ปริศนาคำทาย
สร้างโดย : นายวรวิทย์ โรงเรียนบ้านชะโนด2
สร้างเมื่อ จันทร์, 12/07/2010 – 18:04
มีผู้อ่าน 31,307 ครั้ง (23/07/2023)
ที่มา : http://old.thaigoodview.com/node/104549
ปริศนาคำทาย
หมายถึง ถ้อยคำที่ยกขึ้นเป็นเงื่อนงำ เพื่อให้แก้ ให้ทาย การเล่นทายกัน ใช้ถ้อยคำธรรมดาเป็นภาษาร้อยแก้ว หรือจะมีสัมผัสแบบภาษาร้อยกรองก็ได้ ภาษาที่ใช้นั้นเป็นภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ กระชับความ แต่ยากแก่การตีความในตัวปริศนาอยู่บ้าง มักนิยมกันในหมู่เด็ก ๆ หรือผู้ใหญ่ ยกคำทายเพื่อมาทายกัน เป็นการฝึกสมอง ลองภูมิปัญญา ช่วยฝึกความคิด ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเกิดความสนุกขบขัน บันเทิงใจด้วย นอกจากจะนี้ ยังฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักจำ รู้จักสังเกต เป็นวิธีการสอนเด็กที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ในสมัยโบราณ การลองภูมิปัญญาว่าผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาดหรือไม่เพียงไร วิธีหนึ่งก็คือ การทายปริศนาหรือการทายปัญหาดังนั้นการเล่นปริศนาคำทาย จึงเป็นที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ปริศนาคำทาย วิธีเล่นคือผู้ทายจะเริ่มต้นการทายด้วยคำขึ้นต้นว่า “อะไรเอ่ย” ต่อจากนั้นก็จะเริ่มทายถึงสิ่งของ คน ต้นไม้ ผักสด ผลไม้ สัตว์ ฯลฯ โดยนำลักษณะเด่นหรือนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่ใกล้เคียงกันเป็นการชี้แนะเพื่อให้ทายถูก อาจมีปัญหาเชาวน์ ซึ่งผู้ตอบจะต้องมีความรู้รอบตัว และมีความจำอย่างดีว่า คำตอบนั้นคืออะไร ถ้าทายถูกจะเป็นผู้ตั้งปัญหา ถ้าทายผิดจะต้องตอบปัญหาใหม่ หรือผู้ถามจะถามคนเดียวต่อไปเรื่อย ๆ ใช้เล่นตั้งแต่สองคนขึ้นไปไม่จำกัดเวลาและสถานที่ การถามให้ตอบหาก ผู้ตอบตอบไม่ได้ จะมีการบอกใบ้ หากใบ้แล้วยังตอบไม่ได้ ถ้าต้องการทราบคำตอบต้องยอมแพ้ในการยอมจะมีกติกาให้ปฏิบัติตาม เช่น เขกเข่า ให้ดื่มน้ำหรือกินอาหารจนอิ่ม ยอมเป็นทาส ซึ่งผู้ยอมแพ้ถือว่าเป็นการเสียหน้า ทั้งนี้เป็นการเน้นให้คิด ให้ใช้สติปัญญา จะไม่ยอมง่าย ๆ จึงถือว่าเป็นวรรณกรรมที่ส่งเสริมการใช้ความคิดสติปัญญา ปริศนาคำทายของภาคกลางขึ้นต้นด้วย อะไรเอ่ย ภาคเหนือขึ้นต้นด้วย อะหยังหวา อันหยังเอ๊าะ ภาคอีสานขึ้นต้นด้วย แม่นหยัง อิหยัง ภาคใต้ขึ้นต้นด้วย ไอ้ไหรหา ไอ้ไหรเหอ การั่ย ไหโฉ้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็นิยมทายปริศนากัน