทธหัตถี” หรือการรบโดยการชนช้างในปี 2135-2136 เป็นสงครามที่พระนเรศวรทรงมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือพม่า พระมหาอุปราชแม่ทัพพม่า สิ้นพระชนม์ด้วยพระแสงของ้าวของพระนเรศวรที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้นับได้ว่าเป็นสงครามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพุทธศตวรรษที่22 หลังจากนั้นไทยกับพม่าก็ค่อนข้างจะว่างสงครามกัน100กว่าปี จนเมื่อพม่าได้สถาปนาราชวงศ์อลองพญา(คองบอง)
- ตลอดรัชสมัย 15 ปีของพระนเรศวร พระองค์ทรงพยายามสถาปนาความเป็นปึกแผ่นของอยุธยา ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง ทรงทำให้กัมพูชาต้องยอมเป็นเมืองขึ้น
- ตามหลักฐานประวัติศาสตร์กล่าวว่าพระนเรศวรทรงสนใจในการเมืองระหว่างประเทศ เห็นได้จากการเสนอส่งกองทัพไทยไปช่วยจีนรบกับญี่ปุ่น ในสมัยของ โตโยโตมิ ฮิเดโยชิ เมื่อปี2135 แต่ทางจีนได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้เมื่อปี 2136
- พระนเรศวรสวรรคตที่เมืองหาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ 2148 พระชนม์พรรษาได้ 50 ปี และดูเหมือนว่าพระองค์จะไม่มีพระราชโอรสหรือพระธิดา บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ไม่มีฝ่ายในด้วยซ้ำไปดังนั้นพระอนุชาคือพระเอกาทศรถจึงได้ครองราชสมบัติแทน
พระเอกาทศรถ
- พระเอกาทศรถ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 20 ของอยุธยา พระองค์เป็นพระอนุชาของพระนเรศวร ทรงประสูติเมื่อ 2103 มีพระชนมายุอ่อนกว่าพระนเรศวร 5 พรรษา ในสมัยที่พระราชบิดาทรงครองราชย์ พระเอกาทศรถได้สถาปนาเป็น “วังหลัง” เมื่อพระนเรศวรขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน พระเอกาทศรถก็ได้รับยกย่องในฐานะเท่าเทียมกับพระนเรศวร พงศาวดารไทยจะกล่าวถึงพระองค์ในฐานะของ “พระเจ้าอยู่หัว” อีกพระองค์หนึ่ง ทั้งนี้อาจจะเป็นได้ว่าพระเอกาทศรถทรงร่วมรบในสงครามกับพระนเรศวรมาตลอด และอาจเป็นเพราะพระนเรศวรไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีพระมเหสีหรือพระโอรส พระเอกาทศรถจึงอยู่ในฐานะของอุปราชหรือผู้ที่จะได้สืบราชสมบัติอย่างชัดเจน หลักฐานจากชาวฮอลันดากล่าวถึงพระองค์ในฐานะ “พระอนุชาธิราชพระราเมศวร” ซึ่งตำแหน่ง พระราเมศวร เป็นตำแหน่งของพระโอรสองค์โตในสมัยต้นอยุธยา พระเอกาทศรถขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ ปี 2148 พระชนมายุได้ 45 พรรษา
- พระเอกาทศรถขึ้นครองอยุธยาในสมัยที่อาณาจักรเป็นปึกแผ่นมั่นคง พระนเรศวรได้ขยายอำนาจของอยุธยาออกไปอย่างกว้างขวางอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในสมัยอยุธยาก่อนหน้านี้ อยุธยามีอำนาจเหนือเชียงใหม่ และรุกเข้าไปในดินแดนรัฐฉาน ทางด้านพม่าตอนใต้ก็ได้แถบทวาย มะริด ตะนาวศรี และทางด้านกัมพูชาก็ทำให้เขมรต้องยอมรับอำนาจของไทย แต่อย่าางไรก็ตามบรรดาอาณาเขตเหล่านี้จำนวนมากก็เป็นอิสระเมื่อสิ้นพระนเรศวร กระนั้นก็ตามอำนาจของอยุธยาในพม่าตอนล่างก็ยังคงอยู่ ทำให้เปิดประตูการค้าไปในอ่าวเบงกอลที่ประจวบเหมาะกับการที่ชาติตะวันตกแพร่อิทธิพลของตนเข้ามาทำการค้าขาย จึงเป็นรัชสมัยการปูพื้นฐานของการที่อยุธยาจะมีสัมพันธ์ด้าาานการค้าและการเมืองกับประเทศตะวันตก ซึ่งจะเห็นได้ชัดในกลางพุทธศตวรรษที่ 22ต้น23 พระเอกาทศรถเป็นกษัตริย์อยุธยาองค์แรกที่ส่งทูตไปถึงกรุงเฮก ประเทศฮอลันดาเมื่อ 2151 และฮอลันดาก็ตั้งสถานีการค้าของตนในอยุธยา ฮอลันดามีจุดมุ่งหมายที่จะใช้อยุธยาเป็นเมืองท่าแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นฐานในการที่จะค้าขายต่อกับจีนและญี่ปุ่น ฮอลันดานำเอาผ้าฝ้าย อาวุธ มาแลกกับสินค้าพื้นเมืองคือหนังกวาง และพริกไทย
- เอกสารของชาวต่างประเทศกล่าวว่า ทั้งพระนเรศวรและพระเอกาทศรถทรงโปรด “ชาวต่างชาติ” ดังนั้นอยุธยาจึงต้อนรับชาวต่างชาติอื่น ๆอีก เช่น โปรตุเกส ญี่ปุ่น สมัยนี้เป็นสมัยที่เรือญี่ปุ่นได้รับ “ใบเบิกร่องตราแดง” สินค้าที่ญี่ปุ่นมาซื้อคือฝาง หนังกวาง หนังปลาฉลาม ตะกั่ว ดีบุก
- สมัย พระเอกาทศรถเป็นสมัยการสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ พระเอกาทศรถไม่โปรดการสงคราม ไม้ได้ทำการขยายอำนาจทางทหารอย่างสมัยพระนเรศวร จึงเป็นสมัยการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ และเป็นสมัยที่มีมาตราการทางด้านภาษีอากรอย่างมาก พงศาวดารไทยกล่าวว่า “ทรงพระกรุณาตั้งพระราชกำหนดกฎหมายพระอัยการ และส่วนสัดพัฒนากรขนอนตลาด” ซึ่งหมายถึงการเก็บภาษีจากผลิตผล ตลอดจนภาษีผ่านด่าน และภาษีตลาด ซึ่งตรงกับหลักฐานของฮอลันดาที่ว่าพระองค์ให้สำรวจจำนวนประชากร ให้มีการขึ้นสังกัดต่อนาย ให้มีการสำรวจสวนเพื่อเก็บภาษีต้นไม้(ที่ออกผล)เช่น มะพร้าว หมาก ส้ม มะนาว มะขาม ทุเรียน มะม่วง โดยเก็บต้นละ 1 เฟื้อง
- (เท่ากับ 12 สตางค์ ครึ่ง หรือ = 8อัฐ) เป็นต้น และที่น่าสนใจก็คือมีการเสียภาษีมรดกเมื่อขุนนางสิ้นชีวิตลง 1ใน3ของทรัพย์สมบัติต้องตกเป็นของหลวง
- พระเอกาทศรถครองราชย์เพียง 5 ปี เมื่อสวรรคตก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติแย่งชิงกันในหมู่พระโอรสของพระองค์เอง อันเป็นปัญหาทางการเมืองภายในของอยุธยาที่มีมาตลอดเกือบจะทุกสมัย การสืบราชสมบัติหรือการส่งต่ออำนาจทางการเมือง ไม่สามารถจะสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันได้
พระศรีเสาวภาคย์
- เป็นกษัตริย์องค์ที่ 21 เป็นพระโอรสของพระเอกาทศรถ (กษัตริย์องค์ที่ 20) ได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1 ปี กับ 2 เดือน เข้าใจว่าเป็นระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์ พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรคตไป
พระเจ้าทรงธรรม
- พระเจ้าทรงธรรม เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 22 แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงเป็นโอรสของพระเอกาทศรถแห่งราชวงศ์สุโขทัยที่ได้เข้ามาครองอำนาจในอยุธยาภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งแรก เมื่อ 2112
