สร้างโดย : นางสาวเบญจมาศ ภัคโชค
สร้างเมื่อ จันทร์, 13/10/2008 – 11:53
วันสตรีสากล International Women’s Day
ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี
เกี่ยวกับวันสตรีสากล
วันสตรีสากล (International Women’s Day) ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ผู้หญิงจากทั่วโลกที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านจริยธรรม ภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง จะได้มาร่วมเฉลิมฉลองถึงความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และในหลายๆ ประเทศยังกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดประจำปีอีกด้วยเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ใช้แรงงานหญิงที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบและการถูกเลือกปฏิบัติที่มีต่อชนชั้นแรงงาน จึงเป็นกำเนิดของวันสตรีสากล ดังนั้น ในวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี ซึ่งองค์กรที่ทำงานด้านผู้หญิงหลายประเทศทั่วโลกได้มีการจัดงานวันสตรีสากลขึ้น เพื่อรำลึกถึงการต่อสู้ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานหญิง และเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล รวมทั้งการจัดกิจกรรมรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศ
สีอะไรเป็นสัญลักษณ์ของวันสตรีสากล?
สีม่วง สีเขียว และสีขาว เป็นสีของวันสตรีสากล สีม่วง หมายถึง ความยุติธรรมและศักดิ์ศรี สีเขียว หมายถึง ความหวัง สีขาวแสดงถึงความบริสุทธิ์ แม้ว่าจะเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกัน สีมีต้นกำเนิดมาจาก Women’s Social and Political Union (WSPU) ในสหราชอาณาจักรในปี 1908
อ่านเพิ่มเติม...
ความเป็นมา
ณ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา กรรมกรสตรีในโรงงานทอผ้าได้ลุกฮือขึ้นเดินขบวนประท้วงการเอาเปรียบ กดขี่ ขูดรีด ทารุณ จากนายจ้างที่เห็นผลผลิตสำคัญกว่าชีวิตคน ความเป็นอยู่ของแรงงานสตรีในเมืองชิคาโก ว่ากันว่าไม่ต่างอะไรจากทาสนิโกรในเงื้อมมือคนผิวขาว เพราะต้องทำงานวันละ 12-15 ชั่วโมง แต่ได้รับค่าแรงานเพียงน้อยนิดส่วนสตรีตั้งครรภ์มักถูกไล่ออก
ในที่สุดภายใต้การนำของ คลาร่า แซทคิน ผู้นำกรรมกรสตรีโรงงานทอผ้าชาวเยอรมันลุกฮือขึ้นสู้ด้วยการเดินขบวนนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 โดยเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานจากวันละ 12-15 ชั่วโมง ให้เหลือวันละ 8 ชัวโมงพร้อมทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการภายในโรงงาน และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย ในการเรียกร้องครั้งนี้ แม้จะมีหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากสตรีทั้งโลก และส่งผลให้วิถีการผลิตแบบทุนนิยมเริ่มสั่นคลอน
แต่อย่างไรก็ตามอีก 3 ปีต่อมา คือ ในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ข้อเรียกร้องของเหล่าบรรดากรรมกรสตรีก็ประสบความสำเร็จ เมื่อตัวแทนสตรีจาก 18 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยม ครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี โดยให้ลดเวลาทำงานให้เหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมง ศึกษาหาความรู้ 8 ชั่วโมง พักผ่อน 8 ชั่วโมง และกำหนดให้ค่าแรงงานสตรีเท่าเทียมกับค่าแรงงานชาย อีกทั้งยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย
นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนั้น ยังได้มีการรับรองข้อเสนอของ คลาร่า แซทคิน ด้วยการประกาศให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรี
ผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล
คลาร่า เซทกิ้น (CLARE ZETKIN) ค.ศ.1857 – 1933 (พ.ศ.240 – 2476)
คลาร่า เซทกิ้น เธอจึงได้รับการขนานนามว่า มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล เป็นผู้ให้กำเนิดวันสตรีสากล
นักการเมืองหญิงสายมารค์ซิสต์ และอิตถีนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้ริเริ่มวันสตรีสากลชื่อเดิมชื่อ คลาร่า ไอนส์เนอร์ เกิดที่เมืองไวเดอรูว์ แคว้นแซกโซนี่ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ.1857 (พ.ศ.2400) จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูเมืองไลป์ซิก และพบรัก กับเพื่อนนักศึกษาชาวรัสเซียด้วยกัน นามว่า ออพซิป เซทกิ้น และได้แต่งงานด้วยกันในเวลาต่อมา มีบุตร 2 คน และเป็นหม้ายในปี ค.ศ.1889 (พ.ศ.2432)
