เรียนรู้เรื่องการเขียนแบบเบื้องต้น กันเถอะ

สร้างโดย : ครูลักษิกา มีกุศล
สร้างเมื่อ อาทิตย์, 30/05/2010 – 11:19
มีผู้อ่าน 216,451 ครั้ง (11/01/2023)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/63486

เรียนรู้เรื่องการเขียนแบบเบื้องต้น กันเถอะ

การเขียนแบบ 

        งานเขียนแบบ ถือว่ามีความสำคัญสำหรับช่างทุกช่าง ซึ่งจะต้องมีการออกแบบ เขียนแบบทุกครั้งที่จะทำการผลิตชิ้นงานออกมา จึงพูดได้ว่างานเขียนแบบเป็นหัวใจของช่างทุกชนิด ในสมัยโบราณการเขียนแบบไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ แต่ช่างพยายามถ่ายทอดความคิดลงในแผ่นหิน โดยมิได้แยกชิ้นส่วนให้เห็นชัด ตามชนบทเมื่อมีการปลูกสร้างบ้านก็มีการเขียนแบบแปลนบ้านตามพื้นดินในบริเวณปลูกสร้าง ซึ่งจะดีกว่าที่จะทำโดยไม่มีแบบแผนเลย

        ฉะนั้นการเขียนแบบก็เป็นวิชาหนึ่ง ซึ่งใช้กันในงานอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อแสดงรูปร่างและลักษณะของสิ่งที่ต้องการผลิตออกมา วิชาเขียนแบบเป็นวิชาที่ไม่มีคำอธิบายบอกรูปลักษณะ และขนาดของสิ่งของ แต่วิชาเขียนแบบเป็นการแสดงให้เห็นภาพอย่างแจ่มชัด ทั้งลักษณะรูปร่าง ขนาด ทุกส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นการเขียนแบบเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในงานช่างและงานสร้างสรรค์

        การเขียนแบบ (mechanical drawing) คือ การเขียนที่แสดงเป็นภาพ รูปร่าง สัญลักษณ์ และรายละเอียดของแบบที่ออกไว้ เพื่อให้นำไปสร้างเป็นของจริงได้ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบ เราควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ในสำหรับเขียนแบบ และวิธีใช้ให้ดี เพื่อให้ได้ผลงานเรียบร้อยรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบให้มีสภาพดีอยู่ได้นาน

การใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบ

1. เครื่องมือเขียนแบบและหน้าที่วิธีการใช้   มีดังนี้
        1.1 โต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ ( Drawing Board ) ใช้รองกระดาษเขียนแบบ ในกรณีที่ไม่มีโต๊ะเขียนแบบ ให้ใช้กระดานเขียนแบบแทนก็ได้

 ที่มาของภาพ : http://3.bp.blogspot.com/_gsGoUwdAgjc/SjXmz-IMMfI/AAAAAAAAAAc/57Nbk_z_5TA/s320/thumbnailshow220678.jpg

        1.2 กระดาษเขียนแบบ มีทั้งขนาดความหนา 80 ปอนด์ ถึง 100 ปอนด์ เป็นชนิดไม่มีเส้นขนาดความกว้างความยาว แล้วแต่จะต้องการเขียนหรือต้องการใช้

ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php

        1.3 ไม้ฉากรูปตัวที (T-square) มีลักษณะคล้ายรูปตัว T ซึ่งมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนหัว ( Fixed Head ) และส่วนตัวไม้ทีประกบกันเป็นมุม 90 องศา ใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวนอน หรือเส้นระดับอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะต้องใช้ร่วมกับโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบ พร้อมนี้จะต้องใช้ร่วมกับฉากสามเหลี่ยม (Set – Square)สำหรับลากเส้นให้เป็นมุมต่างๆ ลักษณะของไม้ฉากที หรือ T – Square ที่ดีนั้น หัวไม้ฉากทีต้องไม่โยกคลอน ยึดติดกันแน่นกับก้านไม้ตัวขวางของไม้ฉากที ขอบบนของตัวไม้ฉากทีต้องเรียบและตรงไม่บิดงอ การเขียนเส้นนอนต้องลากเส้นจากซ้ายไปขวาเสมอ หัวไม้ฉากทีแนบกับโต๊ะเขียนแบบด้านซ้ายมือจรดปลายดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้นทำมุมกับกระดาษเขียนแบบเป็นมุม 60 องศา ขณะเดียวกันให้ดินสอเอนออกจากขอบบรรทัดเล็กน้อย เพื่อให้ปลายดินสออยู่ชิดขอบบรรทัดมากที่สุด ในขณะที่ลากเส้น ควรหมุนดินสอไปด้วย ซึ่งจะช่วยรักษาปลายไส้ดินสอเป็นกรวยแหลม และช่วยให้เส้นดินสอโตสม่ำเสมอกัน

ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php        

        1.4 ดินสอเขียนแบบ (drawing pencil) ดินสอเขียนแบบทำด้วยไส้ดินสอที่มีระดับความแข็งต่างกัน ความแข็งของไส้ดินสอมีการระบุไว้บนแท่งดินสอด้วยตัวเลขและตัวอักษร ดินสอที่ใช้ในการเขียนแบบ ควรมีความอ่อนแข็งดังนี้ 2H, 3H, H, HB อย่างน้อยควรมี 4 แท่ง คือ ดินสอที่มีไส้อ่อนได้แก่เกรด F, HB ไส้ขนาดกลาง H – 2H ไส้แข็ง 4H – 5H ในงานเขียนแบบปัจจุบันนี้นิยมใช้ดินสอสำเร็จแบบไส้เลื่อน หรือไส้กด เพราะสะดวกรวดเร็วไม่เสียเวลาต่อการเหลาดินสอ มีความยาวคงที่ บรรจุไส้ใหม่สะดวก ทำให้งานสะอาด ไม่สกปรก

ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php

        1.5 ไม้ฉากสามเหลี่ยมเป็นชุด (set-square) ชุดหนึ่งมีอยู่ 2 แบบ มีมุมต่างกันดังนี้ อันแรกเรียกว่า ฉาก 30 , 60 และ 90 องศา ส่วนอันที่ 2 เรียกว่า ฉาก 45, 45, และ 90 องศา การเขียนมุมของฉากสามเหลี่ยมทั้ง ๒ อันนี้จะต้องใช้ร่วมควบคู่กับไม้ฉากทีทุกครั้งในขณะทำการปฏิบัติงานเขียนแบบ
       ฉากสามเหลี่ยมใช้สำหรับเขียนเส้นตรงในแนวดิ่ง และเส้นเอียงทำมุมต่างๆ เวลาเขียนเส้นดิ่งให้ลากดินสอขึ้นไปตามแนวดิ่ง จับดินสอให้เอนไปในทิศทางของการลากเส้น ทำมุม 60 องศา กับกระดานเขียนแบบ และให้ดินสอเอนออกจากตัวฉากสามเหลี่ยมเล็กน้อย

ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php

        1.6 ไม้บรรทัดสเกลแบบสามเหลี่ยม (scale) ใช้สำหรับย่อส่วนตามต้องการ มีลักษณะเป็นแท่งสามเหลี่ยม 6 ด้าน ในแต่ละด้านจะมีมาตราส่วนย่อไว้ดังนี้ 1 : 20, 1 : 25, 1 : 50, 1 : 75, และ 1 : 100

ที่มาของภาพ : http://www.bspwit.ac.th/LINK%20PAGE/Art%20Group/Drawing%20Tech/D-TECH%20UNIT-02.php 

        1.7 วงเวียน (compass) เป็นอุปกรณ์สำหรับเขียนวงกลม หรือส่วนโค้ง ด้วยดินสอดำหรือหมึกก็ได้ วงเวียนมีหลายแบบ สามารถเลือกใช้แล้วแต่ความสำคัญของความต้องการในแต่กรณี วิธีเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง ให้ปรับขาวงเวียนที่เป็นเหล็กแหลม ให้ยาวกว่าข้างที่เป็นไส้ดินสอเล็กน้อย ใช้ปลายแหลม ปักลงตรงจุดที่กำหนดให้เป็นศูนย์กลางของวงกลม ปรับขาวงเวียนจนกางได้ระยะเท่ากับรัศมีที่ต้องการจับก้านวงเวียนไว้ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ หมุนวงเวียนเอนไปในทิศทางของการลากเส้นเล็กน้อย พยายามเขียนวงกลมให้สมบูรณ์ โดยการหมุนวงเวียนไปเพียงครั้งเดียว                   