แต่มักจะแต่งเป็นโคลงหรือกลอนให้มีความไพเราะไปในทางภาษาหนังสือ เป็นการทายในหมู่ชนชั้น ที่ได้รับการศึกษา ซึ่งต่างจากการทายปริศนาตามหมู่บ้านหรือตามประสาชาวบ้าน เช่น วัดหนึ่งนามเรียกคล้าย เวลา ราตรีต่อทิวา นั่นไซร้ มีนามซึ่งชนสา- มัญเรียก แปลว่าวัดซึ่งไร้ ร่มไม้ชายคา (เฉลย – วัดแจ้ง หรือ วัดอรุณ) เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในบางโอกาส สำหรับให้ข้าราชบริพารส่วนพระองค์คิดทายกันเล่น หรือภายในแวดวงข้าราชสำนักสมัยนั้น เช่นในงานฤดูหนาวประจำปีที่วัดเบญจมบพิตรในสมัยนั้น จัดว่าเป็นงานที่สนุกสนานที่สุด เป็นงานที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์มาออกร้านกันมาก การเล่นทายปัญหาหรือปริศนานับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของงาน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ปัญหาร่วมด้วย จึงมีข้าราชบริพารสนใจตอบหรือทายกันมาก และมีรางวัลสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ตอบหรือทายถูกอีกด้วย การเล่นทายปัญหาในวัดเบญจมบพิตรนี้ ในขั้นแรกเรียกว่าเป็นการทาย “ผะหมี” ซึ่งเป็นการเล่นอย่างแพร่หลายในหมู่ นักปราชญ์ราชบัณฑิตและกวีในประเทศจีน
ลักษณะของปริศนาคำทาย
- นิยมใช้คำคล้องจองกันโดยไม่กำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค เป็นข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดหรืออาจผูกเป็นปริศนากลอน ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนทำให้จำได้ง่าย
- เนื้อหานั้นมักจะนำมาจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ของใช้ คน สัตว์ ผัก พืช เวลา สถานที่ เครื่องใช้ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เชาว์ปัญญา ฯลฯ ซึ่งผู้ผูกปริศนาจะต้องเป็นคนช่างสังเกต แล้วนำเอาสิ่งที่สังเกตเห็นมาผูกปริศนาให้ผู้อื่นใช้ปัญญาเพื่อแก้หรือทาย
- จำนวนข้อความคำถามจะมีความสั้นยาวไม่เท่ากัน คือ อาจจะมีเพียงตอนเดียว สองตอน สามตอน หรือมากกว่านี้ แต่ข้อความทุกตอนจะเป็นการบอกคำตอบอยู่ในตัวเป็นนัยๆ ซึ่งเมื่อนำคำตอบมารวมกันจะเป็นลักษณะของสิ่งที่ทายนั่นเอง
- ไม่นิยมถามตรง ๆ แต่จะใช้สิ่งเปรียบเทียบ
- มีการท้าทายให้ผู้ไขปริศนาพยายามคิด
ประโยชน์ที่ได้รับ
- ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ขบขัน เป็นการพัฒนาจิตใจให้แจ่มใส
- ฝึกให้ผู้เล่นเป็นผู้มีนิสัยช่างสังเกต ช่างคิด ฉลาดเฉลียวในการฝึกปัญญาของผู้เล่น
