วันสหประชาชาติ

สร้างโดย : เบญจมาศ ภัคโชค
สร้างเมื่อ พฤ, 09/10/2008 – 12:00
มีผู้อ่าน 18,669 ครั้ง (22/10/2022)

วันสหประชาชาติ

ตรงกับวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปี

     วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ (UNITED NATIONS) ขึ้นเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลก อีกทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศสมาชิก ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ซึ่งวันสหประชาชาติเป็นวันหยุดประจำชาติ ส่วนประเทศสวีเดนได้กำหนดให้เป็นวันธงชาติสวีเดน

องค์การสหประชาชาติ (United Nations Organization) หรือ UN

     เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการนำสันติภาพสู่โลก โดยพยายามให้มนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา ได้อยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค และสงบสุข ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482 – 2488) โดยความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) เนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่

  • ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี
  • เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก
  • เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือ ระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

     องค์การสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก (New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา (The United State of America) ภาษาทางการที่ใช้มีอยู่ 6 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย จีน และภาษาอาหรับ

     เลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นาย ปัน คี มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 ต่อจากนายโคฟี่ อันนัม

     การริเริ่มก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ดำเนินมาเป็นขั้นตอนตามลำดับดังนี้

  1. วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1941 (พ.ศ.2484) ผู้แทนประเทศต่างๆ ได้มาประชุมร่วมที่พระราชวังเซนต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ เพื่อเจรจายุติสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการลงนามในปฏิญญาลอนดอนระหว่างบรรดาผู้แทนรัฐบาลพลัดถิ่นในประเทศอังกฤษ และเสนอให้จัดตั้งองค์การสันติภาพโลก
  2. วันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1941 (พ.ศ.2484)  ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แถลงการณ์ร่วมกับนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล แห่งอังกฤษ บนเรือประจัญบานออกัสตา เรียกแถลงกราณ์นี้ว่า  “กฎบัตรแอตแลนติก” เพื่อก่อตั้งองค์การสันติภาพ และก่อให้เกิดการร่วมลงนามในปฎิญญาสหประชาชาติ ทำให้เกิดคำว่า “สหประชาชาติ”
  3. วันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1943 (พ.ศ.2486) ผู้แทนของจีน สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้ประชุมหารือ และลงนามในปฏิญญามอสโก
  4. ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม ถึงวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ผู้แทนของจีนสหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ได้มีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างกฎบัตรลงประชามติที่ดัมบาร์ตัน โอ๊ค ชานเมืองกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
  5. วันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 (พ.ศ.2488) ประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลต์ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล และจอมพลสตาลิน ร่วมประชุมกัน ณ เมืองยัลตา แหลมไครเมีย ในสหภาพโซเวียต เพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎบัตรของสหประชาชาติ โดยตกลงกันในเรื่องสิทธิยับยั้งความปลอดภัย
  6. วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1945 (พ.ศ.2488) มีการประชุมที่เมืองซานฟรานซิโก ระหว่างประเทศต่างๆ จำนวน 50 ประเทศ เพื่อร่วมลงนามในกฎบัตรของสหประชาชาติ
  7. วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ.2488) กฎบัตรสหประชาชาติได้รับสัตยาบันจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต จีน และประเทศส่วนใหญ่ที่ลงนามในกฎบัตรสหประชาชาติ และกฎบัตรเริ่มมีผลบังคับใช้ ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันสหประชาชาติ”

     สมาชิกเริ่มแรกของการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ มีจำนวน 51 ประเทศ (ประเทศโปแลนด์ได้ลงนามเพิ่มอีก 1 ประเทศ)

