วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ

สร้างโดย : นางสาวเบญจมาศ ภัคโชค
สร้างเมื่อ จันทร์, 23/03/2009 – 13:21
มีผู้อ่าน 9,517 ครั้ง (01/11/2022)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/20701

วันวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติ
ตรงกับวันที่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ของทุกปี

            คำว่า “วิทยุ” นั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า เรดิโอ (Radio) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงการรับและส่งข่าวด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุโดยไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อกันระหว่างเครื่องรับกับเครื่องส่ง หากส่งข่าวสารเป็นรหัสสัญญาณไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว แทนภาษาพูด ก็เรียกว่าวิทยุโทรเลข (Radio Telegraph) คือการส่งโทรเลขโดยใช้คลื่นวิทยุนั่นเอง หากส่งให้ออกเป็นเสียงพูดหรือเสียงอื่นได้โดยตรงเรียกว่า วิทยุกระจายเสียง (Radio Broadcasting) เช่น การส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงต่างๆ ที่รับฟังกันอยู่ทั่วไป

            วิทยุโทรเลข ถูกนำเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2447 ตรงกับปลาย รัชกาลที่ 5 โดยห้างบีกริม ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทวิทยุโทรเลขเทเลฟุงเกน ประเทศเยอรมัน ทำการทดลอง ส่งระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเกาะสีชัง

             พ.ศ. 2456 สมัยรัชกาลที่ 6 กระทรวงทหารเรือ จัดตั้งสถานีวิทยุโทรเลขขึ้นที่ตำบลศาลาแดงในพระนครแห่งหนึ่ง และที่จังหวัดสงขลาอีกแห่งหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2469 ได้โอนกิจการสถานีวิทยุทั้งสองแห่งให้กรมไปรษณีโทรเลข และต่อมางานวิทยุโทรเลขได้ขยายไปสู่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ 

             วิทยุกระจายเสียง เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2471 โดยการเริ่มทดลองส่งของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบูรฉัตรไชยากร กรมพระยากำแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพานิชย์ และการคมนาคมในสมัยรัชกาลที่ 7 ตั้งสถานี 4 พีเจ (4PJ)

              ต่อมาได้มีการประกอบเครื่องส่งคลื่นขนาดกลาง 1 กิโลวัตต์ ขึ้น ทำการทดลองที่ตำบลศาลาแดงใช้ชื่อสถานีว่า “11 พีเจ” ซึ่งการใช้ชื่อสถานีว่า “พีเจ” ในยุคนั้น ย่อมาจากคำว่า “บุรฉัตรไชยากร” อันเป็นพระนามเดิมของพระองค์ท่านนั่นเอง

              หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคล ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเปิดการส่งวิทยุเป็นปฐมฤกษ์ โดยใช้ชื่อสถานีว่า “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท” ตั้งอยู่ที่วังพญาไท มีกำลังส่ง 2.5 กิโลวัตต์ พิธีเปิดสถานีกระทำโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เข้าไมโครโฟนถ่ายทอดไปตามสาย เข้าเครื่องส่งแล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกร นับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย

              พ.ศ. 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะราษฎร์ได้ใช้วิทยุกระจายเสียงเผยแพร่ข่าวให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

              พ.ศ. 2482 รัฐบาลตั้งสำนักงานโฆษณาการขึ้นและโอนสถานีวิทยุต่างๆ ให้อยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักงานโฆษณาการ (ภายหลังเปลี่ยนกรมโฆษณาการ และเป็นกรมประชาสัมพันธ์ในปัจจุบัน) เรียกสถานีวิทยุใหม่ว่า “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย” หลังจากนั้นวิทยุกระจายเสียงได้พัฒนาแพร่หลายมาเป็นลำดับ