ที่มาของภาพ : http://www.krusommai.com/drawing1.html 

1.8  บรรทัดโค้ง ( Irregular Curves ) บรรทัดโค้งใช้สำหรับเขียนเส้นโค้งที่วงเวียนไม่สามารถเขียนได้ โดยทำการจุดไว้ให้ได้ 3 จุด แล้วลากเส้นผ่านตามจุดนั้นๆตามบรรทัดโค้งเลื่อนบรรทัดโค้งความโค้งตามไปครั้งละ 3 จุด จนกว่าจะได้รูปตามต้องการ

ที่มาของภาพ : http://www.krusommai.com/drawing1.html

ขั้นตอนในการใช้เครื่องมือบนโต๊ะเขียนแบบ

ที่มาของภาพ : http://members.multimania.co.uk/ipdnrru/eq10.gif

2. ลักษณะเส้นที่ใช้ในการเขียนแบบ มีดังต่อไปนี้
     2.1 เส้นร่าง (rayout or guideline) เป็นเส้นที่ใช้ร่างภาพหรือเส้นบรรทัดเป็นเส้นเบาและแคบ
     2.2 เส้นแสดงรูปวัตถุ (object line) เป็นเส้นหนักและใหญ่ ใช้แสดงขอบของรูป
     2.3 เส้นแสดงส่วนที่บัง (hidden line) เป็นเส้นประ เส้นหนาปานกลาง แสดงตรงส่วนที่ถูกบัง
     2.4 เส้นโยงขนาดและเส้นบอกขนาด (extension and dimension line) เส้นโยงขนาดใช้โยงขนาดขอบรูปวัตถุเพื่อแสดงรายละเอียดของขนาด ส่วนเส้นบอกขนาดเป็นเส้นแสดงความกว้างยาวของขนาดวัตถุ โดยโยงจากขอบวัตถุด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นเส้นที่หนักและแคบ
     2.5 เส้นกรอบภาพ (border line) เป็นเส้นใหญ่และหนัก ใช้ตีกรอบงานเขียนแบบ (วิรุณ ตั้งเจริญ. 2527 : 130)

3. มาตราส่วนในการเขียนแบบ
    ใช้สำหรับย่อส่วนหรือขยายส่วนจากของจริง เช่น การเขียนแบบก่อสร้างอาคาร ใช้มาตราส่วน 1:100 ก็คือในแบบ 1 ส่วน ของจริงจะเท่ากับ 100 ส่วน ถ้าประตูในแบบกำหนดไว้ 2 ซม. ประตูจริงจะเท่ากับ 200 ซม. หรือ 2 เมตร เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง :  

  • http://www.rbru.ac.th/courseware/human/2641602/lesson8/lesson8.2.html
  • http://www.krusommai.com/drawing1.html

มาเขียนภาพไอโซเมตริกกันน่ะ

การเขียนแบบภาพไอโซเมตริก
     การเขียนแบบภาพไอโซเมตริกเป็นภาพลักษณะสามมิติอีกแบบหนึ่งของการเขียนแบบ  มีลักษณะเป็นภาพที่มองเห็นจากมุมที่กำหนดเป็นจุดเริ่มต้น  การสร้างภาพไอโซเมตริกนี้จึงเป็นการวัดเอาขนาดกว้าง ยาว ของด้านต่าง ๆ มาเป็นขนาดในภาพนั้นเอง  การเขียนแบบภาพไอโซเมตริกนี้จะแสดงการเขียนโดยใช้มุมทั้งสองข้างเท่ากัน คือ เป็นมุม 30 องศา โดยวัดจากเส้นระนาบ

ที่มาของภาพ : http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less062.htm

ลำดับขั้นตอนการเขียนแบบภาพไอโซเมตริก

1. ขีดเส้นระนาบ
2. ประกอบด้วย แกน 3 แกน
     แกนที่ 1 จะอยู่ในแนว ดิ่ง
     แกนที่ 2 จะทำมุม 30 องศา กับแนวระดับด้านขวา
     แกนที่ 3 จะทำมุม 30 องศา กับแนวระดับด้านซ้าย
3. จะประกอบด้วย ด้าน กว้าง ยาว สูง
4. เส้นด้านข้าง จะคู่ขนานกันไปตลอด