- พระเจ้าทรงธรรมคงเป็นโอรสที่เกิดจากพระสนม มิใช่จากพระมเหสีซึ่งทำให้ข้ออ้างในการขึ้นครองราชย์ไม่แข็งแรงนัก แต่การสืบสันตติวงศ์ในสมัยอยุธยาก็หาได้มีกฎเกณฑ์แน่นอนไม่ ในบางครั้งขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะควบคุมกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มขุนนางข้าราชการหรือไพร่พล และใช้กำลังในการยึดอำนาจในลักษณะที่เรียกว่า ปราบดาภิเษก การที่พระเจ้าทรงธรรมขึ้นมาครองราชย์ได้ ก็เพราะเจ้าฟ้าสุทัศน์พระโอรสอันเกิดจากพระมเหสีและได้รับสถาปานาเป็นพระมหาอุปราช ซึ่งมีสิทธิจะได้ครองราชสมบัติต่อนั้น ถูกข้อหาขบถต่อพระราชบิดา (เอกาทศรถ) จึงต้องเสวยยาพิษและสิ้นพระชนม์ไปก่อน
- ตามหลักฐานของพงศาวดารไทย กล่าวว่าก่อนที่พระเจ้าทรงธรรมจะขึ้นครองราชย์นั้น โอรสอีกองค์หนึ่งของพระเอกาทศรถได้ขึ้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อนในช่วงเวลาสั้น ๆเพียง 1ปีกับ 2เดือน เข้าใจว่าในระยะเวลาที่พระเจ้าเอกาทศรถจะสิ้นพระชนม์นั้น พระราชโอรสองค์ที่ว่านี้เกิดจากพระมเหสีทรงพระนามว่า พระศรีเสาวภาคย์ เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว และก็มีสิทธิที่จะได้ครองบัลลังก์ต่อเมื่อเจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชบุตรผู้พี่ได้สวรรคตไป
- แต่หลักฐานของชาวยุโรปที่อยู่ในอยุธยาขณะนั้น ยืนยันว่าพระเจ้าทรงธรรมได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเอกาทศรถ ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่ว่า ในขณะที่พระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าทรงธรรมทรงผนวชอยู่ที่ วัดระฆัง ได้สมณฐานันดรเป็น “พระพิมลธรรมอนันตปรีชา” ทรงเชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา มีลูกศิษย์และขุนนางข้าราชการนิยมชมชอบไม่น้อย ทำให้สามารถซ่องสุมผู้คนเป็นกำลังเข้ายึดอำนาจได้
- พระเจ้าทรงธรรมครองราชย์อยู่ 18 ปี และถือเป็นรัชกาลที่ประสบความสำเร็จ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญมากพระองค์หนึ่ง ลักษณะเด่นของรัชสมัยของพระองค์คือ ด้านพระพุทธศาสนา และวรรณกรรม การต่างประเทศ และความสงบภายใน
- ด้านพุทธศาสนามีการค้นพบรอยพระพุทธบาท ที่สระบุรี เมื่อปี 2166 ตามประวัติกล่าวว่านายพรานชื่อบุญเป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญบนภูเขาเล็ก ๆในเขตนั้น พระองค์ได้ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาท และทรงเริ่มประเพณีการเสด็จไปบูชาพระพุทธบาทตั้งแต่รัชสมัยของพระองค์ ประเพณีนี้ถือได้ว่าเป็นประเพณีของการจารึกแสวงบุญที่สำคัญที่สุดของกษัตริย์ของอยุธยา ตราบจนกระทั่งเสียกรุงแก่พม่าในปี 2310 และได้กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านในแถบภาคกลางจนถึงทุกวันนี้ อาจกล่าวได้ว่าการไปไหว้พระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี ทำให้สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ประเพณีนี้จะทำในเวลาหลังฤดูเกี่ยวข้าวแล้ว คือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ หรือ มีนาคม
- อาจกล่าวได้ว่าการค้นพบรอยพระพุทธบาทที่สระบุรีนั้น เป็นการสืบทอดจารีตความเชื่อทางด้านพุทธศาสนาที่ไทยได้รับจากสกุล ลังกาวงศ์นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมาทั้งนี้เพราะในศรีลังกามีประเพณีการขึ้นไปไหว้รอยพระพุทธบาทที่เขาสมณกูฏ อันเป็นความเชื่อที่สร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างพระพุทธองค์ในอินเดียกับประเทศที่นับถือพุทธศาสนา รอยพระพุทธบาทและชื่อเขาสมณกูฏเองก็ปรากฏในสมัยสุโขทัย
- ยังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและพระพุทธรูปสำคัญอีกด้วย เช่นพระมงคลบพิตร การจัดให้มีการแต่ง “มหาชาติคำหลวง” อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายก่อนการตรัสรู้ มหาชาติ หรือ พระเวสสันดร นี้ถือเป็นวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดเรื่องหนึ่งของไทย ยังมีการสร้างพระไตรปิฎกถือได้ว่าเป็นความสำเร็จของรัชสมัยในการที่พระมหากษัตริย์เป็น “องค์ศาสนูปถัมภก” อันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่พระมหากษัตริย์ไทยจะทรงพึงมีในฐานะ “สิทธิธรรมทางการเมืองการปกครอง”
- ด้านการต่างประเทศ พระเจ้าทรงธรรมได้ทรงดำเนินนโยบายสืบต่อมาจากพระเอกาทศรถ อันจะทำให้อยุธยามีบทบาทในการค้า และการติดต่อกับต่างประเทศ เป็นอย่างมากจนถึงสมัยพระนารายณ์
- ชาวต่างประเทศที่นับว่ามีบทบาทอย่างมากในสมัยนี้คือ อังกฤษ ฮอลันดา ญี่ปุ่น ซึ่งติดต่อค้าขายกัน แต่ในบางครั้งมาตั้งสถานีการค้า หรือ บ้าน ในอยุธยาโดยมุ่งจะใช้สยามเป็นเมืองท่าติดต่อไปยังจีนและญี่ปุ่นอีกทอด
- ภายหลังการก่อตั้ง English East India Company เมื่อปี 2143 อังกฤษได้ขยายเข้าไปในชวาซึ่งต้องแข่งขันกับฮอลันดา แล้วฮอลันดาชนะ ทำให้อังกฤษต้องไปสร้างอิทธิพลในอินเดียแทน อังกฤษได้เข้ามาในอยุธยาเพื่อหวังจะได้ตลาดผ้าฝ้ายที่นำมาจากอินเดีย เพื่อแลกกับของป่า
- สำหรับประเทศตะวันตกนั้น ฮอลันดามีบทบาทในอยุธยามากที่สุด
- รัชสมัยของพระเจ้าทรงธรรมไม่ประสบความสำเร็จด้านการทหารและการแผ่ขยายอำนาจ แต่ก็เป็นรัชสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนาและการต่างประเทศ พระเจ้าทรงธรรมทรงประชวรและสวรรคตในปี 2171 เมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา และปัญหาการสืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ก็มีคล้าย ๆกับตอนที่ พระองค์ขึ้นครองราชย์เช่นกัน
พระเชษฐาธิราช
- เป็นกษัตริย์องค์ที่ 23 ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าทรงธรรม (กษัตริย์องค์ที่ 22)
พระอาทิตยวงศ์
- เป็นกษัตริย์องค์ที่ 24 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นอนุชาของพระเชษฐาธิราช (กษัตริย์องค์ที่ 23)
พระเจ้าปราสาททอง