ในปี ค.ศ.1884 (พ.ศ.2424) ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) ซึ่งเป็น พรรคการเมืองที่ก่อตั้งได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะถูกยุบ โดยมหาเอกอัครเสนาบดีของปรัสเซีย (เยอรมัน) นามว่า ออทโต ฟอน บิสมารค์ และคลาร่าได้ถูกเนรเทศไปอยู่ที่สวิตท์เซอร์แลนด์
ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) คือ 8 ปี ให้หลังคลาร่าได้กลับสู่เยอรมันดินแดนมาตุภูมิ คลาร่ากลับมาพร้อมกับการก่อตั้ง กลุ่มนักสังคม นิยมหญิง หลักจากนั้น ในปี ค.ศ.1910 (พ.ศ.2453) ได้ริเริ่มในการเสนอให้กำหนดวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล นับจากปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) ในขณะที่ประเทศเยอรมันกำลังทำสงครามโลกครั้งที่ 1 คลาร่า เซทกิ้น ได้ร่วมมือกับ โรซ่าลัมเซมเบอรค์ (นัดคิดสายมารค์ซิสต์หญิงคนสำคัญ) ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ 1 ในนามกลุ่ม สปาร์ตาซิสต์* จึงทำให้คลาร่าเดินเข้าออกจากคุกนับครั้งไม่ถ้วน
*กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ (spatarcist) เป็นกลุ่มกรรมการในเยอรมันที่ประท้วงรัฐบาลเยอรมันสมัยนั้น ในการทำสงครามโลก ครั้งที่ 1 ภายใต้การนำของ 2 นักสังคมนิยมเยอรมัน โรซ่า ลัมเซมเบอรค์ (Rosa Luxemburg) และคารล์ เลี๊ยบเนคท์ (Karl Liebknecht) ด้วยความคิดที่ว่า ทหารที่ส่งไปรบและล้มตาย ก็คือประชาชน หรือผู้ใช้แรงงาน สงครามเป็นการกระทำที่สนองตัณหาของรัฐบาล ในการต้องการความยิ่งใหญ่ แต่ประชาชนมีแต่ต้องสูญเสีย (กลุ่มสปาร์ตาซิสต์ เป็นชื่อที่นำมาจากชื่อของ สปาร์ตาคัส ผู้นำของทาศ ในยุคโรมันโบราณที่หาญกล้าขึ้นปฏิวัติล้มอำนาจของจักรพรรดิโรมันยุคโบราณ)
วันสตรีสากลในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2532 ได้มีการก่อตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ (กสส.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ ดังนั้นวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อฉลองเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล และระลึกถึงความเป็นมาแห่งการต่อสู้เพื่อให้ได้ซึ่งความเสมอภาค ยุติธรรม สันติภาพ และการพัฒนาและจัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันมหามงคล 12 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ตรากตรำบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อให้คนไทยได้มีอาชีพ และได้พระราชทานให้วันที่ 1 สิงหาคมเป็น “วันสตรีไทย” ของทุกปี เพื่อให้ผู้หญิงไทยมีโอกาสแสดงถึงความรู้ ความสามารถในการพัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันสังคม และให้สามารถเทียบเท่าสตรีสากลของหลายประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี จะมีการประกาศถึงเกียรติประวัติของสตรีชั้นแนวหน้าของโลกทั้งที่มีชีวิต และที่เสียชีวิตไปแล้ว เช่น เจ้าหญิงไดอาน่า แห่งอังกฤษ, แม่ชีเทเรซา แห่งประเทศอินเดีย, ประธานาธิบดี เมกาวลี แห่งอินโดนีเซีย และนางอองซานซูจี ของพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยกับประเทศ ส่วนในประเทศไทยมีอยู่หลายท่าน เช่น คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนาสุนันท์, คุณสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ และคุณปวีณา หงสกุล ฯลฯ
วันสตรีไทยถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เพราะเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไทยออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีความสามารถทัดเทียมผู้ชาย เป็นที่ยอมรับจากสังคม จะเห็นได้จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนเริ่มมีสตรีเข้าไปเป็นหัวหน้างานมากขึ้น รวมถึงการเข้าไปมีบทบาทในการบริหารประเทศชาติ สตรีไทยในยุคปัจจุบัน จึงต้องเป็นสตรีที่มีความรู้ความสามารถครบถ้วนทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการบริหาร การจัดการ การเป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี และเป็นแม่ศรีเรือนที่ดี พร้อมทั้งต้องก้าวทันกับยุคสมัย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม
ขอบคุณข้อมูลจาก
- panyathai.or.th
History of International Women’s Day
International Women’s Day has been observed since in the early 1900’s, a time of great expansion and turbulence in the industrialized world that saw booming population growth and the rise of radical ideologies.