ขั้นตอนวิธีการเขียน ภาพ ISOMETRIC

ที่มาของภาพภาพไอโซเมตริก : http://www.2-teen.com/community/viewthread.php?tid=47511

ข้อสังเกตในการเขียนแบบภาพไอโซเมตริก
     1. มุมที่ใช้ในการเขียนแบบภาพไอโซเมตริกนี้จะมีเพียง 2 มุมเท่านั้นคือมุม 30 และ 90  กล่าวคือ เส้นที่ขีดทำมุมด้านซ้ายและขวา จะทำมุม 30 องศา  ส่วนเส้นที่ขีดขึ้นหรือขีดลงจะเป็นมุม 90 องศา
     2. เส้นที่ขีดจะเป็นเส้นขนานกันโดยตลอดคืนเส้นที่ทำมุมด้านซ้ายก็จะขนานกัน เส้นที่ลากด้านขวากจะขนานกัน และเส้นตั้งฉากก็จะขนานกัน
     3. การเขียนเส้นระนาบเส้นแรกควรให้อยู่ด้านล่างเพราะภาพที่เขียนจะอยู่ด้านบนและควรคำนึงถึงความสูงของภาพที่จะเขียนด้วยเพื่อไม่ให้ภาพที่เขียนล้นกรอบกระดาษเขียนแบบ
     4. ก่อนที่จะเขียนเส้นตั้งฉากจะต้องดูก่อนว่าภาพเอียงไปด้านใด หากภาพที่จะเขียนเอียงด้านซ้ายเส้นตั้งฉากจะต้องอยู่ด้านขวา เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง:  

  • http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less062.htm
  • http://www.2-teen.com/community/viewthread.php?tid=47511

มาเขียนภาพออบลิคกันน่ะ

การเขียนแบบภาพออบลิค
     รูปออบลิคเป็นแบบภาพสามมิติอีกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับรูปไอโซเมตริก ส่วนที่แตกต่างกันคือ  ภาพออบลิคจะแสดงด้านหน้าตรงๆ ส่วนด้านข้างจะทำมุม 45 องศา เพียงด้านเดียว คือด้านขวามือ  เนื่องจากภาพออบลิคแสดงด้านหน้าได้ชัดเจนดี  จึงนิยมเขียนภาพที่มีรายละเอียดด้านหน้ามาก ๆ

ลำดับขั้นการเขียนแบบภาพออบลิค

1. ให้เขียนภาพด้านหน้าก่อน

ที่มาของภาพ : http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less061.htm

2. ขีดเส้นด้านข้าง 45 องศา

ที่มาของภาพ : http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less061.htm
  
3. ขีดเส้นตั้งฉากและเส้นระนาบให้ครบ

ที่มาของภาพ : http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less061.htm
 
4. จะได้ภาพออบลิค

ข้อสังเกตในการเขียนแบบภาพออบลิค
     1. มุมที่ใช้ในการเขียนแบบภาพออบลิคจะมีเพียง 2 มุมเท่านั้นคือ 45, 90  เส้นที่ขีดทำมุมด้านขวามือจะเป็นมุม 45 องศา  ส่วนเส้นที่ลากขึ้นหรือลากลงจะเป็นมุม 90 องศา
     2. เส้นที่ขีดจะเป็นเส้นขนานกันโดยตลอดคือ เส้นที่ลากทำมุมด้านขวาก็จะขนานกันกับด้านขวา เส้นที่ลากด้านซ้ายเป็นเส้นระนาบ และเส้นที่ลากขึ้นหรือลงก็จะขนานกัน
     3. การเขียนเส้นระนาบเส้นแรกควรให้อยู่ด้านล่างเพราะภาพที่เขียนจะอยู่ด้านบนและควรคำนึงถึงความสูงของภาพด้วย
     4. ก่อนที่จะเขียนเส้นตั้งฉากจะต้องคำนึงถึงความยาวด้านหน้าของภาพด้วย

แหล่งอ้างอิง:  http://www.supradit.com/contents/drawing/s_less061.htm