ทักษะชีวิต
สร้างโดย : นายนันทวัฒน์ หมื่นประจญ
สร้างเมื่อ พุธ, 19/01/2011 – 23:03
มีผู้อ่าน 149,568 ครั้ง (18/10/2022)
ทักษะชีวิต
- ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
- ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
- ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
- ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์
- ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
- ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกินการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
อ่านเพิ่มเติม...
ความหมายของทักษะชีวิต คำว่าทักษะ(Skill)หมายถึง ความชัดเจนและความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้ได้แก่ทักษะอาชีพ การกีฬาการทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางภาษา ทักษะทางการใช้เทคโนโลยีฯลฯ ซึ่งเป็นทักษะภายนอกที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากการกระทำหรือจากการปฏิบัติซึ่งทักษะดังกล่าว นั้นเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะทำให้ผู้มีทักษะเหล่านั้นมีชีวิตที่ดี สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้โดยมีโอกาสที่ดีกว่าผู้ไม่มีทักษะ (ประเสริฐตันสกุล) ทักษะชีวิต Lifeskill หมายถึงคุณลักษณะหรือความสามารถเชิงสังคม จิตวิทยา (Phychosoclalcompetence) ที่เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพเอดส์ ยาเสพติด ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรมฯลฯ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข หรือจะกล่าวง่ายๆ ทักษะชีวิตก็คือความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวันเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทักษะชีวิต (LifeSkills) เริ่มต้นการนำมาเผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรู้จักดูแลตนเองทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะส่งผลให้คนมีสภาพการดำรงชีวิตที่มีความสุขและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมโดยไม่เป็นภาระของสังคม เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพ โดยเน้นความสำคัญของบุคคลให้รู้จักการปรับตัวพร้อมการเผชิญในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ดังนั้น องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงให้ความหมายทักษะชีวิตเป็นความสามารถอันประกอบด้วยความรู้ เจตคติและทักษะ ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหารอบๆ ตัวให้อยู่รอดในสภาพสังคมและวัฒนธรรมยุคปัจจุบันได้อย่างมีความสุข และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต คำนิยามของทักษะชีวิต (LifeSkills) ขององค์การอนามัยโลกเน้นความสำคัญในการดำรงตนของบุคคลที่มีความเหมาะสมและทันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งปัญหาของสังคมในยุคปัจจุบันมีความซ้ำซ้อน บางปัญหามีความรุนแรงดังที่ปรากฏในปัญหาเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ บทบาทชายหญิงชีวิตครอบครัวสุขภาพอิทธิพลสื่อสิ่งแวดล้อมฯลฯ ซึ่งคำนิยามดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า จะต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักปรับตัว การฝึกฝนเป็นการเปิดโอกาสให้คนเกิดการพร้อมของตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข นอกจากคำนิยามทักษะชีวิตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ดังที่กล่าวแล้ว ในเวลาต่อมาได้มีการเผยแพร่การศึกษาเรื่องทักษะชีวิตไปยังหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะองค์การช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้นำทักษะชีวิตไปใช้ในการป้องกันโรคเอดส์ โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาคนมิให้ติดเชื้อHIV ด้วยเหตุนี้คำนิยามของทักษะชีวิตมีจุดเน้นความสำคัญทางด้านจิตวิทยาสังคมและความสำคัญของบุคคลในด้านความสามารถในการปฏิบัติตน