- พระเจ้าปราสาททองเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 ของอาณาจักรอยุธยา และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ปราสาททองอันเป็นราชวงศ์ที่ 4 (ในจำนวน 5 ราชวงศ์) ของอยุธยา
- พระเจ้าปราสาททองประสูติปี 2143 และอาจจะมีสายพันธ์ในการทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าทรงธรรม รับราชการเป็นหมาดเล็กของพระเอกาทศรถ และเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังตอนอายุ 17 ปี เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต2171 ก็เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติอันเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกของอยุธยา ขุนนางในราชสำนักแยกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ เจ้าพระยามหาเสนาสนับสนุนพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าทรงธรรม แต่อีกฝ่ายหนึ่งคือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) สนับสนุนพระเชษฐาธิราชซึ่งเป็นโอรสฝ่ายพระเจ้าทรงธรรม ฝ่ายพระเชษฐาธิราชได้ชัยชนะขึ้นครองราชสมบัติ ดังนั้นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ปราสาททอง) จึงได้รับตำแหน่งกลาโหมมีไพร่พลในบังคับและมีอำนาจมาก พระเชษฐาธิราชครองราชสมบัติได้ 1ปี 7เดือน เกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระเจ้าแผ่นดินถูกจับสำเร็จโทษ และตั้งพระอนุชาคือ พระอาทิตยวงศ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ได้เพียง 1 เดือน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็ยึดอำนาจสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนม์พรรษา 30 พระองค์ครองราชย์ 27 ปี
- พระเจ้าปราสาททองพยายามแก้ปัญหาการปกครองคือพยายามที่จะไม่ให้เจ้าหรือขุนนางคนใดคนหนึ่งมีอำนาจในการคุมไพร่พลมากจนมีอำนาจมากขึ้นได้ ในสมัยพระนเรศวรและพระเอกาทศรถได้ทรงแก้ปัญหานี้แล้วด้วยการตัดกำลังและอำนาจของเจ้าเมืองบางเมือง ยกเลิกตระกูลเจ้าหัวเมืองที่จะสืบต่ออำนาจกัน ใช้การแต่งตั้งจากส่วนการออกไป พระเจ้าปราสาททองได้ดำเนินการให้แบ่งแยกอำนาจกันระหว่าง 2 เสนาบดีผู้ใหญ่ คือ กลาโหมและ มหาดไทย แบ่งหัวเมืองทางเหนือให้อยู่ในบังคับบัญชาของหมาดไทย ให้หัวเมืองทางใต้อยู่ในบังคับบัญชาของกลาโหม
- นอกเหนือจากปัญหาภายในแล้วยังมีปัญหากับชาวต่างชาติคือ ญี่ปุ่น และ ฮอลันดา
- ในสมัยของพระเจ้าปราสาททองเป็นสมัยที่ศิลปะเกี่ยวกับศาสนาเฟื่องฟูมาก มีการรื้อฟื้นอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเขมร เช่นการสร้างปรางค์ที่วัดไชยวัฒนารามและที่อำเภอนครหลวง แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาศิลปะของพระพุทธรูป (ทรงเครื่องกษัตริย์) และปรางค์ (ยอดสูง) แบบไทย อันถือเป็นแบบฉบับที่สำคัญของปลายอยุธยา พระเจ้าปราสาททองทรงเน้นพระราชพิธีเสด็จไปบูชารอยพระพุทธบาทที่สระบุรีอันเริ่มมาแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญของอยุธยาตอนปลาย
เจ้าฟ้าไชย
- เป็นกษัตริย์องค์ที่ 26 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททอง (กษัตริย์องค์ที่ 25) ขึ้นครองราชย์ได้ 2 วัน
พระศรีสุธรรมราชา
- เป็นกษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นพระอนุชาของพระเจ้าปราสาททอง (กษัตริย์องค์ที่ 25) ขึ้นครองราชย์ ได้ 2 เดือน 18 วัน
พระนารายณ์
- พระนารายณ์ ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 แห่งอยุธยา พระองค์ทรงได้รับยกย่องให้เป็นมหาราชองค์หนึ่ง ทั้งนี้เพราะถือว่ารัชสมัยของพระองค์เจริญรุ่งเรืองในทางวรรณคดีและการต่างประเทศ แต่ก็เป็นสมัยที่มีปัญหายุ่งยากทางการเมืองภายในอย่างสูง และเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองระหว่างประเทศในลักษณะที่ล่อแหลมจนเกือบทำให้สยามตกอยู่ใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส สมัยของพระองค์เป็นสมัยที่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากที่สุดของอยุธยาเพราะได้หลักฐานจากชาวตะวันตกที่เข้ามาในราชสำนัก
- พระนารายณ์เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททองกษัตริย์องค์ที่ 25 ทรงประสูติเมื่อ 2175/1632 และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต 2199 พระเชษฐาของพระองค์ คือ เจ้าฟ้าไชย ก็ได้ขึ้นครองราชสมบัติเพียง 2 วัน พระนารายณ์ทรงร่วมสมคบกับพระศรีสุธรรมราชาซึ่งเป็นพระเจ้าอา ชิงราชสมบัติ โดยขอให้ชาวต่างชาติในอยุธยา เช่น ฮอลันดา ญี่ปุ่น มุสลิม (เปอร์เซียและปัตตานี) ช่วยให้พระศรีสุธรรมราชาครองราชสมบัติแทน แต่พระศรีสุธรรมราชาก็อยู่ในสมบัติได้เพียง 10 สัปดาห์ พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติอีกครั้ง
- ในสมัยของพระนารายณ์ทรงพยายามที่จะสถาปนาอำนาจของอยุธยาเหนือล้านนา (เชียงใหม่) และพม่าตอนล่าง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลที่ช่วงชิงกันระหว่างอยุธยาและพม่านับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 ทรงส่งกองทัพเข้ารุกรานเชียงใหม่ (2204) และเมืองของพม่า เช่น เมาะตะมะ ร่างกุ้ง พะโค (2205) ในสมัยของพระองค์ อยุธยาสามารถครอบครองเมืองต่างๆในพม่าตอนล่างสุดไว้ได้ เช่น มะริดและตะนาวศรี และใช้หัวเมืองเหล่านี้เป็นเมืองท่าติดต่อค้าขายกับอินเดีย ตลอดจนชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาเป็นจำนวนมากในแถบนั้น โดยเฉพาะอังกฤษและ ฝรั่งเศส
- บรรดาชาติตะวันตกที่มีความสำคัญในระยะนี้ คือ ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส โดยบทบาทของโปรตุเกสได้เริ่มลดลง บรรดาพ่อค้าเหล่านี้พยายามอย่างยิ่งที่จะเข้ามามีผลประโยชน์ในการค้าของเอเชีย ซึ่งเดิมอยู่ในมือของจีนทางด้านตะวันออกและชาวมุสลิม ชาวตะวันตกตั้งสถานีการค้าของตนเพื่อตัดการค้าผูกขาดของราชสำนักไทยที่มีกับต่างประเทศ แม้ว่าศตวรรษที่ 22 จะมีชาวตะวันตกเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันจากจีนและมุสลิม ทำให้ชาวตะวันตกไม่ได้รับผลกำไรเท่าที่ต้องการ เป็นผลให้การค้าอยู่ในลักษณะที่ปิดๆ เปิดๆ อยู่ตลอดเวลา
