มหาเวสสันดรชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนทุกระดับชั้น

สร้างโดย : นางสาวโสรดา ปิยะศุภสิทธิ์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
สร้างเมื่อ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2545
มีผู้อ่าน 1,999,067 ครั้ง (21/10/2022)

             มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้ว เป็นเรื่องที่สนุกสนานและมีคติธรรม ทางข้าพเจ้าผู้จัดทำได้รับฟังแล้วรู้สึกประทับใจ ในเนื้อหาคติธรรมและไหวพริบปฏิภาณของตัวละคร จึงมุ่งหวังให้ท่านผู้ที่เข้ามาชมได้รับรู้เรื่องราวอันน่าสนใจนี้และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีประโยชน์ โดยเนื้อหาที่ข้าพเจ้าได้ค้นหามานั้นมีทั้งประวัติความเป็นมา การประกอบพิธีกัณฑ์เทศน์ และเรื่องย่อ
             ข้าพเจ้าได้พยายามรวบรวมเนื้อหามาสุดความสามารถแต่ถ้ามีการผิดพลาดประการใดก็กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอความกรุณาท่านช่วยส่งคำติชมกลับมาที่ email ที่ข้าพเจ้าได้แจ้งไว้ด้วย
             ขอขอบคุณ อาจารย์พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล ที่ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่หนูมาตลอดค่ะ
             ขอขอบคุณ อาจารย์รัตนาภรณ์ ทองอยู่ ที่ให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มาทำโปรเจ็คนี้มีประโยชน์มากค่ะ
             ขอขอบคุณ เพื่อน ๆ ทุกคน ที่คอยช่วยทำและให้คำปรึกษาและกำลังใจแก่เรามาทั้งมากและน้อย

ชาดก

             ชาดก เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ชาดกมี 2 ประเภท คือ

  1. นิบาตชาดก เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี 500 เรื่อง แบ่งออกเป็นหมวดๆ ตามจำนวนคาถา นับตั้งแต่ 1 คาถาถึง 80 คาถา ชาดกที่มี 1 คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก 2 คาถาเรียกว่า ทุกนิบาตชาดก 3 คาถาเรียกว่า ตักนิบาตชาดก 4 คาถาเรียกว่า จตุคนิบาตชาดก 5 คาถาเรียกว่า ปัญจกนิบาตชาดก ชาดกที่มีเกิน 80 คาถาขึ้นไปเรียกว่า มหานิบาตชาดก ซึ้งมี 10 เรื่อง เรียก ทศชาติ หรือ พระเจ้าสิบชาติ
  2. ปัญญาสชาติชาดก เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมือง ไม่มีในพระไตรปิฎก หรือเรียกว่า ชาดกนิบาตมี 50 เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. 2000-2200 เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก ครั้นเมื่อพ.ศ.2443-2448 พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์ ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก หอพระสมุดสำหรับพระนคร ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย เรื่องปัญญสชาดกจึงแพร่หลาย

             องค์ประกอบของชาดก ชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ 3 ประเภท คือ

  1. ปรารภเรื่อง คือบทนำเรื่องหรือ อุบัติเหตุ จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น เช่น มหาเวสสันดกชาดก
  2. อดีตนิทาน หรือ ชาดก หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า
  3. ประชุมชาดก ประมวลชาดก เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน

ทศบารมี

             ทศบารมี คือ บารมีที่พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญ 10 ประการในชาติต่างๆ คือ

  1. พระเตมีย์ บำเพ็ญ เมตตาบารมี
  2. พระมหาชนก บำเพ็ญ วิริยะบารมี
  3. พระสุวรรณสาม บำเพ็ญ เมตตาบารมี
  4. พระเนมีราช บำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
  5. พระมโหสถ บำเพ็ญ ปัญญาบารมี
  6. พระภูริทัต บำเพ็ญ ศีลบารมี
  7. พระจันทกุมาร บำเพ็ญ ขันติบารมี
  8. พระนารทะ บำเพ็ญ อุเบกขาบารมี
  9. พระวิทูร บำเพ็ญ สัจจะบารมี
  10. พระเวสสันดร บำเพ็ญ ทานบารมี
    หัวใจพระเจ้าสิบชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว ( อักษรตัวแรก ของแต่ละชาติ )

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ

             การมีเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลังฤดูทำนาเสร็จคือราวเดือนอ้าย ( ตั้งแต่วันสารทไทยเป็นต้นไปบางแห่งก็ทำช่วงสงกรานต์ )ส่วนจำนวนวันที่จัดนั้น จัดเสร็จภายใน 1 วันกับ 1 คืนตามคตินิยม ( ถือกันเป็นประเพณีว่า ถ้าใครฟังจบทั้ง 13 กัณฑ์ในวันเดียวย่อมได้บุญแรง ถ้าไม่บรรลุโลกุตรธรรม ก็จะได้พบพระศรีอริยเมตไตรย ) จัดเฉพาะกลางวันรวม 3 วันบ้าง ทั้งนี้แล้วแต่ความสะดวกเป็นสำคัญ เมื่อมีการเทศน์มหาชาติ นิยมประดับประดาสถานที่เทศน์ให้เปป็นเสมือนป่า เพื่อให้คล้ายป่าเมืองกบิลพัสดุ์ โดยจัดให้มีต้นกล้วย ต้นไม้ประดับตามประตูวัด และที่ธรรมมาสน์เทศน์
เครื่องกัณฑ์เทศน์
             เมื่อใครรับกัณฑ์ใด ก็ได้นามว่าเป็นเจ้าของกัณฑ์นั้น และมีหน้าที่จัดเครื่องกัณฑ์มาถวาย เป็นต้นว่า เครื่องอัฏฐบริขาร ของขบฉันข้างหน้าธรรมมาสน์ต้องมีหมากประจำกัณฑ์ (มักนิยมเลียนแบบของป่า ) และขันนำมนต์ส่วนวัตถุปัจจัยได้แก่ เงินเหรียญติดเทียนซึ้งปักบนเชิงรองพานตั้งไว้หากมีผู้บริจาคเงินเป็นธนบัตรก็ใช้ไม้เล็ก คีบธนบัตรปักลงที่เทียนอีกทีหนึ่งนอกจากนี้เครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ยังมีเทียนประจำกัณฑ์เล่มใหญ่ พอจุดจนจบกัณฑ์ ปักไว้ข้างอาสนะสงฆ์ ฉัตรธงรูปชายธง ธูปเทียนคาถา ดอกไม้ อย่างละพันเท่าจำนวนคาถาที่ทั้งเรือมี 1000 พระคาถามีผ้าเขียนภาพระบายสีหรือปักด้วยไหมเป็นรูปภาพประจำกัณฑ์ที่เรียกว่า ” ผ้าพระบฏ ” หรือ ” ภาพพระบฏ ” มีพานหมาก หรือขันหมากพลูไว้ถวายพระด้วย มักประดิษฐ์ประดอยทำเครื่องกัณฑ์ด้วยความประณีต มีการทำขนมและการแกะสลักผักเป็นการประกวดงานฝีมือกันไปในตัว เช่น จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ” เครื่องกัณฑ์ของนางศรีประจันแกะเรียบร้อยก่าขุนช้าง” คือ
             บ้างเอามะละกอมาผ่าจัก ช่วยกันแกะสลักเป็นหนักหนา
             แล้วย้อมสีสดงามอร่ามตา ประดับประดาเป็นศรีขรินทร์
             แกะเป็นราชสีห์สิงห์อัด เหยียบหยัดยืนอยู่ดูเฉิดฉิน
             แกะเป็นเทพพนมพรหมมินทร์ พระอินทร์ถือแก้วและเหาะมา
             แกะรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ผาดผันเผ่นผยองล่องเวหา
             ยกเข้าไปให้เขาโมทนา ฝูงข้าก็รับไปทันที

หนังสือคำหลวง

             หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้

  1. เป็นพระราชนิพนธ์ ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูงทรงนิพนธ์
  2. เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาและศีลธรรมจรรยา
  3. ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และ ร่าย
  4. ใช้สวดทำนองหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้ประดิษฐ์ขึ้นได้ (สวดคัร้งแรนกที่วัดพระศรีสรรเพ็ชฌ์ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี )    

คาถาพัน

             คาถาพัน  หมายถึง  คาถาภาษาบาลี ที่ยกขึ้นมานำความทั้งมีจำนวน 1000 คาถา  เช่นในกัณฑ์ทานกัณฑ์ก็บอกไว้ตอนจบว่า ” ทานกัณฑ์นิฏฐิตํ ประดับด้วยพระคาถา 209 คาถา “
             คำว่า คาถา  หมายถึง  ฉันท์บทหนึ่ง มีถ้อยคำ 4 วรรค วรรคหนึ่งมี 8 คำ  คาถาหนึ่งจึงมีคำ 32 คำเป็นพื้น