ความเป็นมาของสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
– 25 กุมภาพันธ์ 2473
         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยกำเนิดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อมีการถ่ายทอดกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทางแก่ปวงชนชาวไทย เนื่องในวันฉัตรมงคลมีใจความตอนหนึ่งว่า “การวิทยุกระจายเสียงที่ได้ริเริ่มจัดตั้งขึ้น และทำการทดลองตลอดมานั้น ก็ด้วยความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”
– 1 เมษายน 2482
         รัฐบาลโอนกิจการวิทยุกระจายเสียงจากกรมไปรษณีย์โทรเลข มาขึ้นกับสำนักงานโฆษณาการ
– 1 มกราคม 2484
         กรมโฆษณาการ (เปลี่ยนชื่อมาจากสำนักงานโฆษณาการ) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกสถานีวิทยุจากเดิม “สถานีวิทยุกรุงเทพฯ”หรือ Radio Bangkok เป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยหรือ Radio Thailand ย้ายที่ตั้งจากวังพญาไทไปรวมกับสถานีวิทยุทดลองของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ศาลาแดง ส่งกระจายเสียงคลื่นสั้น 49 เมตรควบคู่กับคลื่นยาว 363 เมตร เพิ่มกำลังส่งเป็น 10,000 วัตต์
– 11 กันยายน 2494
         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 10กิโลวัตต์ตั้งเครื่องส่งอยู่ที่ซอยอารี ถนนพหลโยธิน ห้องส่งอยู่กรมประชาสัมพันธ์ ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพมหานคร
– 24 มิถุนายน 2496
         ออกอากาศภาคภาษาต่างประเทศด้วยเครื่องส่ง 50 กิโลวัตต์ เครื่องส่งตั้งอยู่ที่ ซอยอารี ถนนพหลโยธินห้องส่งอยู่กรมประชาสัมพันธ์ ถนนราชดำเนินกลางกรุงเทพมหานคร
– ปี พ.ศ. 2499
         กรมประชาสัมพันธ์ ส่งกระจายเสียงระบบ เอฟ.เอ็ม. กำลังส่ง 250วัตต์ใช้สำหรับถ่ายทอดรายการจากห้องส่งกรมประชาสัมพันธ์ไปที่เครื่องส่งซอยอารี แทนสายโทรศัพท์ นับว่าเป็นการส่งกระจายเสียงในระบบ เอฟ.เอ็ม. เป็นครั้งแรกในประเทศไทย
– 6 ธันวาคม 2508
         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศด้วยกำลังส่ง 100 กิโลวัตต์ส่งคลื่นขนาดกลางและคลื่นยาวเครื่องส่งตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐม ส่วนห้องส่งยังอยู่ ณ กรมประชาสัมพันธ์
– 14 พฤษภาคม 2510
         สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ออกอากาศคลื่นสั้นไปต่างประเทศ ด้วยกำลังส่ง 100 กิโลวัตต์ เท่ากับคลื่นยาวในประเทศ ตั้งเครื่องส่งอยู่ที่ตำบลคลองห้าอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีและย้ายเครื่องส่งคลื่นสั้นเดิม 50 กิโลวัตต์ จากซอยอารี ไปรวมอยู่ด้วยกัน
– 3 พฤษภาคม 2525
         เปิดสถานีเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย1,000 กิโลวัตต์ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ที่ ตำบลหนอง โรงอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
– 3 พฤษภาคม 2529
         เปิดคารใหม่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต โดยร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ย้ายจากอาคารกรมประชาสัมพันธ์ไปอยู่ที่อาคารถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2529 ออกอากาศในขณะนั้นตั้งเวลา05.30 – 23.00 น. รวม 17 ชั่วโมง 30 นาที ต่อวัน(เฉพาะภาคในประเทศ)โดยแบ่งออกเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ภาคปกติ, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย รายการ 2เพื่อการศึกษา, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยรายการ 3 เสนอเพลงและข่าวเพื่อสาธารณภัยจราจร และบริการสาธารณะ, สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ภาคภาษาต่างประเทศ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

  • www.panyathai.or.th
  • www.tlcthai.com

      สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กำหนดจัดงาน “84 ปี วันวิทยุกระจายเสียงไทย” เพื่อราลึกถึงพระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย ในวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557 ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดีรังสิต นายจรูญ ไชยศร ผู้อานวยการสถานีวิทยุกระจายเสียง แห่งประเทศไทย (ผอ.สวท.) กล่าวว่า การจัดงาน 84 ปี วันวิทยุกระจายเสียงไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อราลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกาแพงเพ็ชรอัครโยธิน พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย และความสาคัญอองการเริ่มต้นกิจการกระจายเสียงในประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ซึ่งมีการถ่ายทอดกระแส พระราชดารัสอองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล จากพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ถ่ายทอดไปตามสายเอ้าเครื่องส่งและออกอากาศ ที่สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท ภายในพระราชวังพญาไท ซึ่งถือเป็นการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงเป็นครั้งแรกอองไทย การจัดงาน 84 ปี วันวิทยุกระจายเสียงไทย มีกิจกรรมต่างๆประกอบด้วยพิธีพราหมณ์ พิธีสงฆ์ พิธีสักการะพระรูป พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกาแพงเพ็ชรอัครโยธิน ในวลา 07.00 น.-12.00 น. การจัดรายการพิเศษในหัวอ้อเรื่อง “84 ปี วิทยุกระจายเสียงไทย…ก้าวต่อไปสู่วิทยุดิจิตอล” ออกอากาศทาง สวท. ความถี่ เอฟ.เอ็ม. 92.5 เมกะเฮิรตซ์ , เอ.เอ็ม. 819 กิโลเฮิรตซ์, เอ.เอ็ม. 837 กิโลเฮิรตซ์ และเอ.เอ็ม. 891 กิโลเฮิรตซ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 10.00 น. และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวันวิทยุกระจายเสียงไทย ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ สวท.งดรับกระเช้า โดยออรับเป็นเงินบริจาคเพื่อสมทบทุนเอ้า “มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์”