- ในสมัยของพระนารายณ์ทรงสร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่ 2 (2208) และในแต่ละปีทรงพำนักอยู่ที่เมืองนี้มากกว่าอยุธยา กล่าวกันว่า การสร้างราชธานีแห่งที่ 2 นี้ก็เพื่อใช้เป็นป้อมปราการในการที่จะต้องเผชิญต่อการปิดล้อมหรือการคุกคามจากชาติตะวันตก (ฮอลันดา) แต่ในการตีความประวัติศาสตร์แบบใหม่ เหตุผลของปัญหาความยุ่งยากทางการเมืองภายในราชสำนักก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง
- จากสมัยของพระองค์ถือกันว่าเป็นสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการ มีการแต่งวรรณกรรมเก่าๆ เช่น จินดามณี (2215) ราโชวาทชาดก (2218) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ (2223) เป็นต้น งานเหล่านี้ถือเป็นพื้นฐานของประวัติศาสตร์และวรรณคดีของไทยในปัจจุบัน
- เรื่องที่ถือว่าเด่นที่สุดของสมัยพระนารายณ์ คือ การติดต่อสัมพันธ์กับราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และเป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อการสูญเสียเอกราชของอยุธยาเป็นอย่างมาก
- ในระหว่าง 2223-2231 มีบทบาทของชาวต่างชาติ (กรีก) ที่มีนามว่า คอนแสตนตินฟอลคอน พ่อค้าผู้นี้ได้เข้ามากับเรือสินค้าของอังกฤษ ด้วยความสามารถทางการค้าและภาษาทำให้ก้าวขึ้นมารับราชการกับกรมพระคลัง และมีส่วนในเรื่องการส่งทูตไทยไปยังเปอร์เซีย ทำให้ได้รับการโปรดปรานเข้าทำงานใกล้ชิดกับพระนารายณ์ จนเลื่อนเป็นเจ้าพระยาวิไชเยนทร์ รักษาการในตำแหน่งพระคลัง และในที่สุดก็ควบคุมกรมมหาดไทยกลายเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่
- ฟอลคอนสนใจระบบการค้าในเอเชีย และต้องการจะหาผลประโยชน์ให้กับตนพร้อมๆกับการทำงานให้ราชสำนักไทย ผลประโยชน์ของเขาขัดกับของอังกฤษ ฮอลันดา และบรรดาชาวมุสลิมที่มีอิทธิพลอยู่ ดังนั้นเขาจึงหันไปร่วมมือกับบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอยู่ในอยุธยา
- ในแง่ของพระนารายณ์ พระองค์สนใจที่จะมีฐานะในทางการระหว่างประเทศโดยส่งทูตไปเปอร์เซีย อินเดีย จีน พระองค์จึงเล็งเห็นความสำคัญและความสามารถของฟอลคอน ในขณะเดียวกันมิชชั่นนารีเยซูอิตก็ได้เข้ามาในอยุธยาตั้งแต่ 2205 มีส่วนช่วยในด้านวิศวกรของการสร้างวังและป้อมปราการให้กับพระนารายณ์ ได้รับอนุญาตพิเศษให้ตั้งสำนักเซมินารีที่จะสั่งสอนศาสนา และพระนารายณ์ก็ส่งสารไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และสันตปาปาที่กรุงโรมโดยผ่านบาทหลวงเหล่านี้ เป็นผลทำให้เกิดความเข้าใจกันว่าพระองค์สนพระทัยในคริสต์ศาสนา และอาจจะเปลี่ยนไปเข้ารีตได้
- ในปี 2223 พระนารายณ์ทรงส่งทูตไปฝรั่งเศส แต่ทูตชุดนี้เรือแตกสูญหายไปนอกฝั่งแอฟริกา ต่อมาในปี 2225 ฝรั่งเศสได้ส่งทูตชุดเล็กเข้ามาทำการเจรจาสร้างพันธมิตรระหว่างประเทศ ซึ่งในปี 2227 ทูตชุดที่ 2 ของไทยก็ไปเจรจาเรื่องนี้ต่อ ผลก็คือในปี 2228-2229
- ฝรั่งเศสได้ส่งทูตชุดใหญ่และสำคัญอันนำโดย เชอวาลิเอ เดอ โชมองต์ เข้ามาในอยุธยาด้วยจุดประสงค์ที่จะให้พระนารายณ์เปลี่ยนศาสนา ให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในการสอนศาสนา ให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ผูกขาดการค้าดีบุกที่ภูเก็ต ให้ได้รับประโยชน์ทางการค้าเท่าเทียมฮอลันดา และให้ตั้งทหารของตนได้ที่เมืองสงขลา
- ทูตชุดนี้ของฝรั่งเศสกลับออกไปในปี 2229 พร้อมกับนำทูตชุดที่ 3 ของไทยที่นำโดย โกษาปาน ไปด้วย เพื่อเจรจาสัญญาต่างๆในรายละเอียดอีกครั้ง โกษาปานไปต่างประเทศในระหว่าง 2229-2230 ขณะเดียวกันสถานการณ์ในสยามก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในปี 2229 เกิดขบถมักกะสัน ซึ่งเป็นพ่อค้ามุสลิมจากเกาะซูลาเวสี (อินโดนีเซีย) ที่ทรงอิทธิพลและมีผลประโยชน์ขัดกับฮอลันดา พวกมักกะสันนี้ต้องการสนับสนุนให้อนุชาของพระนารายณ์ขึ้นครองราชย์แทน และต้องการให้เปลี่ยนเป็นนับถือศาสนาอิสลามด้วย แต่ก็ถูกฟอลคอนปราบปรามอย่างราบคาบ
- ในขณะเดียวกันก็เกิดวิกฤตการณ์ขึ้นในเมืองมะริด ซึ่งเป็นเมืองท่าด้านตะวันตกของอยุธยา มีการสังหารชาวอังกฤษ 60 คนที่ขัดขวางผลประโยชน์ทางการค้าของพระนารายณ์และฟอลคอน เป็นเหตุให้อยุธยาอยู่ในสภาพสงครามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ เรืออังกฤษปิดล้อมมะริด และอังกฤษก็เรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมาก (65,000 ปอนด์ ) ทำให้เกิดความยุ่งยากในราชสำนัก และเป็นผลให้พระนารายณ์คิดยกเมืองมะริดให้ฝรั่งเศสในที่สุด
- ในเดือนกันยายน 2230 ฝรั่งเศสได้ส่งทูตมาอีกชุดหนึ่งนำโดย โคลด เซเบเรต์ และ ซิมอง เดอ ลา ลูแบร์ พร้อมด้วยเรือรบ 6 ลำ ทหาร 500 คน และบาทหลวงเยซูอิต จุดประสงค์คือเรื่องเปลี่ยนศาสนาของพระนารายณ์ และการเจรจาเอาเมืองบางกอก (แทนเมืองสงขลา) นอกเหนือจากเมืองมะริด อันจะทำให้ฝรั่งเศสยึดเมืองที่คุมอาณาจักรอยุธยาได้ทั้งหมด มีการลงนามในสนธิสัญญาใหม่นี้เมื่อ 11 ธันวาคม 2230 ซึ่งฝรั่งเศสได้เมืองบางกอกไป แต่ไม่ได้การเปลี่ยนศาสนาของพระนารายณ์
- ผลของการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ล่อแหลมนี้ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านต่างชาติฝรั่งขึ้นในบรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์ ขุนนางไทยไม่พอใจที่ฟอลคอนมีอิทธิพลมากมายในราชสำนักและมีอิทธิพลต่อองค์พระนารายณ์เอง ทั้งยังได้รับผลประโยชน์จากการค้าอีกด้วย ในขณะเดียวกันชาวต่างชาติอื่นๆก็ไม่พอใจต่อสิทธิพิเศษของฝรั่งเศสและฟอลคอน ในด้านพระสงฆ์เกิดการหวั่นวิตกว่า พระนารายณ์จะหันไปนับถือคริสต์ศาสนา ดังนั้นเมื่อพระนารายณ์ทรงประชวรเมื่อมีนาคม 2231 พระเพทราชา เจ้ากรมช้าง ก็กลายเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก “ ชาตินิยม “
