https://7greens.tourismthailand.org/2021/05/22/internationaldayforbiologicaldiversity/

วันความหลากหลายทางชีวภาพ (International Biodiversity Day)

สร้างโดย : นางสาวเบญจมาศ ภัคโชค
สร้างเมื่อ พุธ, 15/10/2008 – 09:43
มีผู้อ่าน 18,997 ครั้ง (04/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/17009

วันความหลากหลายทางชีวภาพ
(International Biodiversity Day)
วันที่ 22 พฤษภาคม ของทุกปี

          องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 22 พฤษภาคมเป็นวันสากลเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (IDB) เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความตระหนักในประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อก่อตั้งขึ้นครั้งแรกโดยคณะกรรมการที่สองของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปลายปี 1993 วันที่ 29 ธันวาคม (วันที่มีผลบังคับใช้ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ) ถูกกำหนดให้เป็นวันสากลสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2543 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรอง 22 พฤษภาคมเป็น IDB เพื่อรำลึกถึงการยอมรับข้อความของอนุสัญญาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยพระราชบัญญัติสุดท้ายของไนโรบีของการประชุมเพื่อการยอมรับข้อความที่ตกลงกันของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นการยากสำหรับหลายประเทศในการวางแผนและจัดงานเฉลิมฉลองที่เหมาะสมในวันที่ 29 ธันวาคม เนื่องจากจำนวนวันหยุดที่ตรงกับช่วงเวลานั้นของปี

ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญอย่างไร

          ความหลากหลายทางชีวภาพหมายถึง การมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด นานาพันธุ์ในระบบนิเวศอันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมากมายและแตกต่างกันทั่วโลก หรือง่ายๆ คือ การที่มีชนิดพันธุ์ (species) สายพันธุ์ (genetic) และระบบนิเวศ (ecosystem) ที่แตกต่างหลากหลายบนโลก

ความหลากหลายทางชีวภาพมีอยู่ระหว่างสายพันธุ์ ระหว่างชนิดพันธุ์ และระหว่างระบบนิเวศ

  • ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างสายพันธุ์
https://chm-thai.onep.go.th/wp-content/uploads/2021/08/ความแตกต่างทางพันธุกรรม-4-1024×256.png

          คือ ความแตกต่างระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ที่ใช้ในการเกษตร ความแตกต่างหลากหลายระหว่างสายพันธุ์ ทำให้สามารถเลือกบริโภคข้าวจ้าว หรือข้าวเหนียว ตามที่ต้องการได้ หากไม่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ต่างๆ แล้ว อาจจะต้องรับประทานส้มตำปูเค็มกับข้าวจ้าวก็เป็นได้ ความแตกต่างที่มีอยู่ในสายพันธุ์ต่างๆ ยังช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสายพันธุ์ปศุสัตว์ และสัตว์ปีก เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการของตลาดได้ เช่น ไก่พันธุ์เนื้อ ไก่พันธุ์ไข่ดก วัวพันธุ์นม และวัวพันธุ์เนื้อ เป็นต้น

  • ความหลากหลายระหว่างชนิดพันธุ์
https://chm-thai.onep.go.th/wp-content/uploads/2021/08/ความแตกต่างทางชนิดพันธุ์-1-1024×256.png

          สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปถึงความแตกต่างระหว่างพืชและสัตว์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น สุนัข แมว จิ้งจก ตุ๊กแก กา นกพิราบ และนกกระจอก เป็นต้น หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่าเขาลำเนาไพร เช่น เสือ ช้าง กวาง กระจง เก้ง ลิง ชะนี หมี และวัวแดง เป็นต้น พื้นที่ธรรมชาติเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างหลากหลาย แต่ว่ามนุษย์ได้นำเอาสิ่งมีชีวิตมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และอุตสาหกรรม น้อยกว่าร้อยละ 5 ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ในความเป็นจริงพบว่ามนุษย์ได้ใช้พืชเป็นอาหารเพียง 3,000 ชนิด จากพืชที่มีท่อลำเลียง (vascular plant) ที่มีอยู่ทั้งหมดในโลกถึง 320,000 ชนิด ทั้งๆ ที่ประมาณร้อยละ 25 ของพืชที่มีท่อลำเลียงนี้สามารถนำมาบริโภคได้ สำหรับชนิดพันธุ์สัตว์นั้น มนุษย์ได้นำเอาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อใช้ประโยชน์เพียง 30 ชนิด จากสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทั้งหมดที่มีในโลกประมาณ 50,000 ชนิด

  • ความหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ
https://chm-thai.onep.go.th/wp-content/uploads/2021/08/ความแตกต่างระบบนิเวศ-1024×256.png

          สามารถเห็นได้จากความแตกต่างระหว่างระบบนิเวศประเภทต่างๆ เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ บึง หนอง ชายหาด แนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ทุ่งนา อ่างเก็บน้ำ หรือแม้กระทั้งชุมชนเมือง ของเราเอง ในระบบนิเวศเหล่านี้ สิ่งมีชีวิตก็ต่างชนิดกัน และมีสภาพการอยู่อาศัยแตกต่างกัน ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ ‘บริการทางสิ่งแวดล้อม’ (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิ ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลนทำหน้าที่เก็บตะกอนไม่ให้ไปทบถมจนบริเวณปากอ่าวตื้นเขิน ตลอดจนป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งจากกระแสลมและคลื่นด้วย

International Day for Biological Diversity – 22 May

Introduction

          The United Nations has proclaimed May 22 The International Day for Biological Diversity (IDB) to increase understanding and awareness of biodiversity issues. When first created by the Second Committee of the UN General Assembly in late 1993, 29 December (the date of entry into force of the Convention of Biological Diversity), was designated The International Day for Biological Diversity. In December 2000, the UN General Assembly adopted 22 May as IDB, to commemorate the adoption of the text of the Convention on 22 May 1992 by the Nairobi Final Act of the Conference for the Adoption of the Agreed Text of the Convention on Biological Diversity. This was partly done because it was difficult for many countries to plan and carry out suitable celebrations for the date of 29 December, given the number of holidays that coincide around that time of year.

Themes

  • 2022 – Building a shared future for all life
  • 2021 – We’re part of the solution
  • 2020 – Our solutions are in nature
  • 2019 – Our Biodiversity, Our Food, Our Health
  • 2018 – Celebrating 25 Years of Action for Biodiversity
  • 2017 – Biodiversity and Sustainable Tourism
  • 2016 – Mainstreaming Biodiversity; Sustaining People and their Livelihoods
  • 2015 – Biodiversity for Sustainable Development
  • 2014 – Island Biodiversity
  • 2013 – Water and Biodiversity
  • 2012 – Marine Biodiversity
  • 2011 – Forest Biodiversity
  • 2010 – Biodiversity, Development and Poverty Alleviation
  • 2009 – Invasive Alien Species
  • 2008 – Biodiversity and Agriculture
  • 2007 – Biodiversity and Climate Change
  • 2006 – Protect Biodiversity in Drylands
  • 2005 – Biodiversity: Life Insurance for our Changing World
  • 2004 – Biodiversity: Food, Water and Health for All
  • 2003 – Biodiversity and poverty alleviation – challenges for sustainable development
  • 2002 – Dedicated to forest biodiversity

แหล่งที่มาข้อมูล :

  • https://chm-thai.onep.go.th/
  • https://7greens.tourismthailand.org/2021/05/22/internationaldayforbiologicaldiversity/