เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้หมวก 6 ใบ (Six Thinking Hats)

สร้างโดย : นางเกษร พุ่มลำเจียก
สร้างเมื่อ เสาร์, 04/10/2008 – 13:44
มีผู้อ่าน 126,288 ครั้ง (09/01/2023)
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/16629

เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้หมวก 6 ใบ
(Six Thinking Hats)

       เทคนิค หมวก 6 ใบ (Six thinking hats) เป็นเทคนิคการสอนแบบตั้งคำถามเป็นการสอนเพื่อพัฒนาการคิดสำหรับนักเรียนทุกระดับชั้น มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ

  1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6-8 คน
  2. แบ่งกลุมนักเรียนให้คิด ดังนี้
    • กลุมที่ 1 ตั้งคำถามให้คิด (สีขาว)
    • กลุ่มที่ 2 ถามความรู้สึก (สีแดง)
    • กลุ่มที่ 3 ตรวจสอบหาผลกระทบ (สีดำ)
    • กลุ่มที่ 4 หาข้อดี (สีเหลือง)
    • กลุ่มที่ 5 หาทางเลือกในการพัฒนา (สีเขียว)
    • กลุ่มที่ 6 โครงสร้างกระบวนการคิด
  3. กลุ่มสรุปแผนการดำเนินโครงการ

       จากการศึกษาเรื่อง หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ ทำให้ได้รับความรู้และทดลองฝึกปฎิบัติวิธีการคิดที่หลากหลาย ทำให้ทราบว่า เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เราสามารถมีวิธีการคิด หรือมุมมองในเรื่องเดียวกันนั้น ได้หลายแบบ แล้วแต่ว่า คุณคิดโดยใช้หมวกสีใด ซึ่งการคิดโดยใช้หมวกสีต่างๆ ล้วนมีประโยชน์ทั้งสิ้น แล้วแต่ความเหมาะสมและการนำไปใช้ประโยชน์ ที่นี้มาดูนะคะว่าหมวก 6 ใบนั้นมีสีอะไรบ้าง และหมายถึงการคิดแบบใด

หมวก 6 ใบ หรือ 6 สี 

สีขาว หมายถึง การคิดแบบอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงข้อมูล และตัวเลข โดยไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง
– สวมบทบาทเป็นคอมพิวเตอร์ ให้ข้อเท็จจริงแบบเป็นกลาง และไม่มีอคติ ไม่ต้องตีความ ขอแค่ข้อเท็จจริงเท่านั้น อะไรคือข้อเท็จจริงต่างๆของเรื่องนี้ เมื่อครูต้องการให้เด็กคิดแบบสวมหมวกสีขาวก็ตั้งคำถามให้คิด

ตัวอย่างของคำถาม เช่น

  1. เรามีข้อมูลอะไรบ้าง
  2. เราต้องการข้อมูลอะไรบ้าง
  3. เราได้ข้อมูลที่ต้องการมาด้วยวิธีใด

สีแดง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และความรู้สึก
– สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับข้อมูลที่เป็นกลาง ลางสังหรณ์ สัญชาตญาณ ความประทับใจ สิ่งที่ไม่ต้องการข้อพิสูจน์ สิ่งที่ไม่ต้องเหตุหรือผลหรือหลักฐานมาอ้างอิง

ตัวอย่างของคำถาม เช่น

  1. เรารู้สึกอย่างไร
  2. นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่ทำ
  3. นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรกับความคิดนี้

สีดำ หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของข้อควรระวัง และคำเตือน เป็นหัวใจของการคิด
– ชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของเรื่องนั้น คอยเตือนภัยให้ระวังตัว สิ่งนั้นไม่สอดคล้องกับประสบการณ์ในอดีตอย่างไร ทำไมสิ่งนั้นอาจใช้การไม่ได้ ชี้ให้เห็นปัญหาและความยุ่งยาก การอยู่ในกรอบกฎเกณฑ์ ดำรงคุณค่าและจริยธรรม

ตัวอย่างของคำถาม เช่น

  1. อะไรคือจุดอ่อน
  2. อะไรคือสิ่งที่ผิดพลาด
  3. อะไรคือสิ่งที่ยุ่งยาก

สีเหลือง หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกที่ดี เป็นมุมมองในแง่บวก รวมถึงความหวัง และการคิดในแง่ดี เป็นการคาดการณ์ในเชิงบวก
– เป็นความคิดเชิงบวก สีเหลืองคือสีของแสงแดดและความสว่างสดใส การมองโลกในแง่ดี การมุ่งมองที่ผลประโยชน์ การคิดที่ก่อให้เกิดผล หรือทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างของคำถาม เช่น

  1. จุดดีคือะไร
  2. ผลดีคืออะไร

สีเขียว หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
– เป็นความคิดใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ การจงใจสร้างความคิดริเร่มใหม่ๆขึ้นมา ทางเลือกใหม่ๆ และอีกหลายทางเลือกใหม่ๆ การเปลี่ยนแป ลง และแง่มุมใหม่ในการมองปัญหา

ตัวอย่างของคำถาม เช่น

  1. นักเรียนจะนำความคิดนี้ไปทำอะไร
  2. ถ้านักเรียนจะทำให้สิ่งนี้…(ดีขึ้น)…จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไร

สีฟ้า หมายถึง การคิดที่อยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบควบคุม การจัดระบบกระบวนการคิด และการใช้หมวกอื่นๆ
– เป็นการคิดที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการคิด การควบคุมหมวกคิดใบอื่นๆ เป็นการมองภาพรวมข้อสังเกตและสถานการณ์โดยรวม สรุปและลงมติ

ตัวอย่างของคำถาม เช่น

  1. อะไรที่ต้องการ
  2. ขั้นตอนต่อไปคืออะไร
  3. อะไรที่ทำไปก่อนแล้ว

       แนวความคิดแบบหมวกทั้งหกใบ ค่อนข้างเข้าไจได้ง่าย และนำไปใช้ได้ง่าย โดยเฉพาะในการประชุมที่ต้องถกเถียงเรื่องต่างๆ กันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทุกคนในองค์กรควรจะเข้าใจความหมายของหมวกต่างๆ ข้างต้นโดยใช้เป็นภาษาที่เข้าใจโดยทั่วกัน ในหลายองค์กรที่สัญลักษณ์ของหมวก ได้กลายเป็นภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ…….

       สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ Six Thinking Hats หมวก 6 ใบ คิด 6 แบบ เขียนโดย Edward de Boro

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

สาระที่ 1 จำนวนและพีชคณิต
มาตรฐาน ค 1.1  เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน ระบบจำนวน การดำเนินการของจำนวน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ สมบัติของการดำเนินการ และนำไปใช้
มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป ความสัมพันธ์ ฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม และนำไปใช้
มาตรฐาน ค 1.3  ใช้นิพจน์ สมการ และอสมการ อธิบายความสัมพันธ์หรือช่วยแก้ปัญหาที่กำหนดให้

สาระที่ 2 การวัดและเรขาคณิต
มาตรฐาน ค 2.1  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด และนำไปใช้
มาตรฐาน ค 2.2 เข้าใจและวิเคราะห์รูปเรขาคณิต สมบัติของรูปเรขาคณิต ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิต และทฤษฏีบททางเรขาคณิต และนำไปใช้

สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 3.1  เข้าใจกระบวนการทางสถิติ และใช้ความรู้ทางสถิติในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 3.2  เข้าใจหลักการนับเบื้องต้น ความน่าจะเป็น และนำไปใช้