- ผู้เล่นจะได้รับความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น สำนวนภาษา สังคมวิทยา และธรรมชาติวิทยา
- เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- เป็นการสร้างความสามัคคีสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหมู่ผู้เล่นอีกด้วย
- เป็นการพัฒนาการใช้ภาษา
- เป็นการฝึกให้มีไหวพริบ เชาวน์ ปัญญาดี
ตัวอย่างของปริศนา
ตัวอย่างของปริศนาคำทายแยกเป็นประเภท ดังนี้
ปริศนาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพ
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
อะไรเอ่ย ข้างโน้นก็เขาข้างนี้ก็เขาเรือสำเภาแล่นตรงกลาง | กี่ทอผ้า |
อะไรเอ่ยคนแก่หลังโกง ลงน้ำไม่ขุ่น | เบ็ดตกปลา เบ็ดมีลักษณะงองุ้มเหมือนคนแก่หลักโกง |
อะไรเอ๋ยกดหัวท้องป่อง | สาแหรก หวายที่ผูกด้านล่างถักยึดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้างพอ ที่วางก้นกระบุงหรือกระจาดได้ มีสายขึ้นมามุมละเส้นนำปลายมาถักรวมกันและถักที่คั่น สำหรับสอดไม้คาน สาแหรกจะสูงประมาณ 1-1.20 เมตร เวลาจะนำกระบุงหรือกระจายใส่ต้องกดส่วนบนให้ตรงกลางป่องออก เพื่อจะได้นำกระบุงหรือกระจาดวางบนกันสาแหรกได้สะดวก |
อะไรเอ่ยตัวอยู่นา ตาอยู่บ้าน อยู่นากัดข้าว อยู่บ้านกัดฝา | ตะปู |
อะไรเอ่ยดำมิดหมี ยิ่งตียิ่งกัด ดำเหมือนหมัดยิ่งกัดยิ่งดี | สิ่วกับฆ้อน เพราะสิ่วและฆ้อนทำด้วยเหล็กมีสีดำ เวลาใช้สกัดไม้จะต้องใช้สิ่วกดลงไปบนไม้แล้วใช้ฆ้อนตีลงบนด้ามสิ่ว เพื่อเจาะในเนื้อไม้ |
อะไรเอ่ยหน้าขาว ๆ ตัวยาวศอก พอตัดขนออกยาวแค่วา | ขวาน เป็นปริศนาที่ผู้ทายจะต้องใช้เชาวน์ในการตอบ หมายถึงหากตัดพยัญชนะตัวหน้าคือ ข. และพยัญชนะสะกดตัวท้ายคือ น. จะเหลือแต่ตรงกลางคือ “วา” |
อะไรเอ่ย มีหาง มีปาก มีตา กินปลาเป็นอาหาร | แห |
อะไรเอ่ยกินข้างล่าง ขี้ข้างบน | กบไสไม้ |
ปริศนาเกี่ยวกับการคมนาคม
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
อะไรเอ่ยมะลุมมะลำ เดินวันยังค่ำไม่เห็นรอย | เรือ เนื่องจากแล่นในน้ำไม่มีร่องรอยให้เห็น |
อะไรเอ่ยยิ่งตัดยิ่งยาว | ถนน คำว่าตัดในที่นี้คงหมายถึงการตัดพื้นที่บางส่วนมาสร้างถนน |
ปริศนาเกี่ยวกับธรรมชาติ
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
อะไรเอ่ยกลางวันเก็บใส่กระบาย กลางคืนกระจายออก | ดาว |
อะไรเอ่ยเขียวชะอุ่มพุ่มไสว ไม่มีใบมีแต่เม็ด | ฝน |
อะไรเอ่ยกะลาซีกเดียว ข้ามทะเลได้ | พระจัทร์ |
อะไรเอ่ยสูงเทียมฟ้า ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว | ภูเขา |
