สร้างเมื่อ พุธ, 26/09/2561 – 07:56

สาระเทคโนโลยี (การออกแบบและเทคโนโลยี และวิทยาการคำนวณ) 
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)

ประกาศคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง 2560)

  1. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
    1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
    2. คำสั่งและประกาศที่เกี่ยวข้อง
  2. คู่มือการใช้หลักสูตร (ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก สสวท.)

รวมลิงก์คู่มือครูพร้อมให้ดาวน์โหลด สำหรับปีการศึกษา 2562

ที่มาของภาพ : https://www.facebook.com/oho.ipst

คำอธิบายรายวิชา เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ดาวน์โหลด: คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4

ที่มา https://www.facebook.com/ipst.thai

         วิทยาการคำนวณไม่ใช่แค่วิชาคอมพิวเตอร์ที่เปลี่ยนชื่อใหม่สำหรับโรงเรียนประถม-มัธยม แต่มีเป้าหมายให้เด็กรุ่นใหม่ ‘รู้เท่าทัน’ เทคโนโลยี และให้เด็กบางส่วนสามารถเป็น’ผู้สร้าง’เทคโนโลยีได้อีกด้วย นักการศึกษาในหลายประเทศเห็นพ้องต้องกันว่าถึงความสำคัญของวิทยาการคำนวณ จึงเสนอให้บรรจุในหลักสูตร เช่นเดียวกับที่สสวท. เสนอให้กับประเทศไทย มาดูกันว่าต่างประเทศเขาเริ่มสอนให้เด็กรู้จักวิทยาการคำนวณเมื่อไร และเด็กๆ จะได้เรียนอะไรกันบ้าง

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจคำศัพท์สักนิด 3 คำนี้ฟังดูคล้ายๆกัน แต่มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย

  1. วิทยาการคำนวณ (Computing Science) เป็นกลุ่มเนื้อหาสาระใหญ่ บางโรงเรียนใช้เป็นชื่อวิชาเลย วิทยาการคำนวณของไทยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และการรู้เรื่องดิจิทัล
  2. วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เป็นส่วนย่อยของวิทยาการคำนวณ วิ ทยาการคอมพิวเตอร์รวมถึงการแก้ปัญหาเป็นขั้นเป็นตอน การเขียนโปรแกรม การพัฒนาแอพลิเคชัน ฯลฯ
  3. การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็น”ทักษะ”การคิด

อ้างอิง: 
1. Heintz, F., Mannila, L., and Farnqvist, T. (2016) “A review of models for introducing computational thinking, computer science, and computing in K-12 education.” Frontier in Education Conference (FIE), IEEE. DOI: 10.1109/FIE.2016.7757410