มหาเวสสันดรชาดก

             มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆครบถ้วนทั้ง 10 ประการ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มหาชาติ” และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรืก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติ
             มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องสูงส่ง แสดงให้เห็นถึงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนของพระเวสสันดร เพื่อเป็นทางนำไปสู่พระโพธิญาณ เมื่อได้บรรลุพระโพธิญาณแล้วก็มิได้รับประโยชน์เฉพาะตน แต่ได้นำมาสั่งสอนเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกด้วย
             มหาเวสสันดรชาดก เป็นเรื่องที่คนไทยรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแต่ไม่มีหลักฐานเหลือมา หนังสือวสสันดรชาดก เพิ่งมามีลายลักษณ์อักษรแน่นอนเมื่องครั้งกรุงศรีอยุธยา
             สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าโปรกกระหม่อมให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นเมื่อปีขาล จุลศักราช 44 คือพ.ศ. 2025 เรียกชื่อว่า “มหาชาติ” เป็นคำคละกันมีทั้งโคลงฉันท์ กาพย์ ร่าย มีวัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้ในการสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา
             ต่อมา ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้รุจนามหาเวสสันดรชาดกขึ้นอีก เมื่อจุลศักราช 964 คือพ.ศ. 2145 เรียกชื่อว่า “กาพย์มหาชาติ” เป็นคำประพันธ์ชนิดร่ายยาว วัตถุประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้สำหรับเทศน์
             หนังสือกาพย์มหาชาติให้จบในวันเดียวไม่ได้ จึงมีผู้แต่งกัณฑ์ต่างๆขึ้นใหม่ เพื่อย่นย่อให้สั้นเข้าและเทศน์จบภายในวันเดียวปรากฎว่ามีผู้แต่งมากมายหลายสำนวน คำประพันธ์ที่ใช้ก็ใช้ร่ายยาวเป็นพื้นแต่เรีกชื่อกันใหม่ว่า “มหาชาติกลอนเทศน์”
             มหาชาติกลอนเทศน์นี่เองที่รวมกันเข้าเป็น “ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก” คือท่านนักปราชญ์ เลือกเฟ้นเอากลอนเทศน์ที่สำนวนดีมารวมกันเข้า งานนี้เริ่มมาตั้งแต่พ.ศ. 2449 และสำเร็จเรียบง่ายบริบูรณ์เมื่อพ.ศ. 2452 ในรัชกาลที่ 5 และใช้เป็นแบบเรียนสืบเนื่องกันมาจนกระทั่งปัจจุบัน

รายนามกวีผู้แต่งมหาเวสสันดรชาดก

             หนังสือมหาเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดเป็นแบบเรียน มีรายนามและนามผู้แต่งดังต่อไปนี้

  1. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ 5 กัณฑ์คือ
    • ทศพร
    • หิมพานต์
    • มหาราช
    • นครกัณฑ์
  2. พระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ 3 กัณฑ์ คือ
    • วนปเวสนื
    • จุลพน
    • สักบรรพ
  3. เจ้าพระยาพระคลัง ( หน ) นิพนธ์ 2 กัณฑ์ คือ
    • กุมาร
    • มัทรี
  4. พระเทพโมลี ( กลั่น ) นิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ มหาพน
  5. สำนักวัดถนน นิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ ทานกัณฑ์
  6. สำนักวัดสัขจายนิพนธ์ 1 กัณฑ์ คือ ชูชก

เพลงประจำกัณฑ์

             หนังสือมหาเวสสันดรชาดก มีจำนวนคาถา 1000 คาถา 13 กัณฑ์ และมีเพลงประจำกัณฑ์ ซึ่งสมเด็จพนะเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงกำหนดให้พิณพาทย์ บรรเลงเพลงประจำกัณฑ์ดังนี้

  1. กัณฑ์ทศพร 19 คาถา เพลง สาธุการ
  2. กัณฑ์หิมพานต์ 137 คาถา เพลง ตวงพระธาตุ
  3. กัณฑ์ทานกัณฑ์ 209 คาถา เพลง พญาโศก
  4. กัณฑ์วนปเวศน์ 57 คาถา เพลง พญาเดิน
  5. กัณฑ์ชูชก 78 คาถา เพลง เซ่นเหล้า
  6. กัณฑ์จุลพน 35 คาถา เพลง คุกพาทย์
  7. กัณฑ์มหาพน 80 คาถา เพลง เชิดกลอง
  8. กัณฑ์กุมาร 101 คาถา เพลง โฮด เชิดฉิ่ง
  9. กัณฑ์มัทรี 90 คาถา เพลง ทยอยโอด
  10. กัณฑ์สักกบรรน 43 คาถา เพลง กลม
  11. กัณฑ์มหาราช 69 คาถา เพลง กราวนอก
  12. กัณฑ์ฉกษัตริย์ 36 คาถา เพลง ตระนอน
  13. กัณฑ์นครกัณฑ์ 78 คาถา เพลง กลองโยน

ตัวละครกับการกลับชาติมาเกิด

             เมื่อพระพุทธองค์ตรัสเทศนาจบเรื่องพระเวสสันดรชาดกจบแล้ว ทรงแสดงเทศนาอริยสัจ 4 และตรัสถึงการกลับชาติมาเกิดของพระองค์และบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น

  • พระเจ้ากรุงสนชัย กลับชาติมาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวกพ้อง
  • พระนางผุสดี กลับชาติมาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา เป็นแบบอย่างของนักปกครองฟังเสียงส่วนมากไม่เห็นแก่พวกพ้อง
  • พระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็น พระนางพิมพายโสธรา เป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี
  • พระชาลี กลับชาติมาเกิดเป็น พระราหุล เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่
  • ชูชก กลับชาติมาเกิดเป็น พระเทวทัต เป็นแบบอย่างของคนที่ติดอยู่ในกาม
  • พรานเจตบุตร กลับชาติมาเกิดเป็น นายฉันนะ เป็นแบบอย่างของคนดีแต่ขาดความเฉลียวฉลาด
  • พระกัณหา กลับชาติมาเกิดเป็น นางอุบลวรรณา เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่
  • พระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
  • พระเจ้ากรุงมัทราช กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหานาม
  • นางอมิตตดา กลับชาติมาเกิดเป็น นางจิญจมานวิกา เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทพ่อแม่ตามคติของคนยุคนั้น
  • อัจจุตฤาษี กลับชาติมาเกิดเป็น พระสารีบุตร เป็นแบบอย่างของนักธรรมผู้ฉลาด แต่ขาดเฉลียว หูเบา เชื่อคนง่าย
  • พระเวสสุกรรม กลับชาติมาเกิดเป็น พระโมคคัลลานะ
  • พระอินทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น พระอนุรุท
  • เทวดาที่เนรมิตเป็นพระยาราชสีห์ กลับชาติมาเกิดเป็น พระอุบาลี
  • เทวดาที่เนรมิตเป็นพระยาเสือโคร่ง กลับชาติมาเกิดเป็น พระสิมพลี
  • เทวดาที่เนรมิตเป็นพระยาเสือเหลือง กลับชาติมาเกิดเป็น พระจุลนาค
  • เทวดาที่เนรมิตเป็นพระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหากัจจายนะ
  • เทพธิดาที่เนรมิตเป็นพระนางมัทรี กลับชาติมาเกิดเป็น นางวิสาขา
  • ช้างปัจจัยนาเตนทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น พระมหากัสสปป
  • นางช้างมารดาช้างปัจจยนาเคนทร์ กลับชาติมาเกิดเป็น นางกีสาโคตมี
  • นายนักการที่เอาข่าวไปทูลพระเวสสันดร กลับชาติมาเกิดเป็น พระอานนท์
  • มหาทาน กลับชาติมาเกิดเป็น อนาถบิณทกเศรษฐี
  • สหชาติโยธา กลับชาติมาเกิดเป็น พุทธเวไนย

             เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานเทศนาพระเวสสันดรจบแล้ว ทรงแสดงเทศนาอริยสัจ 4 มีทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ

เนื้อเรื่องย่อ

             เนื้อเรื่องย่อมหาเวสสันดรชาดกมีทั้งหมด  13 กัณฑ์ ประกอบด้วย 1000 พระคาถา ซึ่งท่านสามารถอ่านเนื้อเรื่องย่อของแต่ละกัณฑ์ได้ดังนี้

1. กัณฑ์ทศพร
             เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขรพรรษ พระสงค์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องมหาเวสสันดรชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ 98 นับแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ้งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร ทรงอธิษฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญจบลงตอนพระนางได้รับพร 10 ประการจากพระอินทร์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีที่เป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกันจะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่าย มีรูปร่างที่งดงาม มีความประพฤติดีกริยาเรียบร้อย
             พระอินทร์ประทานพร 10 ประการแด่พระนางผุสดี