- พระเพทราชาได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการ พระนารายณ์ยังมิทันมอบราชสมบัติให้ผู้ใด พระเพทราชาก็ยึดอำนาจ จับฟอลคอนประหารชีวิตเมื่อ 5 มิถุนายน พระปีย์ (โอรสบุญธรรมของพระนารายณ์) ถูกลอบสังหาร เมื่อพระนารายณ์สวรรคต 11 กรกฎาคม 2231 พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติ และพระอนุชาของพระนารายณ์ก็ถูกสำเร็จโทษ เป็นอันสิ้นราชวงศ์ปราสาททอง และเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยา พระเพทราชาเจรจาให้กองทหารฝรั่งเศสถอยออกไปจากเมืองบางกอกเมื่อ 18 ตุลาคม 2231 เป็นอันสิ้นสุดการติดต่อสัมพันธ์ทางการต่างประเทศของอยุธยาในลักษณะล่อแหลม กลับไปใช้การติดต่อค้าขายในลักษณะปกติตามที่เคยเป็นมาแต่ครั้งโบราณกาล
พระเพทราชา
- พระเพทราชา ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 29 ของอยุธยา และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์ที่ 5 และราชวงศ์สุดท้ายของอยุธยาในประวัติศาสตร์ไทย พระเพทราชาถูกมองว่าเป็นกบฏ แต่ในขณะเดียวกันพระองค์ก็ถูกมองว่าเป็น “นักชาตินิยม” ที่สกัดกั้นมิให้ไทยต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของต่างชาติ (ฝรั่งเศส)
- พระเพทราชาทรงมีพื้นเพมาจากบ้านพลูหลวงใน จ.สุพรรณบุรี พระมารดาทรงเป็นแม่นมของพระนารายณ์ ดังนั้นพระองค์จึงได้รับการเลี้ยงดูควบคู่กันมากับพระนารายณ์ ทำให้มีโอกาสเข้ารับราชการ โดยเฉพาะได้เป็นเจ้ากรมช้างซึ่งเป็นกรมที่มีอำนาจในทางการทหารอย่างสูง ในช่วงปลายรัชสมัยพระนารายณ์ เมื่ออิทธิพลของต่างชาติคือ ฝรั่งเศสมีมากขึ้น พระเพทราชากลายเป็นศูนย์กลางของความรู้สึกต่อต้านฝรั่งเศสและคริสต์ศาสนา
- พระเพทราชามีพระโอรส 1 องค์คือ หลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ ที่เกิดจากเจ้าหญิง(ลาว) เมืองเชียงใหม่ หลวงสรศักดิ์มีส่วนผลักดันให้พระเพทราชาขึ้นมายึดอำนาจจากพระนารายณ์ เมื่อพระนารายณ์เริ่มประชวรในเดือนมีนาคม 2230 ก็มีปัญหาการสืบราชสมบัติว่าจะตกกับผู้ใด ผู้ที่อยู่ในข่ายคือ พระอนุชา 2 องค์ เจ้าฟ้าอภัยทศ และ เจ้าฟ้าน้อย กับ โอรสบุญธรรมคือ พระปีย์ (พระนารายณ์ไม่มีโอรส) บุคคลทั้ง 3 ถูกหลวงสรศักดิ์กำจัด เมื่อพระนารายณ์สวรรคตไทยก็ขับไล่ฝรั่งเศสออกนอกอาณาเขต
- ตลอดรัชสมัย 15 ปี ของพระเพทราชามีปัญหาเรื่องความสงบ จากการที่พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้แย่งราชสมบัติ ก็ทำให้มีการกบฏต่อพระองค์ เช่นหัวเมืองบางเมืองก็ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาคือเมืองนครราชสีมาและเมืองนครศรีธรรมราช ทั้ง 2 เมืองมีเจ้าเมืองที่ได้รับการสถาปนาโดยพระนารายณ์ ทำให้ไม่ยอมรับอำนาจของพระเพทราชาและต้องส่งกองทัพไปปราบในปี 2234ใช้เวลาถึง 2 ปี และเป็นสงครามภายในที่ใหญ่ที่สุดนับได้ว่า พระเพทราชาเป็นกษัตริย์ที่มีปัญหาเสถียรภาพการเมืองภายในสูงมาก
- นอกจากหลวงสรศักดิ์แล้ว พระเพทราชายังมีโอรสอีก 2 องค์ที่มีสิทธิสืบราชสมบัติคือ เจ้าพระขวัญ และ ตรัสน้อย เมื่อพระเพทราชาประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้น หลวงสรศักดิ์ลอบประหารเจ้าพระขวัญ (ตรัสน้อยหนีไปบวชพระ) พระเพทราชาจึงตั้งพระนัดดา เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ให้สืบราชสมบัติ แต่เมื่อพระองค์สวรรคต2246 หลวงสรศักดิ์ก็ได้สืบราชสมบัติเป็นพระเจ้าเสือ
พระเจ้าเสือ
- พระเจ้าเสือทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 30 พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะกษัตริย์ของอยุธยาที่“ดุร้าย” และมักมากในกามคุณ แต่ก็เป็นกษัตริย์ที่ทรงมีความเป็นสามัญชนมากที่สุดของอยุธยา ทรงโปรดปรานการเสด็จออกประพาสโดยมิให้ราษฎรรู้ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงโปรดการประพาสตกปลา ชกมวย เป็นต้น
- พระเจ้าเสือประสูติเมื่อ2207 ที่ จ.พิจิตร ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นโอรสลับของพระนารายณ์ ที่เกิดจากเจ้าหญิง(ลาว) เมืองเชียงใหม่แต่เนื่องจากพระนารายณ์ทรงอับอายที่มีโอรสกับเจ้าหญิงที่เป็นลาว ดังนั้นจึงยกพระเจ้าเสือ ซึ่งมีนามเดิมว่า เดื่อ ให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระเพทราชาเจ้ากรมช้าง ในสมัยที่ทรงพระเยาว์ พระเจ้าเสือมีนามปรากฏในความสามารถในการบังคับบัญชาช้าง ซึ่งถือว่าเป็นวิชาที่สำคัญต่อความเป็นทหารและเป็นผู้นำ ดังนั้นจึงรับราชการเป็นหลวงสรศักดิ์ ในกรมช้าง
- พระเจ้าเสืออยู่ในราชสมบัติในระยะเวลา 6 ปี และเป็นรัชสมัยที่ค่อนข้างจะไม่มีปัญหาทั้งการเมืองภายในและภายนอกนักไม่เหมือน 2 พระองค์ที่ผ่านมา ในสมัยพระเจ้าเสือมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเสด็จประพาสทางเรือและลัทธิของความจงรักภักดีต่อกษัตริย์และกฎเกณฑ์ของบ้านเมือง
- กล่าวกันว่าครั้งหนึ่งเสด็จจากอยุธยาตามลำน้ำเจ้าพระยาเข้าคลองโคกขาม จะไปเมืองสมุทรสาคร2247 นายท้ายเรือพระที่นั่งชื่อ “พันท้ายนรสิงห์” คัดท้ายเรือไม่ดี หัวเรือชนต้นไม้หัก ซึ่งตามกฎแล้วจะต้องถูกประหารชีวิต ด้วยการตัดคอ พระเจ้าเสือทรงมีเมตตาต่อพันท้ายนรสิงห์ จะไม่เอาโทษ พันท้ายนรสิงห์ก็ยอมตายขอให้ประหารชีวิต เพื่อรักษากฎหมาย
- นอกจากนี้ยังมีการขุดคลองมหาชาติ เชื่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับ แม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นผลงานที่สำคัญในด้านการเชื่อมแม่น้ำสายสำคัญในภาคกลาง ทำให้การคมนาคมสะดวกติดต่อกันได้ การขุดคลองนี้ไม่ถือว่าเป็นเรื่องของการชลประทาน แต่ก็มีผลพลอยได้ในการเปิดที่ดินใหม่เพื่อการเกษตรกรรมอย่างมหาศาล การขุดคลองนี้เป็นราชกิจที่มีมาตั้งแต่ต้นอยุธยา มีทั้งการขุดคลองลัดเพื่อให้เส้นทางสั้นลง
- พระเจ้าเสือสวรรคตในปี 2252 เมื่อพระชนม์พรรษาได้ 45และ พระโอรสก็ขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระเจ้าท้ายสระ โดยไม่มีปัญหาการแย่งราชสมบัติ
พระเจ้าท้ายสระ
- ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 31 ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ตั้งพระอนุชา(พระเจ้าบรมโกศ) เป็นอุปราชหรือวังหน้า รัชสมัยของพระองค์ยาวนาน 24 ปี ทำให้คนรุ่นต้นรัตนโกสินทร์ มองว่าเป็นสมัยที่ บ้านเมืองดี แต่สมัยนี้ก็มีปัญหาการยุ่งยากกับ กัมพูชา