โดยอาศัยพื้นฐานทางด้านความคิดการตัดสินใจและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมโลก จะเห็นได้ว่า “ทักษะชีวิต” ได้นำไปใช้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมโลก ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาให้คนเกิดการพัฒนาตนเองโดยการใช้ความคิดการปรับตัว การตัดสินใจ การสื่อสาร การจัดการกับอารมณ์และความเครียดในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองได้อย่างฉลาด ด้วยเหตุนี้ทักษะชีวิตจึงประกอบด้วยทักษะต่างๆ ที่ส่งผลให้คนฉลาดรู้เลือกและปฏิบัติ รวมทั้งการรู้จักยับยั้งชั่งใจ บุคคลที่มีทักษะชีวิตจะเป็นคนที่มีเหตุผลรู้จักเลือกการดำรงชีวิตที่เหมาะสม สังคมบุคคลที่มีทักษะชีวิตจะสังคมเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน
องค์ประกอบของทักษะชีวิต องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้10 องค์ประกอบ จัดเป็น 3 ด้าน ดังนี้ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านพุทธิพิสัย (ทักษะด้านความคิด) หมายถึงการรู้จักใช้ เหตุ และ ผล โดยรู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นผล ย่อมมาจาก เหตุเมื่ออยากให้ ผลของการกระทำออกมาดีเป็นที่พึงประสงค์แก่ทั้งของตนเองและส่วนรวมก็ควรคิดกระทำ เหตุที่จะทำให้เกิดผลที่ดีเพื่อจุดประสงค์ที่จะพัฒนาชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมของมนุษย์
- ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
- ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านจิตพิสัย หรือ เจตคติ (ทักษะด้านจิตใจ) หมายถึง การฝึกฝนควบคุมนึกคิดให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงใสสะอาดในความดีงามประกอบด้วยคุณธรรมต่าง ๆ เช่นความรัก ความมีเมตตา กรุณาความเป็นมิตร ความมีน้ำใจ ความมีสัมมาคารวะ ความรู้จักยอมรับ และ เห็นความสำคัญของผู้อื่นความกตัญญู ความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์สุจริต
- ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
- ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัย หรือทักษะสังคม (ทักษะด้านการกระทำ) หมายถึง การฝึกฝนตนเองให้มีทักษะด้านวินัยให้ตนเองเพื่อควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสมไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความรำคาญ ไม่สร้างความเดือดร้อนไม่สร้างความลำบาก ให้แก่ตนเอง และ สังคมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เป็นประโยชน์ต่อสังคมเน้น ความสุจริตทางกายและวาจา
- ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
- ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
- ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภา(Effectivecommunication) เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
- ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
- ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
สำหรับการศึกษาขององค์การช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้ 9 ประการ
- ทักษะการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
- ทักษะในการประเมินศักยภาพของตนเองในสถานการณ์เฉพาะหน้า
- ทักษะในการคิดหาทางเลือกและวิเคราะห์จัดลำดับ
- ทักษะในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในการเลือกทางที่เหมาะสมที่สุด
- ทักษะในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดและการตัดสินใจ
- ทักษะในการปฏิเสธการเจรจาต่อรองเพื่อรักษาน้ำใจและเพื่อประโยชน์อันชอบธรรมของตนเอง
- ทักษะการควบคุมอารมณ์ ความคิดเห็นและพฤติกรรมภายใต้แรงกดดัน
- ทักษะการพัฒนาและปรับเปลี่ยนทัศนคติของตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
- ทักษะการใช้เหตุผลโน้มน้าวจูงใจผู้อื่นให้คล้อยตามและสนับสนุนแนวคิดและการกระทำที่ถูกต้อง