องค์การสหประชาชาติประกอบด้วย องค์การหลัก 6 องค์กร ได้แก่

  1. สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ( General Assembly ) สมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศต้องเป็นสมาชิกสมัชชาด้วย สมัชชาจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน และอาจมีประชุมสมัยพิเศษขึ้นตามโอกาสที่เหมาะสม ในการประชุมแต่ละครั้ง ประเทศสมาชิกมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 คน แต่ละประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง 
         สมัชชาจะประกอบไปด้วยประธานสมัชชา 1 คน รองประธานจำนวน 17 คน โดยจะคัดเลือกจากทวีปยุโรป 3 คน อเมริกาใต้ 3 คน เอเชียและแอฟริกา 7 คน และประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง จำนวน 5 คน (ถ้าประธานมาจากพื้นที่ใด รองประธานจากเขตนั้นต้องลดลงจำนวน 1 คน)
  2. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพาทกรณีนั้นได้ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านสันติภาพของโลก คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร (Permanent Members) 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน และสมาชิกเลือกตั้ง (Non-permanent Members) อีก 10 ประเทศ และอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
  3. คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council) มีหน้าที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ระหว่างสมาชิกประเทศ มีสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้ง ละ 3 ปี
  4. คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะทรัสตี สมาชิก และคณะมนตรีภาวะทรัสตีนี้ได้แก่ ประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี สมาชิกประจำคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิกอื่นๆ ที่เลือกตั้งโดยสมัชชา คณะมนตรีภาวะทรัสตีได้ดำเนินนโยบายที่จะให้ประเทศที่อยู่ในภาวะทรัสตี สามารถประกาศตนเป็นเอกราชได้ และสามารถทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
  5. สำนักงานเลขาธิการสหประชาชาติ (The Secretariat) มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่างๆ ในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารงาน อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี โดยการแต่งตั้งจากมีประชุมสมัชชาใหญ่
  6. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นๆ ในองค์การสหประชาชาติ เช่น ศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยการคัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง

กิจกรรมในวันสหประชาชาติ

     ในวันนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะจัดนิทรรศการเพื่อแพร่ประวัติความเป็นมา และวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ และมีการประดับธงของสหประชาชาติตามสถานที่สำคัญๆ ในประเทศต่างๆ

     นอกจากนี้คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ร่วมกับสมาคมสหประชาชาติแห่งประเทศไทย และหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สหประชาชาติ ได้ร่วมกันจัดงานฉลองวันสหประชาชาติเป็นประจำทุกปี เพื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ผลงานของสหประชาชาติ โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบถึงบทบาท และหน้าที่ของสหประชาชาติ โดยเฉพาะบทบาท และหน้าที่ในประเทศไทย

              The name “United Nations”, coined by United States President Franklin D. Roosevelt, was first used in the “Declaration by United Nations” of 1 January 1942, during the Second World War, when representatives of 26 nations pledged their Governments to continue fighting together against the Axis Powers.

              States first established international organizations to cooperate on specific matters. The International Telecommunication Union was founded in 1865 as the International Telegraph Union, and the Universal Postal Union was established in 1874. Both are now United Nations specialized agencies.

              In 1899, the International Peace Conference was held in The Hague to elaborate instruments for settling crises peacefully, preventing wars and codifying rules of warfare. It adopted the Convention for the Pacific Settlement of International Disputes and established the Permanent Court of Arbitration, which began work in 1902.

              The forerunner of the United Nations was the League of Nations, an organization conceived in similar circumstances during the first World War, and established in 1919 under the Treaty of Versailles “to promote international cooperation and to achieve peace and security.” The International Labour Organization was also created under the Treaty of Versailles as an affiliated agency of the League. The League of Nations ceased its activities after failing to prevent the Second World War.

               In 1945, representatives of 50 countries met in San Francisco at the United Nations Conference on International Organization to draw up the United Nations Charter. Those delegates deliberated on the basis of proposals worked out by the representatives of China, the Soviet Union, the United Kingdom and the United States at Dumbarton Oaks, United States in August-October 1944. The Charter was signed on 26 June 1945 by the representatives of the 50 countries. Poland, which was not represented at the Conference, signed it later and became one of the original 51 Member States.

               The United Nations officially came into existence on 24 October 1945, when the Charter had been ratified by China, France, the Soviet Union, the United Kingdom, the United States and by a majority of other signatories. United Nations Day is celebrated on 24 October each year.

——————————————————————————–
Extracted from: Basic Facts About the United Nations 2000, Sales No. E.00.I.21.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก