03 .. [[ Organism Relationships * ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ]] ..
สร้างโดย : นายธนพล กลิ่นเมือง นางสาวณัฐพร สภานนท์
สร้างเมื่อ อังคาร, 02/11/2010 – 14:54
มีผู้อ่าน 353,890 ครั้ง (09/01/2023)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/82163
รางวัลชนะเลิศ ประเภทสื่อออนไลน์ ระดับชั้น ม.4 – ม.6
โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ (Digital Learning Contest) ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2553
ชิงถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
03 .. [[ Organism Relationships * ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ]] ..
เลือกเนื้อหาที่ต้องการศึกษา
,, {{ ภาวะปรสิต / Parasitism }} ,,
ภาวะปรสิต หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีต 2 ชนิด โดยชนิตหนึ่งเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เรียก ผู้อาศัยหรือปรสิต อีกชนิดหนึ่งเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ เรียกผู้ถูกอาศัย โดยทั่วไปความสัมพันธ์แบบนี้จะเกิดขึ้นในลัาษณะที่สิ่งมีชีวิตท่เป็นปรสิตเกาะอาศัยอยู่ภายนอกร่างการยหรือภายในร่างการของผู้ถูกอาศัยโดยอาศัยอาหารต่าง ๆ จากผู้ถูกอาศัย
- ปริสิตภายใน คือปรสิตท่อาศัย และเกาะกินอยู่ภายในร่างกายของผู้ถูกอาศัย เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้ตับ รวมถึงพวกจุลินทรีย์ท่เป็นปรสิตภายใน เช่น ไวรัส แบคทีเรีย โดยเฉพาะไวรัสจะมีคุณสมบัติสำคัญของการเป็นสิ่งมีชีวิต คือสืบพันธุ์ได้ก็ต่อเมื่อเป็นปรสิตอยู่ภายในเซลลของผู้ถูกอาศัยเท่านั้น
- ปรสิตภายนอก คือปรสิตที่อาศัยและเกาะกินอยู่ภายนอกร่างกายของผู้ถูกอาศัย เช่นเหา หมัด ไรไก่ซึ่งเป็นปรสิตของสัตว์ เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และเพลี้ยจักจั่น ซึ่งดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชจึงเป็นปรสิตของพืช ต้นฝอยทองเป็นพืชปรสิตท่มีลักษณะเป็นเส้นสีเหลืองคล้ายฝอยทองไม่มีส่วนสีเขียว จึงสังเคราะห์แสงไม่ได้ ฝอยทองจะใช้อวัยวะสำหรับดูดซึมอาหาร แทงทะลุเข้าไปในเนื้อเยื่อพืชอื่นที่เป็นผู้ถูกอาศัย ส่วนกาฝากเป็นพืชปรสิตท่มีใบสีเขียวได้รับสารอาหารและน้ำจากพืชผู้ถูกอาศัยและสังเคราะห์แสงได้
ลักษณะทั่วไปของการดำรงชีพแบบภาวะปรสิต
- โดยปกติทั้งปรสิตและผู้ถูกอาศัยมักปรับตัวให้อยู่รอดทั้งสองฝ่าย โดยปรสิตไม่ทะอันตรายผ๔ถูกอาศัยให้ตายอย่างรวดเร็ว แต่จะเบียดเบียนช้า ๆจนผู้ถูกอาศัยอ่อนแอและอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ดังนั้นจึงไม่เป็นผลดีต่อผู้ถูกอาศัยอย่างไร
- ปรสิตส่วนใหญ่มักจะเบียดเบียนเอาสารอาหารจากผู้ถูกอาศัย เช่น ปรสิตของสัตว์จะได้อาหารจากผู้ถูฏอาศัย 3 กรณี
- อาหารที่ผู้ถูฏอาศัยกินก่อนและหลังจากย่อยแล้ว
- เนื้อเยื้อของผู้ถูกอาศัย โดยกินส่วนท่อยู่ภายในเซลล์ หรือปล่อยน้ำย่อยออกไปยังสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์
- สารบางชนิดที่ผู้ถูกอาศัยปล่อยออกม่นอกจากเบียดเบียนสารอาหารแล้ว ปรสิตยังอาศัยร่างการของผู้ถูกอาศัยเป็นแหล่งที่อยู่ชั่วคราวหรือถาวรก็ได้
- ปรสิตแต่ละชนิด มักจะมีความจำกับผู้ถูกอาศัยแต่ละชนิด เช่น เหาคนจะไม่อาศัยบนตัวของเป็ดไม่ ซึ่งเรียกลักษณะความจำเพาะเช่นนี้ว่า Parasitic – Host specificity ปรสิตบางชนิดก็ไม่เลือกชนิดของผู้ ถูกอาศัย แต่อาจชอบผู้ถูกอาศัยชนิดหนึ่งมากกว่าอีกชนิดหนึ่ง
- โดยทัวไป ปรสิตมักมีขนาดเล็กกว่าผู้ถูกอาศัย
- ไนพรรมชาติเรามักจะเห็นผลเสียอันกิดจากปรสิตไม่เด่นชัด เพราะปรสิตแต่ละชนิดจะทำให้ผู้ถูกอาศัยได้รับอันตรายไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ในระยะเวลาต่างกันอาจส่งผลเสียต่อผู้ถูกอาศัยได้ เพราะในบางกรณีผู้ถูกอาศัยอาจสร้างภูมิคุ้มกันซั่งเป็นอันตรายต่อปรสิตได้เช่นกัน
- การพัฒนาวงชีวิตของปรสิตให้สมบูรณ์ต้องพึ่งพาผู้ถูกอาศัยอย่างมาก ถ้าขาดผู้ถูกอาศัยอาจจะทำให้การพัฒนาวงขีวิตของปรสิตไม่สมบูรณ์ เช่น พยาธิตัวตืดในคน ต้องอาศัยผู้ถูกอาศัยอย่างน้อย 2 ชนิด คือ คนและวัว ถ้าขาดวัว วงชีวิตของพยาธิตัวตืดไม่สามารถพัฒนาให้สมบูรณ์เป็นตัวเต็มวัยได้ หรือกรณีของยุง ถ้าขาดเสือดของสัตว์เลือดอุ่น มันจะไม่สามารถพัฒนาตัวอ่อนในไข่ได้ คือ ไม่มีการฟักไข่ใข่จะฝ่อรีบไป
,, {{ การล่าเหยื่อ / Predation }} ,,
การล่าเหยื่อ (predation) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ล่า (Predator) อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหยื่อ (Prey) โดยทั่วไปการล่าเหยื่อจะหมายถึง การล่าระหว่างสัตว์ หรือสัตว์กินสัคว์เท่านัน แต่นักชีววิทยาบางท่านให้ความหมายของการล่าเหยื่อไว้กว้างมากโดยจัดว่าการกินพืชของสัตว์เป็นการล่าเหยื่อด้วย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถเป็นได้ทั้งผู้ล่าปละเหยื่อแล้วแต่สถานะการณ์ ในภาวะการล่าเหยื่อนั้น ทั้งผู้ล่าและเหยื่อต่างให้เหมาะสมกับทรัพยากรลอลงเกิดการขาดแคลนอาหาร ประชากรของผู้ล่าก็จะลดลงด้วย ดังนั้นการล่าเหยื่อในหารทองนิเวศวิทยาของประชากร จะเกิดประโยชน์แก่ทั้ง 2 ฝ่าย การล่าเหยือจึงเป็นปัจจัยซึ่งคอยควบคุมขนาดประชากรของทั้งผู้ล่าและเหยื่อให้เหมาะสมกับทรัะยากรและสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ และนอกเหนือจากนั้นเรายังพบอยู่เสมอว่า การล่าเหยื่ออาจเป็นผลดีต่อประชากรเหยื่อ เพราะผู้ล่าจะช่วยขจัดตัวท่ไม่เหมาะสมอ่อนแอออกจากกลุ่ม ทำให้ประชากรเหยื่อมีวิวัฒนาการไปในทางท่อยู่รอดได้มากขึ้น เพราะตัวที่เหมาะสมแข็งแรงอยู่รอด สืบพันธุ์ให้ลูกหลานท่ดีขึ้นเรื่อย ๆ
การล่าเหยื่อ (predation) ในชีวิตประจำวัน คำว่า สังคม ดูจะมีความอ่อนโยนละมุนละม่อมเป็นการช่วยเหลือกันอย่างอบอุ่น เรียกว่า community spirit ในทางกลับกัน ความเป็นจริงแบบดาร์วิน (Darwinian Realities) ของการแก่งแย่งและผู้ล่า ซึ่งสิ่งมีชีวิตหนึ่งจะกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน เรียกว่า ผู้ล่า(predator) และชนิดที่เป็นอาหาร เรียกว่าเหยื่อ(prey) พืชที่ถูกสัตว์กินเป็นอาหาร และการแทะเล็มหญ้าถึงแม้จะไม่ถูกทำลายทั้งต้นก็จัดเป็นเหยื่อเช่นกัน ลักษณะของผู้ล่าและเหยื่อเป็นองค์ประกอบทางวิวัฒนาการที่จำเป็นต้องอยู่รอด การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นตัวกลั่นกรองการปรับตัวทั้งของเหยื่อและผู้ล่า เช่นลักษณะการมีอุ้งเล็บ ฟันและ เขี้ยวที่แหลมคม มีเหล็กไนที่มีสารพิษ หรือมีต่อมพิษ ที่สามารถทำให้เหยื่อสยบลงได้ บางชนิดมีการพรางตัวเพื่อใช้ล่อเหยื่อให้หลงผิดหรือตายใจ
การป้องกันตัวของพืชต่อสิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เพราะพืชไม่อาจจะวิ่งหนีได้ จึงต้องมีโครงสร้างที่เป็นหนามและขนแข็ง พืชบางชนิดสร้างสารนิโคตินและสารมอร์ฟีน บ้างก็ผลิตสารเคมีเลียนแบบฮอร์โมนสัตว์ ทำให้สัตว์ที่หลงมากินได้รับอันตรายและเกิดอาการผิดปกติขึ้นในพัฒนาการของร่างกาย หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้
สัตว์จะใช้วิธีการหลายอย่างในการป้องกันตัวเองจากผู้ล่า อาทิ เช่น การหลบหนี การซ่อนตัว การหนีเอาตัวรอดเป็นพฤติกรรมการตอบสนองต่อผู้ล่าอย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีการใช้เสียงเตือน การเลียนแบบ การเสแสร้งเพื่อหลอกให้เหยื่อตามไป รวมทั้งการรวมกลุ่มเพื่อต่อสู้กับผู้ล่าเป็นต้น
,, {{ ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล / Commensalism }} ,,
ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism : + , 0) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
– ปลาฉลามกับเหาฉลาม : เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม ได้เศษอาหารจากปลาฉลาม โดยปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
– พืชอิงอาศัย (epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ : พืชอิงอาศัย เช่น ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสม โดยต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใด ๆ
– นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้ : สัตว์เหล่านี้ได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติ โดยต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
,, {{ การได้ประโยชน์ร่วมกัน / Protocooperation }} ,,
ภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation +/+) เป็นการอยู่ร่วมกันของ สิ่งมีชีวิตชนิด ที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย แต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเสมอไป ถึงแม้จะแยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตากปกติ เช่น ผีเสือกันดอกไม้,นกเอี้ยงกับควาย,ปูเสฉวนกับซีแอนนีโมนี,มดดำกับเพลี้ย
ผีเสื้อกับดอกไม้
ผีเสือดูดน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร และดอกไม้ได้ผีเสื้อช่วยผสมเกสรจากการบินไปที่ดอกใหม่โดยมีเกสรดอกไม้ติดขนที่ขาไปด้วย
นกเอี้ยงกับควาย
นกเอี้ยงที่เกาะอยู่บนหลังควายได้ยับแมลงต่างๆ บนหลังควายกินเป็นอาหาร ควายก็ได้ประโยชน์จากแมลงที่ก่อความลำคาญถูกกำจัดไป
ปูเสฉวนกับซีแอนนีโมนี
ปูเสฉวนอาศัยซีแอนนีโมนี ช่วยพรางตัวจากศัตรู ส่วนซีแอนนีโมนีได้รับอาหารจากที่ต่างๆ มากขึ้น ขณะที่ปูเสฉวนเคลื่อนที่และยังอาจได้อาหารที่ลอยมาขณะที่ปูเสฉวนกำลังกิน อาหารอีกด้วย
มดดำกับเพลี้ย
มดดำจะนำเพลี้ยไปปล่อยไว้ที่ต้นไม้ เพลี้ยจะใช้ปากเจาะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้ แล้วปล่อยให้น้ำเลี้ยงไหลออกจากตัวเป็นอาหารของมดอีกต่อหนึ่ง
,, {{ ภาวะพึ่งพา / Mutualism }} ,,
ภาวะพึ่งพา (Mutualism : +,+) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยต่างก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น
– ไลเคนส์ (Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับสาหร่าย สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย – โพรโทซัวในลำไส้ปลวก : โพรโทซัวชนิด Trichonympha sp. ช่วยย่อยเซลลูโลสให้ปลวก ปลวกให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่โพรโทซัว
– แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ : แบคทีเรียชนิด Escherichia coli ช่วยย่อยกากอาหารและสร้างวิตามิน K , B ให้มนุษย์ ส่วนมนุษย์ให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่แบคที่เรีย
– แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว : แบคททเรียชนิด Rhizobium sp. ช่วยตรึง N ในอากาศเป็นไนเตรต (NO) ในดินให้ถั่วใช้ประโยชน์ได้ ส่วนถั่วให้ที่อยู่อาศัยแก่แบคทีเรีย
– ราในรากพืชตระกูลสน : ราชนิด Mycorrhiza sp. ช่วยทำให้ฟอสฟอรัสในดินอยู่ในรูปที่สนนำไปใช้ประโยชน์ได้ และสนให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่รา
– สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำในแหนแดง : สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิด Anabaena sp. และ Nostoc sp. ช่วยตรึง N ในอากาศเป็น NO ให้แหนแดงนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนแหนแดงให้ที่อยู่อาศัยแก่สาหร่าย
,, {{ ภาวะการย่อยสลาย / Saprophytism }} ,,
ภาวะมีการย่อยสลาย (saprophytism.+ / 0) เป็นความสัมพันธ์ที่เกิดจากการอยู่ร่วมกัน ระหว่างสิ่งมีชีวิต ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ กับสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว และได้ประโยชน์ จากการย่อยสลายสารอาหาร ที่มีอยู่ในซากสิ่งมีชีวิต โดย เปลี่ยนเอนไซม์ไปย่อยภายนอก
ตัวอย่างเช่น เห็ดราที่ขึ้นตามขอนไม้ ราที่ขึ้นตามขนมปังงให้ที่อยู่อาศัยแก่สาหร่าย
กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ได้แก่ แบคทีเรีย เห็ด รา จะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บางส่วน ของสารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดกลับไปใช้ในการดำรงชีวิต ด้วยกระบวนการดังกล่าวทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเน่าเปื่อยย่อยสลาย เป็น อนินทรีย์สารกลับคืนสู่สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์แบบนี้เรียกว่า ภาวะมีการย่อยสลาย ( Saprophytism )
,, {{ ภาวะหลั่่งสารยับยั้งการเจริญ / Antibiosis }} ,,
ภาวะการหลั่งสารห้ามการเจริญหรือการทำลายล้าง (antibiosis, 0 / -) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตสองชนิด ชนิดหนึ่งสร้างสาร หรือหลั่งสารออกมายับยั้งหรือฆ่าสิ่งมีชีวิต อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า สารปฏิชีวนะ (antibiotics) โดยฝ่ายหลั่งสารไม่ได้ หรือเสียประโยชน์ใดๆ ตัวอย่าง เช่น ราเพนิซิเลียม (penicillum sp.) หลั่งสารออกมาห้ามการเจริญเติบโต ในแบคทีเรีย
,, {{ ภาวะแข่งขัน / Competition }} ,,
ภาวะแข่งขัน (Competition : – ,-) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแย่งปัจจัยในการดำรงชีพเหมือนกันจึงทำ ให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เช่น เสือ , สิงโต , สุนัขป่าแย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัยหรืออาหารพืชหลายชนิดที่เจริญอยู่ใน บริเวณเดียวกัน เป็นต้น
เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่ทั้งสองฝ่าย อาจเป็นชนิด เดียวกันหรือต่างชนิดกันต่างเสียประโยชน์ด้วยกัน ทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ที่ปลูกชิดกัน ต่างแย่งแสงสว่าง จึงมี ลำต้นสูงชะลูด ปลาในบ่อแย่งเอาหารที่คนเลี้ยงโยนให้ การแย่งกันเป็นจ่าฝูง (peck order) ในพวกสิงโต ลิง ช้าง
,, {{ ภาวะการกระทบกระเทือน / Amensalism }} ,,
ภาวะกระทบกระเทือน (amensalism, 0 / -) คล้ายกับภาวะหลั่งสารห้ามการเจริญเติบโต แต่การอยู่ร่วม กันในลักษณะนี้จะไม่มีการหลั่งสารออกมา ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ใหญ่เมื่อโตเต็มที่จะบังแสงทำให้ต้นไม้เล็ก ประเภท ต้นหญ้า และไม้ล้มลุกไม่ได้รับแสงที่เพียงพอ ทำให้อาจถึง ตายได้
,, {{ ภาวะเป็นกลาง / Neutralism }} ,,
ภาวะที่เป็นกลาง (neutralism, 0 / 0) เป็นภาวะที่สิ่งมีชีวิตสองชนิดอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ไม่มี ความสัมพันธ์แต่อย่างใด ตัวอย่าง เช่น ในทุ่งนามีทั้ง ไส้เดือนดิน และแมลงมุม อยู่ บริเวณต้นไม้ต้นเดียวกันแต่ไม่มีความสัมพันธ์กัน กรณีเช่น นี้นักชีวิวิทยา บางคนไม่ถือว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองอยู่ร่วมกัน
เลือกเนื้อหาที่ต้องการศึกษา