- ในสมัยนี้ปรากฏว่าการค้าข้าวของไทยรุ่งเรืองมาก ที่สำคัญคือการขายให้กับจีน มีหลักฐานว่าจีนซื้อข้าวจำนวนมากกับไทย ในปี 2265 ,2278 ,2294 ถึงกับจักรพรรดิจีนพระราชทานเหรียญตราให้กับผู้ที่สามารถนำข้าวจากไทยไปขายในเมืองจีน ดังนั้นเป็นผลให้เมืองท่าของจีนทางใต้ โดยเฉพาะที่กวางตุ้งเปิดให้กับไทย และจีนก็ยิ่งมีอิทธิพลการค้าในไทยเพิ่มขึ้น
พระเจ้าบรมโกศ
- พระเจ้าบรมโกศ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 32 เป็นพระโอรสของพระเจ้าเสือ และพระอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ เป็นกษัตริย์ในสมัยบ้านเมืองดี ก่อนการเสียกรุงให้แก่พม่าเมื่อ2310 คือ 9 ปีภายหลังที่พระองค์สวรรคต และพระโอรส 2 องค์เกิดแย่งชิงกันไม่สามารถต้านทานศึกพม่าได้ สมัยพระเจ้าบรมโกศเป็นยุคที่รัตนโกสินทร์ตอนต้นมองกลับไปหา และพยายามจะลอกเลียนแบบประเพณีของราชสำนัก
- ในรัชกาลอันยาวนานของพระเจ้าบรมโกศ 25 ปี ทรงได้ปรับปรุงการปกครองโดยการขยายการตั้ง เจ้าทรงกรม จาก 3 กรมเป็น 13 กรม เป็นการพยายามแก้ปัญหาการคุมอำนาจมากจนชิงราชสมบัติ แต่การขยายกรมที่คุมไพร ทำให้การบังคับบัญชากำลังพลกระจัดกระจายทำให้ไม่สามารถเผชิญกับศึกภายนอกเมื่อพม่ายกทัพมาตีอยุธยา
- ในด้านศาสนา พุทธศาสนารุ่งเรืองมากมีการส่งทูตไปศรีลังกา 2 ครั้ง ทำให้เกิดการอุปสมบทขึ้นใหม่ และมีการตั้งพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ขึ้น
- ในด้านความสำคัญกับเพื่อนบ้านมีความสัมพันธ์อันดีกับหงสาวดีและ พม่า
- ในปี 2300พระเจ้าบรมโกศทรงประชวร และในปีนี้มีดาวหางขึ้น ซึ่งปรากฏว่าเป้นดาวหางฮัลเลย์ เมื่อพระองค์สวรรคตก็เกิดการแย่งอำนาจ
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ( ขุนหลวงหาวัด )
- สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ) กับพระอัครมเหสีน้อยหรือกรมหลวงพิพิธมนตรี มีพระเชษฐา 1 พระองค์ พระกนิษฐาและพระขนิษฐา 6 พระองค์ ต่อไปนี้
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเอกทัศ (เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี)
- เจ้าฟ้าประภาวดี
- เจ้าฟ้าประชาวดี
- เจ้าฟ้าพินทวดี
- เจ้าฟ้าจันทวดี
- เจ้าฟ้ากระษัตรี
- เจ้าฟ้ากุสุมาวดี
- สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก่อนที่พระองค์จะทำการพิธีราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ ได้มีพระเชษฐาและพระอนุชาต่างพระมารดา 3 พระองค์ ที่จะทำการกบฏแย่งชิงราชสมบัติหลังจากสมเด็จพระราชบิดาสวรรคต ได้แก่ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ กรมหมื่นเสพภักดี แต่พระองค์ได้ให้พระราชาคณะ 5 รูป ได้เกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ อีก 8 วันต่อมา เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษมนตรี สมเด็จพระเชษฐาธิราช ก็กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ให้จับพระอนุชาต่างมารดาทั้งสามสำเร็จโทษเสียเพื่ออย่าให้มีเสี้ยนหนามในแผ่นดินต่อไป
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ( พระเจ้าเอกทัศน์ )
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กับพระอัครมเหสีน้อย หรือกรมหลวงพิพิธมนตรีมีพระอนุชา 1 พระองค์ และพระขนิษฐา 6 พระองค์
- ในปี 2310 ตรงกับเดือนพฤศจิกายน สมเด็จพระพันปีหลวง กรมพระเทพอามาตย์ทรงพระประชวนจนทิวงคต สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ก็ถวายพระศพอย่างสมพระเกียรติตามโบราณราชประเพณี
- ขณะนั้นเจ้ากรมมหาดเล็กคนใหม่ พระยาราชมนตรีบริรักษ์ และจมื่นศรีสรรักษ์น้องชายซึ่งถือตัวว่าเป็นน้องชายพระสนมเอก และสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เข้าออกในวังหลวงได้ตลอดเวลา ได้แสดงกิริยาโอหัง ไม่ยอมเคารพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่และเสนาบดีทั้งปวง
- เจ้าพระยาอภัยราชา ได้หารือกับข้าราชการที่รองลงมาว่าคนสองคนนี้จะยุแหย่ให้บ้านเมืองเกิดการจลาจลวุ่นวาย และมีความเห็นว่าพระเจ้าบรมโกศก็ไม่ต้องการที่จะให้ราชสมบัติแก่พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ต้องการยกให้กรมหมื่นพรพินิต และทรงทำนายไว้ว่า บ้านเมืองจะพินาศฉิบหายเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงเห้นว่าสมควรทูลเชิญให้กรมหมื่นพรพินิตลาผนวชกลับมาครองราชย์ดังเดิม แต่กรมหมื่นพรพินิตนำความไปทูลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงได้วางกำลังล้อมจับคณะปฏิวัติได้ทั้งหมด ลงอาญาให้เฆี่ยนตีบรรดาคณะปฏิวัติชั้นหัวหน้าทุกคนและนำจำขังไว้ ส่วนกรมหมื่นเทพพิพิธนั้นให้ศึกเสียจากพระ พอดีมีเรือที่กลับมาจากส่งสมณฑูตไทยจากลังกา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชาคณะอีก 2 รูป คือ พระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีกับพระภิกษุอีก 3 รูป ไปผลัดเปลี่ยนพระที่ลังกาด้วย เป็นการลงโทษสถานเนรเทศให้พ้นออกไปจากกรุงศรีอยุธยา
พระราชกรณียกิจและเหตุการณ์ที่สำคัญๆในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์( พระเจ้าเอกทัศ )
การติดต่อกับจีน
ในรัชกาลสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จะมีศึกสงครามกับพม่าอยู่หลายครั้งจนไทยเป็นฝ่ายเสียกรุงในที่สุดก็ตาม แต่รัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศหรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ก็ปรากฏตามจดหมายเหตุฝ่ายจีนว่า ไทยได้ส่งฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีรวม 3 ครั้ง คือ พ.ศ. 2305 ไทยส่งฑูตไปจีน พ.ศ. 2307 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ได้มอบให้พระยาสุนทรอภัยเป็นหัวหน้าคณะฑูตไทยไปจีน และครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. 2309 ปีสุดท้ายได้ส่งฑูตถือเครื่องราชบรรณาการไปจีนครั้งหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏว่าได้เจรจากันด้วยเรื่องอะไรบ้าง เข้าใจว่าไทยคงนำข้าวสารและสินค้าอื่นๆไปขายในประเทศอื่นตามปกติเท่านั้น