1908
Great unrest and critical debate was occurring amongst women. Women’s oppression and inequality was spurring women to become more vocal and active in campaigning for change. Then in 1908, 15,000 women marched through New York City demanding shorter hours, better pay and voting rights.
1909
In accordance with a declaration by the Socialist Party of America, the first National Woman’s Day (NWD) was observed across the United States on 28 February. Women continued to celebrate NWD on the last Sunday of February until 1913.
1910
n 1910 a second International Conference of Working Women was held in Copenhagen. A woman named a Clara Zetkin (Leader of the ‘Women’s Office’ for the Social Democratic Party in Germany) tabled the idea of an International Women’s Day. She proposed that every year in every country there should be a celebration on the same day – a Women’s Day – to press for their demands. The conference of over 100 women from 17 countries, representing unions, socialist parties, working women’s clubs, and including the first three women elected to the Finnish parliament, greeted Zetkin’s suggestion with unanimous approval and thus International Women’s Day was the result.
1911
Following the decision agreed at Copenhagen in 1911, International Women’s Day (IWD) was honoured the first time in Austria, Denmark, Germany and Switzerland on 19 March. More than one million women and men attended IWD rallies campaigning for women’s rights to work, vote, be trained, to hold public office and end discrimination. However less than a week later on 25 March, the tragic ‘Triangle Fire’ in New York City took the lives of more than 140 working women, most of them Italian and Jewish immigrants. This disastrous event drew significant attention to working conditions and labour legislation in the United States that became a focus of subsequent International Women’s Day events. 1911 also saw women’s ‘Bread and Roses‘ campaign.
1913-1914
On the eve of World War I campaigning for peace, Russian women observed their first International Women’s Day on the last Sunday in February 1913. In 1913 following discussions, International Women’s Day was transferred to 8 March and this day has remained the global date for International Women’s Day ever since. In 1914 further women across Europe held rallies to campaign against the war and to express women’s solidarity.
1917
On the last Sunday of February, Russian women began a strike for “bread and peace” in response to the death over 2 million Russian soldiers in war. Opposed by political leaders the women continued to strike until four days later the Czar was forced to abdicate and the provisional Government granted women the right to vote. The date the women’s strike commenced was Sunday 23 February on the Julian calendar then in use in Russia. This day on the Gregorian calendar in use elsewhere was 8 March.
1918 – 1999
Since its birth in the socialist movement, International Women’s Day has grown to become a global day of recognition and celebration across developed and developing countries alike. For decades, IWD has grown from strength to strength annually. For many years the United Nations has held an annual IWD conference to coordinate international efforts for women’s rights and participation in social, political and economic processes. 1975 was designated as ‘International Women’s Year‘ by the United Nations. Women’s organisations and governments around the world have also observed IWD annually on 8 March by holding large-scale events that honour women’s advancement and while diligently reminding of the continued vigilance and action required to ensure that women’s equality is gained and maintained in all aspects of life.