ในประเทศไทยได้มีการนำทักษะชีวิตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการได้มีการนำเอาทักษะชีวิตไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ด้วยเหตุนี้เองได้มีการพัฒนาทักษะชีวิตโดยการปรับโครงสร้างและองค์ประกอบของทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านการป้องกันเอดส์โดยกรมสุขภาพจิตสาธารณสุขได้กำหนดองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้ 12 ทักษะซึ่งประกอบด้วย
- ทักษะความคิดวิเคราะห์วิจารณ์
- ทักษะความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะความตระหนักรู้ในตน
- ทักษะความเห็นใจผู้อื่น
- ทักษะความภูมิใจในตนเอง
- ทักษะความรับผิดชอบต่อสังคม
- ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการตัดสินใจ
- ทักษะการแก้ไขปัญหา
- ทักษะการจัดการกับอารมณ์
- ทักษะในการจัดการกับความเครียด
ทักษะการฟัง (Listening) เป็นทักษะที่ผู้ให้คำปรึกษาแสดงความเอาใจใส่ต่อภาษาพูดและภาษาท่าทางของผู้รับคำปรึกษาโดยการประสานตาพยักหน้าหรือการตอบรับเช่นค่ะ ครับอ้อใช่ถูกต้องอืมยังงั้นหรือการฟังอย่างมีประสิทธิภาพผู้ให้คำปรึกษาควรฝึกฝนดังนี้
- ฟังด้วยความตั้งใจโดยการประสานสายตาเพื่อแสดงความใส่ใจทั้งเนื้อหาสาระ ความรู้สึก รวมทั้งสังเกตท่าทางน้ำเสียงของผู้รับคำปรึกษา
- ไม่แทรกหรือขัดจังหวะยกเว้นผู้รับคำปรึกษาพูดมากวกวนจึงใช้การสรุปประเด็นปัญหาให้เข้าใจขึ้น
- ไม่เปลี่ยนเรื่องและติดตามประเด็นปัญหาของผู้รับคำปรึกษาไม่แสดงอาการรีบมองดูนาฬิกา
ทักษะการถาม (Questioning) การถามเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะได้ข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ของผู้รับคำปรึกษา รวมทั้งอารมณ์ ความรู้สึก และเรื่องราวต่างๆ เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดซึ่งจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไปคำถามแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- คำถามปลายเปิดถามเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดของผู้รับคำปรึกษา เช่น
- วันนี้มีเรื่องอะไรที่จะเล่าให้เราฟังบ้างล่ะ
- เธอคิดอย่างไรกับการที่ไม่ยอมพูดกับคุณพ่อ
- เธอพอจะเล่ารายละเอียดเหตุการณ์วันนั้นให้ฟังหน่อยซิ
- ต้อมคิดอย่างไรจึงตบหน้าเขา
- คำถามปลายปิด เป็นคำถามที่ใช้เมื่อต้องการคำตอบเฉพาะเจาะจงมักจะได้คำตอบสั้นๆไม่ได้ข้อมูลรายละเอียด คำถามประเภทใช่/ไม่ใช่ ดี/ไม่ดี ถูก/ผิด เป็นต้น คำตอบก็จะตอบเพียงสั้นๆ เช่นกัน เพียงแค่ ค่ะ ใช่ดี ไม่ใช่ เช่น
- เธอไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์หรือ
- กิ่งชอบอยู่นั่งอยู่คนเดียวใช่ไหม
- คุณแม่เธอจู้จี้ขี้บ่นทุกวันหรือเปล่า
- เธอชอบไปนอนค้างบ้านเพื่อนใช่ไหม
- ข้อควรระวังการใช้คำถามที่ขึ้นต้นด้วย ทำไม มักไม่นิยมใช้ในการให้คำปรึกษาเพราะจะเป็นลักษณะการประเมินหรือตัดสินผู้อื่นมากไป เช่น ทำไมเธอจึงเป็นคนแบบนี้ ฟังแล้วอาจทำให้เกิดการต่อต้าน
ทักษะการเงียบ (Silence) เป็นทักษะที่นำมาใช้ขณะที่ผู้รับคำปรึกษากำลังพูดและสนับสนุนให้เขาพูดไปเรื่อยๆผู้ให้คำปรึกษาเพียงแต่แสดงสีหน้าและกิริยาท่าทาง ว่ากำลังสนใจฟัง ด้วยการพยักหน้า ประสานสายตาแต่ถ้าผู้รับคำปรึกษาเงียบนานเกินไป ก็ควรใช้คำพูดกระตุ้น เช่น ขณะนี้เธอรู้สึกอย่างไร ก้อยกำลังคิดอะไรอยู่หรือ
ทักษะการให้กำลังใจ (Assurance) เป็นทักษะที่ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้สึกที่ดีต่อผู้รับคำปรึกษา เกิดความเข้าใจ กระจ่างชัด คลายความวิตกกังวลเกิดความมั่นใจและเห็นคุณค่าในตนเอง
ทักษะการสรุปความ (Summarization) เป็นการสรุปประเด็นและสาระในสิ่งที่พูดคุยกัน หรือใจความสำคัญทั้งหมดของความคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่ผู้ขอรับคำปรึกษาสื่อออกมาด้วยภาษาพูด และภาษาท่าทาง เพื่อผู้สนทนามีความเข้าใจที่ตรงกันและชัดเจนขึ้น
แหล่งอ้างอิง: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2541) คู่มือส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสำหรับครู กรุงเทพ .
ย่อ