  1. ขอให้พระนางได้ประทับในปราสาท พระเจ้าสีวีราษฎร์
  2. ขอให้ดวงเนตรทั้งสองดำมีสีดำ ประดุจลูกตาเนื้อทราย
  3. ขอให้พระขนงเขียวดุจสร้อยคอนกยูง
  4. ขอให้มีนามว่าผุสดี
  5. ขอให้มีพระโอรสที่ทรงเกียรติยิ่งกว่ากษัตริย์ทั้งหลายและมีพระราชศรัทธาในการกุศล
  6. ขออย่าให้พระครรภ์ปรากฎนูนดังสตรีสามัญ
  7. ขออย่าให้พระถันทั้งคู่ดำในเวลาทรงครรภ์และเมื่อประสูตรแล้วขออย่าหย่อนยาน
  8. ขอให้พระเกศดำเป็นมันดุจปีกแมลงค่อมทอง
  9. ขอให้มีพระฉวีวรรณละเอียดดั่งทองคำธรรมชาติ
  10. ขอให้ทรงมีอำนาจปล่อยนักโทษประหารชีวิตให้พ้นโทษ

2. กัณฑ์หิมพานต์
             พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัยกับพระนางผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติที่ตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้รับเวนราชสมบัติจากพระบิดา ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่กษัตริย์แคว้นกลิงคราชฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกพระราชบิดาเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมได้สิ่งที่ปรารถนาทุกประการ ครั้นตายแล้วได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์เสวยสมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์จุติจากสวรรค์แล้ว จะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาลหรือตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมายนานาประการจะประมาณมิได้ ประกอบด้วยการสบายใจทุกอิริยาบถ

3. กัณฑ์ทานกัณฑ์
             ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตสดก มหาทาน คือช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญิง โคนม และ นางสนม อย่างละ 700 อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวยนเงินทองทาส ทาสี และสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมายเสวยสุขในปราสาทแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ

4. กัณฑ์วนปเวสน์
             พระเวสสันดรทรงพระนางมัทรีและพระชาลี ( โอรส ) พระกัณหา (ธิดา ) เสด็จจากเมืองผ่านแคว้น เจตราษฎร์ จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์ อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้าจะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีป เป็นผู้ทรงปรีชาเฉลียวฉลาดสามาร๔ปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไป

5. กัณฑ์ชูชก
             ชูชกพราหมณ์ ขอทานได้นางอมิตตาบุตรสาวของเพื่อนเป็นภรรยา นางใช้ให้ชูชกไปของสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฎณ์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบพรานเจตบุตรลวงพรานเจตบุตรให้บอกทางไปยังเขาวงกต อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้บังเกิดในตระกูลกษัตริยบ์ ประกอบด้วยสมบัติอันงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะเจรจาปราศรัยก็ไพเราะเสนาะโสต แม้จะได้สามีภรรยา และบุตรธิดาก็ล้วนแต่มีรูปทรงงดงามสอนง่าย
             ลักษณะบุรุษโทษ 18 ประการของชูชก

  1. เท้าทั้งสองข้างใหญ่และคด
  2. เล็บทั้งหมอกุด
  3. ปลีน่องทู่ยู่ยาน
  4. ริมฝีปากบนย้อยทับริมฝีปากล่าง
  5. นำลายไหลออกเป็นยางยืดทั้งสองแก้ม
  6. เขี้ยวงอกออกพ้นปากเหมือนเขี้ยวหมู
  7. จมูกหักฟุบดูน่าชัง
  8. ท้องป่องเป็นกระเปาะดั่งหม้อใหญ่
  9. สันหลังไหล่หักค่อม คด โกง
  10. ตาถล่มลึกทรลักษณ์ ข้างหนึ่งใหญ่ ข้างหนึ่งเล็ก ไม่เสมอกัน
  11. หนวดเครามีพรรณดังลวดทองแดง
  12. ผมโหรง เหลืองดังสีลาน
  13. ตามตัสะครานคลำด้วยแถวเอ็นนูนเกะกะ
  14. มีต่อมแมลงวัน และตกกระดังโรยงา
  15. ลูกตาเหลือง เหลือก เหล่
  16. ร่างกายคดค้อมในที่ทั้งสามคือ คอ หลัง สะเอว
  17. เท้าทั้งสองหัน เห ห่างเกะกะ
  18. ขนตามตัวหยาบดังแปลงหมู