เหตุการณ์ในเมืองพม่า
ในขณะนั้นฝ่ายพม่าซึ่งมีเจ้าอลองพญาผู้ครองเมืองรัตนสิงห์ได้ชัยชนะกับมอญแล้วก็ได้เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองพม่า โดยให้พระราชบุตรทั้ง 6 พระองค์ แยกกันไปครองหัวเมืองต่างๆ โดยให้
- มังลอกไปครองเมืองดิปะเยียง
- มังระ ไปครองเมืองปีคู่
- มังโป ไปครองเมืองอะเมียง
- มังเวง ไปครองเมืองปะดุง
- มังอู ไปครองเมืองปคาน
- มังโปเชียง ไปครองเมืองแปงตแล
แลัวให้สะโดมหาสิริยอุจนา ผู้เป็นพระอนุชา ไปครองเมืองตองอู
การสงครามกับพม่าครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2302 พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา พงศาวดารพม่า และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยและต่างชาติ กล่าวตรงกันว่า ขณะนั้นพระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พม่าได้ทราบข่าวความอ่อนแอของไทยในรัชกาลนี้ จึงเสด็จกรีธาทัพมาย่ำยีเมืองไทย โดยยกเข้ามาตีเมืองตะนาวศรี ทวาย และมะริดไว้ได้ และจึงยกทัพมาทางด่านสิงขร ตีหัวเมืองรายทางแตกหมด ซึ่งในเวลานั้น สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ได้ทรงประกาศระดมพลเป็นการด่วน และให้จัดทัพขึ้นต่อสู้พม่า โดยจัดกองทัพออกต่อสู้ แบ่งออกเป็น 2 ทัพ ต่อไปนี้
- ให้พระอินทราราชรองเมืองเลื่อนเป็นพระยายมราช เป็นแม่ทัพที่ 1 มีพระยาเพชรบุรีเป็นแม่ทัพหน้า พระยาราชบุรีเป็นยกกระบัตร พระสมุทรสงครามเป็นพลาธิการ พระธนบุรีกับพระนนทบุรีเป็นทัพหลัง ไปตั้งรับที่ตำบลแก่งตุ่ม
- ให้พระยารัตนาธิเบศรเป็นแม่ทัพที่ 2 กับกองทัพอาสาสมัครของชาววิเศษไชยชาญซึ่งขุนรองและปลัดชูนำมาสมัครเป็นหน่วยแรกกับคน 400 คน นั้นให้ประจำอยู่กับกองทัพที่ 2 ไปตั้งรับอยู่ ณ เมืองกุยบุรี รวมทั้ง 2 กองทัพ มีจำนวนทหารไทย 5000นาย พร้อมกันนั้นพระองค์มีพระบรมราชโองการไปยังเจ้าหัวเมืองต่าง ๆ ให้เกณฑ์พลเมืองทุกเมืองส่งมาช่วยป้องกันพระนคร ส่วนชาวเมืองที่ต่อสู้ไม่ได้ให้หลบไปซ่อนตัวอยู่ในป่า อย่าให้พม่าจับตัวได้
ขณะเดียวกันกองทัพฝ่ายพม่าก็ยกทัพเข้ามาแต่ฝ่ายไทยตั้งรับไม่ได้ จึงจำต้องนำทหารที่เหลือถอยร่นลงมาจนถึงแขวงเมืองราชบุรี ในครั้งนี้จึงทำให้ทหารไทย 2 นาย คือ ขุนรอง และปลัดชู ได้แสดงความสามารถต่อสู้ข้าศึกจนสิ้นชีวิตในที่รบ ในที่สุดกองทัพพม่าได้ยกเข้าล้อมพระนครถึงชานเมือง จนทำให้ภายในพระนครเกิดความวุ่นวายตกใจกลัว พร้อมทั้งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยตัวขุนนางและแม่ทัพผู้ใหญ่ที่กำลังถูกขังอยู่ในอดีตออกมาช่วยป้องกันพระนคร และจมื่นศรีสรรักษ์ 2 พี่น้องที่ทำให้เกิดความยุ่งยากให้เข้าคุกแทน เนื่องจากคดีลอบทำชู้ในวังหลวงและเฆี่ยนพระยาราชมนตรีจนตาย แล้วนำศีรษะไปเสียบประจาน สืบเนื่องมาจากกระทำผิดกฎมณเฑียรบาล หลังจากนั้นพระองค์ก็มีรับสั่งให้ไปกราบทูลเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมขุนอุทุมพร ขอให้ลาผนวชมาช่วยศึกครั้งนี้
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงลาผนวชมาช่วยการศึก
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรทรงลาผนวชขึ้นครองราชย์ครั้งนั้น เข้าพระทัยว่าพระเชษฐาธิราชจะคืนราชสมบัติให้ครองราชย์ดังเก่า จึงจัดระเบียบผู้คนใหม่ ตระเตรียมป้อมปราการสำหรับเป็นที่มั่นต่อสู้ข้าศึก ต่อมาพม่าก็ยกมาถึงสุพรรณบุรี แล้วเข้ามาถึงกำแพงเมืองอยุธยา เมื่อเดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ พ.ศ. 2303 ฝ่ายพม่า มังระกับมังฆ้องนรธาตั้งอยู่ทุ่งโพธิ์สามต้น แล้วเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา วัดหน้าพระเมรุ วัดหัสดาวาส ระดมเข้าไปในพระราชวังทั้งกลางวันและกลางคืน จนลูกปืนถูกยอดพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ทลายลง สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้เข้าบัญชาการรบอย่างเข้มแข็ง พม่าล้อมกรุงอยู่เป็นเวลานาน ได้พยายามตั้งจังกาปืนใหญ่ยิงเข้ามาในพระนครทุกวัน แต่ก็ไม่สามารถจะตีพระนครให้แตกได้ ขณะเดียวกันฝ่ายพม่าพระเจ้าอลองพญาทรงเข้าบัญชาการยิงปืนใหญ่และจุดปืนใหญ่เอง ในที่สุดปืนใหญ่ระเบิดแตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัส กองทัพพม่าจึงจำเป็นต้องยกถอยกลับไป ตรงกับเดือน 6 ขึ้น 2 ค่ำ พ.ศ. 2303นั่นเอง ได้ถอยไปทางด่านแม่ละเมา ฝ่ายไทยมีคำสั่งให้พระยาสีหราชเดโชยกทัพติดตามไปทำลายกำลังพม่า จนถึงเมืองตากระหว่างชายแดนไทยพม่า แล้วก็ยกทัพกลับกระนคร ในส่วนของฝ่ายพม่า พระเจ้าอลองพญาทรงทนพิษบาดแผลไม่ไหวก็สวรรคต ณ บริเวณตำบลเมาะกะโลก แขวงเมืองตาก เมื่อแรม 12 ค่ำ เดือน 6 ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 45 พรรษา
บ้านเมืองภายหลังสงครามพม่าครั้งที่ 1
เมื่อกองทัพพม่าเลิกทัพกลับไปแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้สั่งให้ทหารไปค้นค่ายพม่าที่เคยตั้งอยู่ที่ค่ายบ้านบางกุ่ม ได้ตรวจค้นค่ายพบปืนใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว ของพม่าฝังไว้ในค่าย 40 กระบอก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้นำมาใช้ในราชการ เมื่อเสร็จสงครามแล้วอดีตกษัตริย์ก็เข้าเฝ้าฯ
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ผู้เป็นพระเชษฐาธิราช ถึงกับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าหญิงแมงเม่า ซึ่งบวชเป็นชีอยู่สึกจากชี นำถวายเป็นพระอัครมเหสีของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์
วันหนึ่ง สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปหาถึงในพระที่ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้เห็นพระแสงดาบวางพาดอยู่บนพระเพลา เมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรเห็นเช่นนั้นก็เข้าพระทัยว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ รังเกียจพระองค์ กลัวมาแย่งราชสมบัติ จึงเสด็จออกจากพระราชวังหลวงไปประทับที่พระตำหนักบ้านคำหยาด (ปัจจุบันอยู่ที่ จ. อ่างทอง) แล้วกลับมาทรงผนวชที่วัดประดู่โรงธรรมในอยุธยาดังเดิม ขณะนั้นบังเอิญทางพม่าเกิดความวุ่นวายภายใน เมืองไทยจึงได้สงบศึกมาหลายปี
สงครามพม่าครั้งที่ 2
หลังจากพม่าเกิดความวุ่นวายภายในและทำการจัดระเบียบราชการแผ่นดินของพม่าใหม่ โดยมีมังลอกพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าอลองพญาได้ราชสมบัติ และต้องทำการสงครามปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งแข็งเมืองกระด้างกระเดื่องอยู่เกือบปี ก็พอดีทรงพระประชวร และสวรรคตในเวลาต่อมา มังระพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อ มีนิสัยชอบการสงครามเหมือนพระราชบิดา จึงให้ มังมหานรธาเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพพม่าเข้ามาทางทวาย ตีหัวเมืองล้อมกรุงศรีอยุธยา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ ยกทัพเข้าโจมตีไทยฝ่ายเหนือ เริ่มตั้งแต่เชียงใหม่ เวียงจันทร์ แล้วรุดหน้ามาทางใต้เข้าล้อมอยุธยา เป็นทัพกระหนาบ
เหตุการณ์ตอนปลายรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวิจารณ์ไว้ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทรเทวีเกี่ยวกับการเสียกรุงในครั้งนั้นว่า
“เครื่องศัสตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่จ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนเอาไปยิงก็จะเกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไม่ออกบ้าง เข็ดหยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปกติของผู้ดีชั้นนั้น”
ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ฉบับที่ 1 เป็นใจความว่า
“ครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด (พระเจ้าเอกทัศ) รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำลีอุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างใน (หม่อนต่าง ๆ เข่น มีเรื่องเล่าถึงหม่อนเพ็ง หม่อนแมน) ก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่ (สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ) รับสั่งต่อไปว่า สั่งคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง”
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ไม่สามารถทำการศึกสงครามได้ และไม่สามารถทั้งในการรวมคนป้องกันพระนคร ประชาชนจึงไปอันเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ให้ลาผนวชมาช่วยรักษาพระนครอีกครั้งหนึ่ง แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรก็ไม่ยอม พม่าล้อมและระดมตีไทยอยู่ครั้นนั้นเป็นเวลานานถึง 1 ปี 2 เดือน ถึงวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2310 เวลา 20:00 น. ก็เข้าเมืองได้ ได้เผาผลาญบ้านเมืองเสียยับเยิน กวาดเก็บทรัพย์สินและสมบัติและผู้คนเป็นเชลยเสียมากปราสาทราชมณเฑียรต่าง ๆ ก็ถูกไปเผาพินาศสิ้น ทองหุ้มองค์พระพุทธรูป พม่าเอาไฟเผาครอกเอาไปหมด เกี่ยวกับเรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ใน พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งกล่าวว่า
“ฝ่ายเนเมียวแม่ทัพค่ายโพธิ์สามต้น จึงให้พลพม่าเข้ามาจุดเพลิงเผาปราสาทที่เพนียดนั้นเสีย แล้วให้ตั้งค่ายลงที่เพนียด และวัดพระเจดีย์แดง วัดสามพิหาร วัดมณฑป วัดกระโจม วัดนางชี วัดนางปลื้ม วัดศรีโพธิ์… เผาเหย้าเรือนอาวาส และพระราชวังทั้งปราสาทราชมณเฑียร และเพลิงสว่างดังกลางวันแล้วเที่ยวไล่จับผู้คนค้นริบเอาทรัพย์เงินทองสิ่งของทั้งปวงต่างๆ แต่พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีออกจากเมืองลงเรือน้อยไปกับมหาดเล็กสองคน ไปซ่อนอยู่ในสุมทุมไม้ใกล้บ้านจิกขัน วัดสังฆาวาส มหาดเล็กนั้นก็ทิ้งเสียหนีไปอื่น อดอาหารอยู่แต่เพียงพระองค์เดียวพม่าหาจับได้ยาก จับได้เพียงแต่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งปวงไปไว้ทุกๆ ค่าย….แล้วพม่าก็เอาเพลิงสุมหลอมเอาทองคำซึ่งแผ่หุ้มองค์พระพุทธรูปผืนใหญ่ในพระวิหารหลวงวัดพระศรีสรรเพชรดารามนั้น ขนเอาเนื้อทองคำไปหมดสิ้น”
หลังจากนั้นพม่าค้นหาผู้คนและทรัพย์สมบัติอยู่ 10 วัน ได้ทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมากแล้วยกกองทัพกลับ ตั้งให้สุกี้เป็นแม่ทัพกุมพล 3,000 คน อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น เพื่อค้นหาสมบัติและส่งผู้คนไปยังพม่าต่อไป ส่วนองค์พระเจ้าแผ่นดินนั้นหนีไปซุกซ่อนอยู่ อดอาหารมากกว่า 10 วัน สุกี้ไปพบและนำมายังค่ายโพธิ์สามต้นก็สวรรคต พร้อมกับสิ้นบุญกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ทรงครองราชสมบัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2301 และสวรรคตในปีเดียวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2310 สืบเนื่องมาจากถูกพม่าเผากรุงศรีอยุธยาวอดวายและพระองค์อดอาหาร
สาเหตุการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า เกิดจาก
- ความเสื่อมเรื้อรังในสถาบันการเมืองและทางสังคม สืบเนื่องมาจากแย่งชิงอำนาจกัน
- ความเสื่อมจากการมีผู้นำที่ไม่เข้มแข็งเด็ดขาด
- ไพร่พลขาดความพร้อมในการรบ เพราะเว้นจากการศึกสงครามมานาน
- พม่าเปลี่ยนยุทธวิธี และหันมาใช้วิธีตัดกำลังของหัวเมืองต่าง ๆ
- เกิดไส้ศึกภายใน
ความเสียหายที่เกิดหลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. 2310
- สูญเสียทรัพย์สินเป็นมูลค่ามหาศาลในรูปของ เงิน ทองคำ สิ่งมีค่าทั้งปวง
- บ้านเรือน วัดวาอาราม ปราสาทราชมณเฑียร ถูกเผาทำลายเกือบหมด
- งานศิลป์ สถาปัตยกรรมด้านต่าง ๆเสื่อมไป และพม่ายังกวาดต้อนเอาช่างฝีมือดีในอยุธยาไป
- วรรณกรรม จำนวนมากกระจัดกระจายสูญหาย พร้อมทั้งถูกทำลาย
- พระพุทธศาสนา วัดวาอารามถูกทำลาย พระสงฆ์ถูกฆ่า พระไตรปิฎกถูกเผาทำลายจนสิ้นเชิง
- เกิดภัยพิบัติต่าง ๆ หลังจากการเสียกรุงซ้ำเติม
- เกิดความแตกแยกขึ้นภายในอาณาจักร เพราะบ้านเมืองขาดศูนย์กลางการปกครอง
เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอำนาจไทยมา 417 ปี
ย่อ