2000
By the new millennium, there was little activity occurring for International Women’s Day in most countries. The world had moved on and, in many spheres, feminism wasn’t a popular topic. Something was needed to re-ignite International Women’s Day giving it the respect it deserves and to raise awareness amongst the masses. There was urgent work to do – battles had not been won and gender parity still had not been achieved.
2001
The internationalwomensday.com platform was launched with the specific purpose of re-energizing the day – a focus which continues to this day – celebrating and making visible the achievements of women while continuing the call for accelerating gender parity. The website, which provides useful guidance and resources, adopts an annual campaign theme that is globally relevant for groups and organizations. The campaign theme, one of many around the world, provides a framework and direction for annual IWD activity and takes into account the wider agenda of both celebration as well as the call to action for gender parity. Campaign themes over the years have included: #ChooseToChallenge, #EachforEqual, #BalanceforBetter, #PressforProgress, #BeBoldforChange, #PledgeforParity, #MakeItHappen, #TheGenderAgenda and more. Campaign themes for the global IWD website are collaboratively developed each year with a range of stakeholders and widely adopted worldwide. The IWD website also serves as a significant vehicle for charities and in 2020 a hefty six figure sum was fundraised with 100% of donations going to charity. The IWD website’s Charities of Choice are the World Association of Girl Guides and Girl Scouts (WAGGGS) since 2007, and Catalyst Inc., the global working women’s organization, since 2017. 2021 sees IWD’s charitable fundraising opened up more widely to further registered charities around the world.
2011
2011 saw the 100 year centenary of International Women’s Day – with the first IWD event held exactly 100 years ago in 1911 in Austria, Denmark, Germany and Switzerland. In the United States, President Barack Obama proclaimed March 2011 to be “Women’s History Month”, calling Americans to mark IWD by reflecting on “the extraordinary accomplishments of women” in shaping the country’s history. The then Secretary of State Hillary Clinton launched the “100 Women Initiative: Empowering Women and Girls through International Exchanges”. In the United Kingdom, celebrity activist Annie Lennox lead a march across one of London’s iconic bridges raising awareness in support for global charity Women for Women International. Further charities such as Oxfam have run extensive IWD activity. Many celebrities and business leaders actively support the day.
2021 and beyond
The world has witnessed a significant change and attitudinal shift in both women’s and society’s thoughts about women’s equality and emancipation. Many from a younger generation may feel that ‘all the battles have been won for women’ while many feminists from the 1970’s know only too well the longevity and ingrained complexity of patriarchy. With more women in the boardroom, greater equality in legislative rights, and an increased critical mass of women’s visibility as impressive role models in every aspect of life, one could think that women have gained true equality. The unfortunate fact is that women are still not paid equally to that of their male counterparts, women still are not present in equal numbers in business or politics, and globally women’s education, health and the violence against them is worse than that of men. However, great improvements have been made. We do have female astronauts and prime ministers, school girls are welcomed into university, women can work and have a family, women have real choices. And so each year the world inspires women and celebrates their achievements. IWD is an official holiday in many countries including Afghanistan, Armenia, Azerbaijan, Belarus, Burkina Faso, Cambodia, China (for women only), Cuba, Georgia, Guinea-Bissau, Eritrea, Kazakhstan, Kyrgyzstan, Laos, Madagascar (for women only), Moldova, Mongolia, Montenegro, Nepal (for women only), Russia, Tajikistan, Turkmenistan, Uganda, Ukraine, Uzbekistan, Vietnam and Zambia. The tradition sees men honouring their mothers, wives, girlfriends, colleagues, etc with flowers and small gifts. In some countries IWD has the equivalent status of Mother’s Day where children give small presents to their mothers and grandmothers.
A global web of rich and diverse local activity connects women from all around the world ranging from political rallies, business conferences, government activities and networking events through to local women’s craft markets, theatrical performances, fashion parades and more. Many global corporations actively support IWD by running their own events and campaigns. For example, on March 8 search engine and media giant Google often changes its Google Doodle on its global search pages to honor IWD. Year on year IWD is certainly a powerful moment increasing in status.
So make a difference, think globally and act locally!
Make everyday International Women’s Day.
Do your bit to ensure that the future for girls is bright, equal, safe and rewarding.
ที่มาของข้อมูล https://www.internationalwomensday.com/Activity/15586/The-history-of-IWD
ย่อ