อะไรเอ่ยสูงกว่าน้ำด่ำกว่าเรือ | ฟองน้ำ จะอยู่ข้าง ๆ เรือ เวลาแล่นในน้ำจะมีฟองลอยอยู่ด้วย |
ปริศนาเกี่ยวกับเบ็ดเตล็ด
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
อะไรเอ่ยนารีมีรู เพชรสีชมพูคารูนารี | ตุ้มหู |
อะไรเอ่ยนกกระปูดแดง น้ำแห้งก็ตาย | ตะเกียง |
อะไรเอ่ยมีฟันมากมายแต่กินอะไรไม่ได้ | หวี |
อะไรเอ่ยหึ่งๆ เหมือนผึ้งภุมรา เอกบาทาจะเร ๆ | ลูกข่าง เวลาหมุนจะมีเสียงดังหึ่ง ๆ |
อะไรเอ่ยไม่มีคอไม่มีหัว มีแต่หน้า ถึงเวลาตีได้ตีเอา | กลอง |
อะไรเอ่ยสองหูสี่ตา เบื่อนักหา เอาขาไว้ที่หู | แว่นตา |
อะไรเอ่ยสองหน้ามีงาเต็มตัว | ข้าวเกรียบงา ขนมสมัยโบราณ จะทานต้องนำมาปิ้ง |
อะไรเอ่ยสี่ตีนเกาะฝา อ้าปากกินคน | มุ้ง |
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
อะไรเอ่ยไม่ใกล้ไม่ไกลมองเห็นรำไร | จมูก |
อะไรเอ่ยตัดโคนก็ไม่ตาย ตัดปลายก็ไม่เน่า | ผม |
ปริศนาคำทายที่มีข้อความเพียงตอนเดียว
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
สีบาทฟ้าดหา | ผักตำลึง |
น้ำอะไรไม่เคยขึ้น | น้ำตก |
ปริศนาคำทายที่มีข้อความสองตอน
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
กาไม่ใช่กาแท้ การ่อแร่เกาะกิ่งไม้ | กาฝาก |
ต้นเท่าก้อย ใบห้อยถึงดิน | ตะไคร้ |
กลิ้งอยู่บนพื้นธรณี สีชมพูชูสีอยู่ในกลมกลิ้ง | แตงโม |
ต้นเท่าเทียน ใบเท่าถาด | บัวหลวง |
ฝนตกสิบห่า หลังคาไม่เปียก | ใบบัวใบบอน |
เมื่อเด็กนุ่งผ้า เมื่อชราเปลืองกาย | ไผ่ |
แก่เรียกห้าว สาวเรียกอ่อน | มะพร้าว |
ต้นเท่าเข็ม ใบเต็มแม่น้ำ | ผักแว่น |
ต้นเท่าเรือ ใบห่อเกลือไม่มิด | มะขาม |
ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง | มะเดือ |
ต้นเท่าสายพาน ลูกยานโตงเตง | มะระ |
มีตารอบตัว หัวไว้จุก | สับปะรด |
ต้นเท่าแขน ใบแล่นเลี้ยว | อ้อย |
แม่ชีสาวชาววัง ไม่รับสั่งไม่ออก | ขี้มูก |
สามขาเดินมา หลังคามุมสำลี | คนแก่ถือไม้เท้า |
อยู่ข้างหน้า สุดตาแลเห็น | จมูก |
น้ำบ่อน้อย คนตั้งร้อยวิดไม่แห้ง | น้ำลาย |
พี่น้องท้องเดียว แลเหลียวไม่เห็นกัน | ใบหู |
อยู่ในน้ำเป็นปลา อยู่สุขศาลาเป็นคน | หมอ |
เกิดมามีหางไม่มีขา พอโตขึ้นมามีขาไม่มีหาง | กบ |
ข้างบนเหน็บกริช ท้ายปิดเรือยนต์ | กุ้ง |
ตัดหัวตัดหาง เหลือกลางวาเดียว | ความ,กว้าง |
สี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง | เต่า |
ชื่อน่ากลัว ตัวน่ารัก | ผีเสื้อ |
ทุกครั้งที่กางขา ต้องอ้าปากทุกที | กรรไกร |