6. กัณฑ์จุลพน
             ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางที่เจตบุตรแนะจนถึงที่อยู่ของอัจจุตฤาษี อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ แม้จะบังเกิดในปรภพใดๆจะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติบริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยไม้หอมตรลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยประทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในโลกหน้าสืบต่อไป

7. กัณฑ์มหาพน
             ชูชกลวงอัจจุตฤาษี ให้บอกทางผ่านป่าไม้ใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร อานิสงค์ของผ้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเสวยสมบัติใดในดาวดึงส์เทวโลกนั้นแล้ว จะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมากมี อุทยานและสระโบกขรณีที่เป็นประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิตย์นิรันดร

8. กัณฑ์กุมาร
             ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ ย่อมประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปแล้วได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยที่พระศรีอาริยาเมตไตรมาอุบัติก็จะได้พบศาสนาของพระองค์ จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วบรรลุพระอรหัตตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้ง 4 ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้

9. กัณฑ์มัทรี
             พระนางมัทรีเสด็จกลับจากหาผลไม้ในป่าออกติดตสมสองกุมารตลอดทั้งคืน จนถึงทรงงิสัญญี ( สลบ ) เฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงฟื้นแล้วพระเวสสันดรตรัสเล่าความจริงเกี่ยวกับสองพระกุมาร พระนางทรงอนุโมทธนาด้วย อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติเป็นผู้มีอายุยืนยาวทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะไปในที่ใดๆก็จะมีแต่ความสุขทุกแห่งหน

10. กัณฑ์สักกบรรณ
             พระอินทร์พระเกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีจึงแปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลขอพระนางมัทรีแล้วฝากไว้กับพระเวสสันดร อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะเป็นผ้ที่เจริญด้วยลาภยศตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง 4 คืออายุวรรณธ สุขะ พละ ตลอดกาล
             พระอินทร์ประทานพร 8 ประการแด่พระเวสสันดร

  1. ให้พระราชบิดาทรงยินดีในการกระทำของพระเวสสันดร
  2. ให้พระเวสสันดรปลดปล่อยนักโทษให้รอดชีวิต
  3. ให้ทรงปกครองประชาชนทุกเพศทุกวัยให้มีความสุข
  4. ไม่ประพฤติผิดในกาม
  5. ให้มีพระโอรสมีเกียรติยศปราบแคว้นอื่นได้
  6. ให้มีอาหารทิพย์มากมายให็เป็นทาน
  7. ให้มีทรัพย์ทำทานไม่รู้หมด และโดยไม่เสียดาย
  8. เมื่อสิ้นชีวิตให้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นสูงสุด

11. กัณฑ์มหาราช
             ชูชกเดินทางเข้าไปแคว้นสีวีราษร์ พระสัญชัย ทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระรายชทานเลี้บง และ ถึงแก่กรรมด้วยกินอาหารมากเกินควร อานิสงค์ขชองผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้มนุษสมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชาเมื่อจากโลกมนุษย์ไปก็จะไปเสวยทิพยืสมบัติ ในฉกามาพจรสวรรค์มีนางเทพอัปสรเป้นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติอันตัดเสียซึ้งชาติ ชรา พยา มรณธ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะ เป็นต้น

12. กัณฑ์ฉกษัตริย์
             กษัตริย์แคว้นถลิงราชย์ทรงคืนช้างปัจจัยนาเคนทร์ พระเจ้ากรุงสญชัย พระนางผุสดี พระชาลี พระกัณหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดร พระนางมัทรีกลับพระนคร เมื่อกษัตริย์ทั้งหกพระองค์ทรงพบกันก็ทรงวิสัญญี ต่อมาฝนโบกขรพรรษตกจึงทรงฟื้นขึ้น อานิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้ที่เจริญด้วยพร 4 ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกๆชาติแล

13. กัณฑ์นครกัณฑ์
             กษัตริย์หกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข อาณิสงค์ของผู้บูชากัณฑ์นี้คือ จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้ยวงคาคณาญาติข้าทาสชาย-หญิง ธิดา สามี หรือบิดามารดา เป็นต้นอยู่พร้อมหน้ากันด้วยความผาสุก ปราศจากดรคาพาธทั้งปวง จะทำการใดๆก็พร้อมเพียงกันยังการงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ผู้จัดทำ

ชื่อ น.ส. โสรดา นามสกุล ปิยะศุภสิทธิ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสรีศรีสุริโยทัย
email : buta_oil1986@hotmail.com