นางท้าวแขนอ่อน กินก่อนพระ | ทัพพี |
มีฟันมากมาย แต่กินอะไรไม่ได้ มีฟันมากมาย แต่กินอะไรไม่ได้ | หวี |
สี่ตีนเกาะฝา อ้าปากกินคน | มุ้ง |
ตัวอยู่ในนา ตาเกาะฝาบ้าน | ตะปู |
นกกะปูดตาแดง น้ำแห้งเกือบตาย | ตะเกียง |
ตาเป็นไฟ ใจเป็นเหล็ก | รถยนต์ |
เดินมาเป็นแถว กินข้าวแล้วหรือยัง | ตัวหนังสือ |
โตเท่าภูเขา เบานิดเดียว | เมฆ |
เมื่อจะใช้เอาไปทอด เมื่อจะทอดเอาไปทิ้ง | สมอ |
สุกเต็มต้น เก็บกินไม่ได้ | แสงแดด |
สูงเทียมฟ้า ต่ำกว่าหญ้านิดเดียว | ภูเขา |
ปริศนาคำทายที่มีข้อความสามตอน
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
ห่อผ้าเหลืองอร่าม อยู่ในอาราม ไม่ใช่พระ | ต้นโพธิ์ห่อผ้า |
เด็กดำนองในมุ้งขาว เรือนปั้นหยา หลังคาเดียว | น้อยหนา |
จะว่าแจ๊กก็ไม่ใช่ จะว่าไทยก็ไม่ผิด มีหางอยู่นิดๆ | มะพร้าว |
ใบหยักๆ ลูกรักเต็มต้น มะละกอก็ไม่ใช่ | ต้นตาล |
ไม่มีหัว ไม่มีหาง เดินขวางๆรีๆ | ปู |
ชื่อเหมือนคนตาย มีปีกบินได้ มีดอกไม้เป็นที่กิน | ผีเสื้อ |
ตัวเป็นไม้ ฟันเป็นเหล็ก มะพร้าวใหญ่เล็กกินไม่เหลือ | กระต่ายขูดมะพร้าว |
มีลูกติดดิน มีตารอบตัว มีหูอยู่บนหัว | แห |
มาจากอังกฤษ ไม่มีชีวิต แต่พูดได้ | วิทยุ |
สุกไม่หอม งอมไม่หล่น คนกินไม่ได้ | พระจันทร์ |
คนจับไม่ได้ เพราะไม่มีตัวตน ถ้ามันจับคนหน้าตามืดมัว | ลม |
มาจากเมืองแขก ตีไม่แตก ฟันไม่เข้า | เงา |
แก่ๆนุ่งแดง เด็กๆนุ่งขาว สาวๆนุ่งเขียว | พริกขี้หนู |
ปริศนาคำทายที่มีความสี่ตอน
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
สุกไม่หอม งอมไม่หล่น แห้งคาต้น คนกินได้ | ข้าวโพด |
ต้นเท่านิ้วก้อย ใบย้อยถึงดิน เด็กเก็บมากิน ร้อให้ร่ำไร | พริก |
ผ่าไม่ผุ ทะลุไม้แก่น ถึงแท่นดินสอ ถึงบ่อน้ำใน | มะพร้าว |
ไม่มีเมีย ไม่มีลูก ไม่มีข้าวปลูก แต่มีข้าวกิน | พระ |
มีหูสองหู มีขาสองขา เวรหนักหนา เอาขาแยงหู | ปิ่นโต |
มีหาง มีปาก มีตา กินปลาเป็นอาหาร | แห |
ปริศนาคำทายที่มีคำทายและคำตอบหลายอย่างมารวมกัน
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
สุกเหมือนดาว ขาวเหมือนฟ้า ดำเหมือนกา ด่าไม่ฟัง | มะปราง , มะไฟ , มะเลือ , มะดัน |
ผักหนึ่งอยู่หนอง ผักสองอยู่วัด ผักสามอยู่ป่าช้า ผักสี่อยู่นา | ผักเป็ด , ผักชี , ผักกระสัง , ผักแว่น |
ปริศนาคำทายที่มีข้อความเป็นส่วนหนึ่งของคำกลอน
ปริศนาคำทาย | เฉลย |
เมื่อจะใช้เอาไปทอด เมื่อจะจอดเอาไปทิ้ง | สมอเรือ |
ต้นเป็นสายยาวหูดูเป็นเส้น ดอกหางเห็นน่ายลบนเวหา | ว่าว |